มิติความเท่าเทียมการจัดการด้านนโยบายสิ่งแวดล้อม ภายใต้บริบทการพัฒนาและการดูแลรักษาทรัพยากรสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย กรณีศึกษา: ผลกระทบจากโรงแต่งแร่หมู่บ้านคลิตี้ จ.กาญจนบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
หลังจากมีการประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในช่วงปี พ.ศ. 2539 – 2542 เป็นช่วงเวลาที่ประเทศไทยมุ่งเน้นการพัฒนาและการลงทุนทางเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มมูลค่าการส่งออกและรายได้ประชาชาติอย่างเต็มกำลัง
ส่งผลให้เกิดการขยายตัวด้านการลงทุนและการเปิดตัวอุตสาหกรรมต่าง ๆ ขึ้นอย่างมากมาย การขยายตัวดังกล่าวกระทบถึงจานวนทรัพยากรทางธรรมชาติโดยเฉพาะด้านทรัพยากรป่าไม้ที่ลดจานวนลงเหลือร้อยละ 25.13 เป็นจานวนคงเหลือพื้นที่ป่าไม้ที่น้อยที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจที่ติดลบมากที่สุด จึงเป็นสาเหตุที่ต้องทาให้เกิดการมุ่งเน้นการพัฒนาทางเศรษฐกิจและการลงทุนทั้งภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรมจนเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตามมา ดังกรณีตัวอย่างหมู่บ้านคลิตี้ หมู่บ้านกะเหรี่ยง จังหวัดกาญจนบุรี ที่ได้รับผลกระทบจากการประกอบการธุรกิจเหมืองแร่จนเป็นเหตุให้ทรัพยากรธรรมชาติเสื่อมโทรมและได้รับผลกระทบจากสารเคมีอย่างรุนแรงจนเกิดเป็นความขัดแย้งที่รัฐต้องเข้ามาให้ความช่วยเหลือและออกมาตรการแก้ไขอย่างเร่งด่วน การศึกษาครั้งนี้ได้นาองค์ความรู้แนวคิดเกี่ยวกับความเท่าเทียมของ Deborah A. Stone (2006) ใช้เป็นกรอบในการอธิบายและวิเคราะห์กรณีสภาพปัญหาของหมู่บ้านคลิตี้ล่างเกี่ยวกับปัญหาด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะในเรื่องของลาห้วยซึ่งถือเป็นแหล่งน้าสาธารณะ ซึ่งพบว่ากรณีของหมู่บ้านคลิตี้ล่าง ปัญหาเกิดจากการจัดการเรื่องการแบ่งสรรและกระจายทรัพยากรทางธรรมชาติที่ไม่เท่าเทียมกัน อีกทั้งขาดการดูแลและควบคุมให้การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติให้อยู่ในระดับสมดุลจนกลายเป็นปัญหาที่บานปลายและต้องเร่งทำการแก้ไขเพื่อฟื้นฟูทรัพยากรทางธรรมชาติและรักษาประชาชนที่ได้รับผลกระทบไปพร้อมกัน
Article Details
References
กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่. (2546). การจัดทาแผนแม่บททางด้านเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อมและการฟื้นฟูพื้นที่ทาเหมืองเพื่อการพัฒนาทรัพยากรธรณีในเขตเศรษฐกิจแร่ตะกั่ว จังหวัดกาญจนบุรี. กระทรวงอุตสาหกรรม.
กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่. (2554). นโยบายและแนวทางการบริหารจัดการ. กรมทรัพยากรธรณี. กรุงเทพมหานครใ
โครงการศึกษาวิจัยศูนย์ศึกษาการพัฒนาสังคมร่วมกับภาควิชาการปกครอง. (2552). อนาคตประเทศ
ไทยกับวิกฤติสิ่งแวดล้อม. คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธนาคารแห่งประเทศไทย. ข้อมูลพื้นฐานเศรษฐกิจไทย. [ออนไลน์] http://www.bot.or.th/Thai/
EconomicConditions/Thai/genecon/Pages/index.aspx
บทความอิเล็กทรอนิกส์. (2556). “ศาลปกครองสูงสุด” สั่งเยียวยาชาวบ้านคลิตี้ 1.77 แสน กระทบตะกั่วปนเปื้อนลาห้วย [ออนไลน์] http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID= 9560000003642
โสภารัตน์ จารุสมบัติ. (2551). นโยบายและการจัดการสิ่งแวดล้อม. คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุชาตา ชินะจิตร. (2546). ไปให้ถึงฝัน อุตสาหกรรมต้องจัดการสิ่งแวดล้อม. [ออนไลน์].http://www.chemtrack.org/News-Detail.asp?TID=3&ID=1.
สุธาวัลย์ เสถียรไทย. (2546). ธรรมาภิบาลด้านสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.). กรุงเทพมหานคร.
สำนักงบประมาณ. (2556). งบประมาณโดยสังเขปประจาปีงบประมาณ พ.ศ. 2556, สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550 -
2554). สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2556). ตารางสถิติบัญชีประชาชาติ 2554 แบบปริมาณลูกโซ่. กรุงเทพฯ.
วารสารศาลยุติธรรม. (2554). การจัดการความขัดแย้งทางสิ่งแวดล้อม. ศาลยุติธรรม. กรุงเทพฯ.
หนังสือพิมพ์มติชน. (2543). รมต.บุกคลิตี้บน รับสารตะกั่วสูงกว่าล่าง. ฉบับประจำวันที่ 9 พฤศจิกายน 2543.
หนังสือพิมพ์มติชน. (2543). แม่น้าสายอันตราย”คลิตี้ล่าง”กาญจนบุรี. ฉบับประจำวันที่ 10 พฤศจิกายน 2543.
อนันตชัย ยูรประถม. (2549). CSR จากแนวคิดสู่วิธีปฏิบัติ. วารสาร Productivity World. ฉบับ
เดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม 2549. มูลนิธิการศึกษาเพื่อการพัฒนา.
Deborah A. Stone, (2001), Policy Paradox and Political Reason, (USA: W.W. Norton & Company, Inc.)
Kenneth N Bickers & John T. Williams, Public Policy Analysis: A Political Economy Approach, Limitations of the Market.
Public Anthropology. (2556). เรื่องเหมืองแร่กับสิทธิชุมชน. [ออนไลน์] http://nattawutsingh.
blogspot.com/2012/01/blog-post_2947.html
webmaster seub. (2555). รายงานสาธารณะ “สถานการณ์ป่าไม้ไทย 2555” วันพุธที่ 12 กันยายน 2012