การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิต: กรณีศึกษาชุมชนบ้านวังนกไข่ จังหวัดสมุทรสาคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตของชุมชนบ้านวังนกไข่ หมู่ที่ 8 ตำบลหนองนกไข่ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิต โดยจำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินชีวิตแบบพอเพียงตามวิถีที่สอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนบ้านวังนกไข่ หมู่ที่ 8 ตำบลหนองนกไข่ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงผสม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม และการสัมภาษณ์ โดยการวิจัยเชิงปริมาณเก็บรวบรวมข้อมูลจากครัวเรือนทั่วไปในชุมชน จำนวน 119 ครัวเรือน และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีเชฟเฟ (Scheffé) สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพทำการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากครัวเรือนพัฒนาต้นแบบในชุมชน จำนวน 30 ครัวเรือน โดยผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
- การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตของชุมชนบ้านวังนกไข่ จังหวัดสมุทรสาครในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยมีด้านความพอประมาณมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด โดยมีเรื่องท่านได้ร่วมกันคิดหาวิธีการที่เหมาะสมกับการนำเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในหมู่บ้านมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาตามลำดับ คือ ด้านความมีคุณธรรม โดยมีเรื่องท่านเห็นว่าหมู่บ้านมีแบบอย่างที่ดีในการดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ด้านความรู้ โดยมีเรื่องท่านได้รับการสนับสนุนให้มีความรู้ใหม่ ๆ ที่ช่วยให้การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงมีประสิทธิภาพมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ด้านความมีเหตุผล โดยมีเรื่องท่านเห็นว่าควรมีการปรับปรุงแนวทางการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงให้สอดคล้องกับบริบทของชุมชนมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด และด้านการมีภูมิคุ้มกันในตัว มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด โดยมีเรื่องหมู่บ้านมีการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงไว้ในแผนชุมชนมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ทั้งนี้ ผลการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า ครัวเรือนพัฒนาต้นแบบของหมู่บ้านปฏิบัติตามหลักความพอประมาณในการดำรงชีวิต โดยครัวเรือนใช้เวทีประชาคมเพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาหมู่บ้านร่วมกัน และร่วมกันคิดวิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ในการทำกิจกรรม
- การวิเคราะห์ความแตกต่างของคุณลักษณะส่วนบุคคลกับระดับการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่เพศต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่อาชีพต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่ระดับการศึกษาต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่อายุต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่รายได้ต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่สถานภาพต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่ประสบการณ์การรับรู้เศรษฐกิจพอเพียงต่างกัน และกลุ่มตัวอย่างที่การรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากแหล่งที่ต่างกัน มีระดับการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 แต่สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่ถิ่นที่อยู่ต่างกัน คือ อาศัยอยู่ในพื้นที่กับอาศัยอยู่นอกพื้นที่ มีระดับการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
- แนวทางการดำเนินชีวิตแบบพอเพียงตามวิถีที่สอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนบ้านวังนกไข่ หมู่ที่ 8 ตำบลหนองนกไข่ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร ในภาพรวมพบว่า หมู่บ้านมีการจัดตั้งสถาบันการเงิน บ้านวังนกไข่เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนให้กู้ยืมประกอบอาชีพ และกู้ยืมในกรณีฉุกเฉินเร่งด่วน รวมถึงใช้เป็นแหล่งเงินกู้เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ
Article Details
References
ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ และคณะ. (2546). กรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
นภาพรรณ วงค์มณี. (2553). การนำแนวทางปฏิบัติตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิตของประชาชน: กรณีศึกษา ชุมชนทรายทอง ตำบลเจริญเมือง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย. การค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการภาครัฐและเอกชน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ไพศาล เนาวะวาทอง. (2551). การจัดการชุมชนเศรษฐกิจพอเพียงกรณีศึกษา: หมูบานคําปลาหลายตําบลบ้านดง อําเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแกน. สารนิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการสิ่งแวดล้อม คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒน
บริหารศาสตร์.
รังสรรค์ อินทน์จันทน์ . (2558). การประยุกต์ใช้แนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านต้นแบบของจังหวัดสมุทรสาคร. นครปฐม: มหาวิทยาลัย
ราชภัฏนครปฐม.
สมบัติ กุสุมาวลี. (2551). หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาองค์การ. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์, 48(1): 86 - 90.
สายสมร สังข์เมฆ. (2559). การจัดทำบัญชีครัวเรือนของประชาชนในชุมชนเกาะยาวใหญ่จังหวัดพังงา. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 1(3): 26 - 35.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2550). การสร้างขบวนการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555 - 2559). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. (2551). หนังสือเรียนสาระทักษะการดำเนินชีวิต รายวิชา เศรษฐกิจพอเพียง (ทช31001) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.
สุเมธ ตันติเวชกุล. (2543). เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริในใต้เบื้องพระยุคลบาท.
พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: มติชน.
อวยพร สงแก้ว. (2555). ความสำเร็จของการนำนโยบายเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติในระดับพื้นที่ของครอบครัวพัฒนา อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร. การค้นคว้าอิสระ
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์ คณะบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
Community Development Department. (2009). A Guide to the Project Village sufficiency economy model. Bangkok: Suphatchanin Printing Group. (in Thai)
Inchan, R. (2015). The application of sufficiency economy philosophy Concepton management of village and urfan commumity fundmodelin Samutsakhon Province. Nakhon Pathom: Nakhon Pathom Rajabhat University. (in Thai)
Kusumavhree, S. (2008). Philosophy of Sufficiency Economy and Development Organization. NIDA Development Journal, 48(1): 86 - 90. (in Thai)
Naowavathong, P. (2008). Community in Management Sufficiency Economy: A Case Study of Kham Pla Lai Village, Tambol Ban Dong, Amphur Ubonrat, Khon Kaen Province. Master of Science Thesis Environmental management branch Faculty of Social and Environmental Development National Institute of Development Administration. (in Thai)
Office of the National Economic and Social Development Board. (2007). The build process-driven philosophy. Bangkok: Prime Minister's Office. (in Thai)
Office of the National Economic and Social Development Board. (2011). National Economic and Social Development Plan No. 11 (2012 - 2016). Bangkok: Prime Minister's Office.
Office of the Non-Formal and Informal Education. (2008). The living skills course textbook material sufficiency (NTC 31001) high school. Bangkok: Office of the Secretary of Education. (in Thai)
Songkaew, O (2012). The success of economic policy to practice in the area of family development. Autonomous district Samut Sakhon. Independent Arts Political Science Faculty of Graduate Studies Kasetsart University, Bangkok. (in Thai)
Sungmake, S. (2016). Household Accounting Practices of people in Kon Yao Yai, Phang Nga Province. Jourmal of Humanities and Social Sciences, Rajapruk University, 1(3): 26 - 35. (in Thai)
Tantivejakul,S (2001). Just works in the background at the faces. 6th ed. New York: Eng. (in Thai)
Wibulswasdi, C. et al. (2003). The framework of economic theory, the philosophy of sufficiency economy. Bangkok: Office of the National Economic and Social Development Board. (in Thai)
Wongmanee, N. (2010). An Introduction of sufficiency economy philosophy as a Practice fof Living a case study of Saithong Community, Tambon Jaroenmueang, Amphoe Phan, Chamgwat Chiang Rai. Independent Study Submitted Master of Arts Program of Public and Private Management Graduate School Silpakorn University. (in Thai)