ความสัมพันธ์ระหว่างจริยธรรมด้านการมีมนุษยสัมพันธ์ จรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี และประสิทธิภาพการทางานของนักบัญชี: กรณีศึกษา นักบัญชีในบริษัท จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็น เปรียบเทียบความคิดเห็น และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างจริยธรรมด้านการมีมนุษยสัมพันธ์ จรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี และประสิทธิภาพการทางานของนักบัญชี กลุ่มตัวอย่างคือนักบัญชีในบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในกรุงเทพมหานคร จำนวน 385 คน เครื่องมือในการวิจัยคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ
ผลการวิจัย พบว่า 1) นักบัญชีมีความคิดเห็นเกี่ยวกับจริยธรรมด้านการมีมนุษยสัมพันธ์ในระดับมาก จรรยาบรรณวิชาชีพบัญชีในระดับมากที่สุด และประสิทธิภาพการทางานในระดับมาก 2) จากการเปรียบเทียบความคิดเห็น พบว่า ความคิดเห็นเกี่ยวกับจริยธรรมด้านการมีมนุษยสัมพันธ์ นักบัญชีที่มีอายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส อุตสาหกรรมหลักขององค์กรและระดับเงินเดือนต่างกัน มีความคิดเห็นต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ความคิดเห็นเกี่ยวกับจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี นักบัญชีที่มีอายุและระดับเงินเดือนต่างกัน มีความคิดเห็นต่างกันอย่างมีนัยสาคัญที่ระดับ .05 ความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพการทางาน นักบัญชีที่มีอายุ อุตสาหกรรมหลักขององค์กร ประสบการณ์การทางาน ระดับเงินเดือน และจานวนพนักงานบัญชีในแผนกบัญชีต่างกัน มีความคิดเห็นต่างกัน และ 3) จากการทดสอบความสัมพันธ์ พบว่า จริยธรรมด้านการมีมนุษยสัมพันธ์ ในด้านการเสียสละ
และแบ่งปัน ด้านการประพฤติตนตามกฎระเบียบและหน้าที่อันพึงกระทาและด้านความคิดเห็นและ
การใช้ดุลยพินิจ มีผลกระทบเชิงบวกกับประสิทธิภาพการทางาน ที่ระดับนัยสำคัญ .05 จรรยาบรรณ
วิชาชีพบัญชี ในด้านความเป็นอิสระ ด้านความรู้ความสามารถ ด้านมาตรฐานในการปฏิบัติงาน และ
ด้านความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้น ผู้เป็นหุ้นส่วน บุคคลหรือนิติบุคคล ที่ปฏิบัติหน้าที่ให้ มีผลกระทบเชิง
บวกกับประสิทธิภาพการทางาน ที่ระดับนัยสำคัญ .05
Article Details
References
กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.
สภาวิชาชีพบัญชี. (2553). ข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี (ฉบับที่ 13) เรื่อง จรรยาบรรณของผู้
ประกอบวิชาชีพบัญชี พ.ศ5 1119. ค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2556, จาก
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2553/E/127/68.PDF
โคมทอง ถานอาดนา. (2548). ความสัมพันธ์ระหว่างจรรยาบรรณวิชาชีพและประสิทธิภาพการ
ทำงานของนักบัญชีธุรกิจ SMEs ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญา
บัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2556). รายชื่อบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์. ค้นเมื่อ 7
พฤศจิกายน 2556, จาก http://www.set.or.th/listedcompany/static/listed
Companies_th_TH.xls
ทองทิพภา วิริยะพันธุ์. (2550). มนุษยสัมพันธ์กับการบริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.
ทองฟู ศิริวงศ์. (2554). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ประภาพร ศาลารมย์. (2549). ความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติในการทางาน คุณภาพชีวิตในการ
ทำงาน และประสิทธิภาพการทางานของนักบัญชีบริษัทในเขตภาคเหนือตอนล่าง.
วิทยานิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ประสงค์ ตระกูลแสงเงิน. (2550). ประสิทธิภาพการทางานของนักบัญชีธนาคารเพื่อการเกษตรและ
สหกรณ์การเกษตร (ธ5ก5ส5) ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน (ฝ่ายกิจการ ส.3).
การศึกษาค้นคว้าอิสระหลักสูตรปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ระวีวรรณ์ ศรีสุวรรณ์. (2552). ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานแผนกบัญชีและ
ประมวลผล การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต แขนงวิชา
บริหารธุรกิจ สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554. พิมพ์ครั้งที่ 2.
กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.
วัลลภ บัวชุม. (2550). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัย ความคาดหวังของนักลงทุนต่อ
จริยธรรมของนักบัญชี. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต.
ศุภมิตร พินิจการ. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะหลักกับประสิทธิภาพการทำงานของนัก
บัญชีกรมสรรพสามิต. วิทยานิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สมใจ ลักษณะ. (2542). การพัฒนาประสิทธิภาพในการทางาน (Efficiency Development).
กรุงเทพฯ: คณะวิทยาการจัดการ สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา.
สมใจ ลักษณะ. (2546). การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน. กรุงเทพฯ: ธนธัชการพิมพ์.
สิงห์ชัย อรุณวุฒิพงศ์. (2549). แนวทางการปลูกฝังจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชีในประเทศไทย. ดุษฎี
นิพนธ์ปริญญาการจัดการดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
อติภา พลเรืองทอง. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถทางการปฏิบัติงานกับ
ประสิทธิภาพการทางานของนักบัญชีธุรกิจที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนประเภทกิจการ
สาธารณูปโภค. วิทยานิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Atkinson, A. S. (2002). Ethics in Financial Reporting and the Corporate
Communication Professional. Corporate Communications: An International
Journal 7 (4): 212-218.
Cochran, W. G. (1977). Sampling Techniques. 3rd edition. United States of America:
John Wiley & Sons.