ความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารการตลาดดิจิทัลกับกระบวนการตัดสินใจซื้อสมาร์ตโฟน ของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี

Main Article Content

วิภาดา ศรีเมือง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความสำคัญของการสื่อสารการตลาดดิจิทัลของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี 2) ระดับความสำคัญของกระบวนการตัดสินใจซื้อสมาร์ตโฟนของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารการตลาดดิจิทัลกับกระบวนการตัดสินใจซื้อสมาร์ตโฟนของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย ซึ่งแบบสอบถามมีค่าความเที่ยงตรงอยู่ที่ 0.96 และค่าความเชื่อมั่นอยู่ที่ 0.976 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่เคยซื้อสมาร์ตโฟนที่อาศัยหรือทำงานในจังหวัดนนทบุรี จำนวน 400 คน โดยสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ สถิติที่ใช้ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Correlation)


                 ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับความสำคัญของการสื่อสารการตลาดดิจิทัลของผู้บริโภคที่ซื้อสมาร์ตโฟนในจังหวัดนนทบุรีในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อดิจิทัลมีค่าเฉลี่ยสูงสุดเป็นอันดับแรก 2) ระดับความสำคัญของกระบวนการตัดสินใจซื้อสมาร์ตโฟนของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรีในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านการค้นหาข้อมูลมีค่าเฉลี่ยสูงสุดเป็นอันดับแรก และ 3) การสื่อสารการตลาดดิจิทัลกับกระบวนการตัดสินใจซื้อสมาร์ตโฟน ของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรีมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยด้านการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อดิจิทัล ด้านการตลาดทางตรงผ่านสื่อดิจิทัล ด้านการส่งเสริมการขายผ่านสื่อดิจิทัล และด้านการโฆษณาผ่านสื่อดิจิทัล มีความสัมพันธ์เชิงบวกอยู่ในระดับสูงกับกระบวนการตัดสินใจซื้อสมาร์ตโฟนของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผลการวิจัยนี้ช่วยผู้ประกอบการสมาร์ตโฟนปรับกลยุทธ์การตลาดให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี

Article Details

How to Cite
ศรีเมือง ว. . (2024). ความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารการตลาดดิจิทัลกับกระบวนการตัดสินใจซื้อสมาร์ตโฟน ของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 10(3), 379–395. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/284697
บท
บทความวิจัย

References

ฐิตาภรณ์ สุนทรสถิต. (2565). การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการผ่านสื่อดิจิทัลที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นในช่วงโควิด 19. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการตลาด. คณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ณัฐวศา สุทธิธาดา. (2563). Online Marketing ใคร ๆ ก็ทำได้ ชนะใจลูกค้า เหนือกว่าคู่แข่ง. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเพทฯ: วิตตี้ กรุ๊ป.

ทิพวรรณ วงษ์ทองคำ. (2560). การสื่อสารการตลาดออนไลน์ที่ส่งผลต่อการซื้อสินค้าจากลาซาด้าของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต. สาขาวิชานิเทศศาสตร์. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

นธกฤต วันต๊ะเมล์. (2555). การสื่อสารการตลาด. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

นรินทร์ชัย พัฒนพงศา. (2542). การสื่อสารรณรงค์เชิงยุทธศาสตร์เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมมนุษย์เน้นการเจาะจงกลุ่ม. เชียงใหม่: สำนักพิมพ์รั้วเขียว.

พนิดา สิมะโชคชัย และ กรเอก กาญจนาโภคิน. (2562). การสื่อสารการตลาดดิจิทัลที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการจัดการ. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พิชญาภา มุสิเกตุ และ จิราพร ชมสวน . (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้ออุปกรณ์สมาร์ตโฟนของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. วารสารสุทธิปริทัศน์, 34, (110), 171-184.

เพ็ญแข แสงแก้ว. (2541). การวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วุฒิพร สร้างเลี่ยน และลักษณาวดี บุญยะศิรินันท์. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประสมทางการตลาดกับกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านสมาร์ทโฟนของผู้บริโภคยุคใหม่ในกระทรวงพาณิชย์ จังหวัดนนทบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, ปีที่ 8 (1): 99-111.

