ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ Group Investigation โดยบูรณาการแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา ในรายวิชาการจัดการชั้นเรียนและสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ของนิสิตสาขาวิชาการศึกษาวิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา

Main Article Content

โสภา อำนวยรัตน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ Group Investigation โดยบูรณาการแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาในรายวิชาการจัดการชั้นเรียนและสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ของนิสิตสาขาวิชาการศึกษา วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นิสิตที่เรียนในรายวิชาการจัดการชั้นเรียนและสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ สาขาวิชาการศึกษา วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา ภาคเรียนที่ 3 ปีการศึกษา 2558 (AEC) จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย แบบสอบถามผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย (m) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ) และแบบบันทึกการเรียนรู้ของผู้เรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการสรุปเนื้อหา ผลจากการวิจัยสรุปได้ว่า 1) ผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยรวมความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ประเด็นที่อยู่ในระดับมากที่สุด คือ ทำให้ผู้เรียนรู้จักแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผลและสร้างสรรค์ 2) ผลการเรียนรู้จากการดำเนินกิจกรรมทั้ง 4 กิจกรรม ผู้เรียนเห็นว่า ทำให้ได้ประโยชน์มาก ได้ฝึกการคิด มีสมาธิ ได้วางแผนอนาคต ได้นำแนวคิดของแต่ละคนมาฟังทำให้เกิดความรู้ ความเข้าใจมากยิ่งขึ้น สนุกที่ได้ทำกิจกรรมร่วมกันและไม่เครียด

Article Details

How to Cite
อำนวยรัตน์ โ. (2018). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ Group Investigation โดยบูรณาการแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา ในรายวิชาการจัดการชั้นเรียนและสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ของนิสิตสาขาวิชาการศึกษาวิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 4(supplement), 98–109. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/159614
บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ วีระรัตนนุสรณ์. (2560). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษารายวิชาการเงินธุรกิจ โดยการจัดการเรียนแบบร่วมมือแบบเอส ที เอ ดี (STAD). วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 3(2) มิถุนายน - กันยายน 2560: 31 - 32.

กาญจนา สายพิมพ์. (2556). กระบวนการส่งเสริมจิตสาธารณะตามแนวจิตตปัญญาศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วารสารวิชาการศรีปทุม, 9(4) เมษายน - มิถุนายน 2556: 47 - 55.

พิเชษฐ์ พินิจ และ อนุศิษฏ์ อันมานะตระกูล. (2558). กระบวนการจัดการเรียนรู้แนวจิตตปัญญาศึกษาในรายวิชาการเขียนเชิงวิชาการ. ภาควิชาครุศาสตร์เครื่องกล คณะครุศาสตร์ อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, กรุงเทพ: จรัญสนิทวงศ์การพิมพ์.

วิไล พิพัฒน์มงคลพร. (2554). การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) และการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา (Contemplative Education). รายงานการวิจัย. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา. (2552). เอกสารวิชาการการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงจิตตปัญญาศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล. นครปฐม: Century Co., Ltd.

สลักจิต ตรีรณโอภาส. (2553). จิตตปัญญาศึกษากับการจัดการเรียนรู้. ค้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2559, จาก http://edu.psru.ac.th/2011/pdf/jitta.pdf

สนิท สัตโยภาส. (2554). การใช้กระบวนวิชาจิตตปัญญาศึกษา (Contemplative Studies) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป พัฒนาคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมอันพึงประสงค์แก่นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

สุรศักดิ์ หลาบมาลา. (2550). หลักการสอน . กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Contemplative Education Center. (2009). Academic textbook: Learning for a change to contemplative education, Mahidol University. Nakorn Pathom: Century Co., Ltd. (in Thai)

Labmala, S. (2007). Teaching principle. Bangkok: Chulalongkorn University. (in Thai)

Pinit, P., & Anmanatarkul, A. (2015). Learning management based on contemplative education for academic writing course, Mechanical Technology Education, Faculty of Industrial Education and Technology, King Mongkut's University of Technology Thonburi. Bangkok: Charansanitwong Printing. (in Thai)

Pipatmongkolporn, W. (2011). The develop teaching and learning process in the Thai Language by the Lesson Study Approach and basing on the ideas of Contemplative Education, Research article, Faculty of Education Khon Kaen: Khon Kaen University University. (in Thai)

Saipim, K. (2013). The process of contemplative education to promote public mind of prathomsuksa students in grade 3. Sripatum Chonburi Journal, 9(4) April - June 2013, 47 - 55. (in Thai)

Satyopas, S. (2011). Using contemplative studies learning management to develop virtue, morality and needed characteristics for Bachelor’s Degree students of Chiang Mai Rajabhat University. Research: Chiang Mai Rajabhat University. (in Thai)

Triranaopas, S. (2010). Contemplative education and learning management. Retrieved November 19th, 2016, from http://edu.psru.ac.th/2011/pdf/jitta.pdf (in Thai)

Weeraratananusorn, K. (2017). The Study of Students’ Learning Achievement for Business Finance Course in Cooperative Learning with Student Teams Achievement Division (STAD). Journal of Humanities and Social Science, Rajapruk University, 3(2) June-September 2017: 31 - 32. (in Thai)