สำนักงานสถิติจังหวัดนนทบุรี. (2565). รายงานสถิติจำนวนประชากรประจำปี พ.ศ.2565. ค้นเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2567, จาก

https://drive.google.com/file/d/1KQNdQXeWdykK3nI__F1CtG_qBwgegLdP/view

สำนักพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2565). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2565. ค้นเมื่อ 10 เมษายน 2566, จาก

https://www.etda.or.th/getattachment/78750426-4a58-4c36-85d3-d1c11c3db1f3/IUB-65-Final.pdf.aspx

สุทิพย์ ประทุม และ สรัญณี อุเส็นยาง. (2565). การยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศในยุควิถีชีวิตใหม่. วารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, ปีที่ 6 (1): 1-18.

สุธาวัลย์ เวพีวุฒิกร และ ชื่นจิตต์ แจ้งเจนกิจ. (2564). การสื่อสารการตลาดรูปแบบดิจิทัลของร้านค้าออนไลน์ Shopee ที่มีผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค. วารสารปาริชาติ มหาวิทยาลัยทักษิณ, ปีที่ 34 (1): 76-88.

เสาวลักษณ์ นัทธีศรี. (2561). การสื่อสารการตลาดดิจิทัล : กลยุทธ์การบริหารเพื่อสร้างความได้เปรียบของสถาบันอุดมศึกษาไทย. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, ปีที่ 23 (2): 310-321.

อลิสรา รุ่งนนทรัตน์ ชรินทร์สาร. (2561). การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ: ต่อให้ติดใกล้ชิดผู้บริโภคในโลกไร้รอยต่อ. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.

อัจฉรา เมฆาสุวรรณ ไพลิน ศิริกาญจนากุล และ จิราภรณ์ ธัญวัลย์. (2566). การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการผ่านสื่อดิจิทัลที่มีต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางออนไลน์ของผู้บริโภคในประเทศไทย. วารสารนวัตกรรมธุรกิจ การจัดการ และสังคมศาสตร์, ปีที่ 4 (2): 13-26.

อัญชลี เยาวราช. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารการตลาดดิจิทัลกับการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านแอปพลิเคชั่น TOPS ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, ปีที่ 24 (3): 19-32.

อิราวัฒน์ ชมระกา ณัฐศิรี สมจิตรานุกิจ และกุลยา อุปพงษ์. (2565). ผลกระทบของส่วนประสมทางการตลาดต่อการตัดสินใจซื้อสมาร์ทโฟนของผู้บริโภควัยทำงานในเขตอำเภอเมืองจังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิทยาการจัดการและการบัญชี, ปีที่ 1(1): 65-89.

Bachman Rivandi. (2564). Integrated marketing communication and coffee shop consumer purchase decision in surakara city. International Journal of Economic, Business and Accounting Research (IJEBAR), Vol.5 (2): 214-221.

Kotler, P., & Keller Kevin Lane. (2016). Marketing Management (15th Global ed.). Edinburgh: Pearson.

Mamtaj Akter and Nigar Sultana. (2563). Digital Marketing Communication and Consumer Buying Decision Process in Pandemic Standpoint (COVID-19): An Empirical Study of Bangladeshi Customers’ in Branded Cosmetics Perspective. Open Journal of Business and Management, 2020, 8, P.2696-2715.

MDPI. (2023). Artificial intelligence in digital marketing: Insights from a comprehensive review. Information, 14(12), 664.

Thaimobilecenter. (2566). Samsung ทวงแชมป์! ปาดหน้า Apple ขึ้นแท่นแบรนด์มือถืออันดับ 1 ของโลก ประจำไตรมาสแรกปี 2023. ค้นเมื่อ 10 เมษายน 2566, จาก https://www.thaimobilecenter.com/content/samsung-reclaims-top-smartphone-shipment-q1-2023.asp