ความรับผิดชอบต่อสังคมของกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง ตามความคิดเห็นและ การรับรู้ของบุคลากรส่วนกลาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคิดเห็นของบุคลากรส่วนกลางเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคมของกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง 2) ศึกษาระดับการรับรู้ของบุคลากรส่วนกลางเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคมของกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง 3) เปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรส่วนกลางเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคมของกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง จำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล 4) เปรียบเทียบการรับรู้ของบุคลากรส่วนกลางเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคมของกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง จำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล และ 5) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความคิดเห็นและการรับรู้ของบุคลากรส่วนกลางเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคมของกรมธนารักษ์กระทรวงการคลัง กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรที่ปฏิบัติงานหน่วยงานส่วนกลางของกรมธนารักษ์จำนวน 325 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็น แบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วย
แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบทีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัย พบว่า บุคลากรส่วนกลางมีความคิดเห็นเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคมอยู่ในระดับเห็นด้วยทั้ง 3 ด้าน โดยที่ด้านเศรษฐกิจมีความคิดเห็นมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านสังคมตามลำดับ มีการรับรู้อยู่ในระดับการรับรู้ปานกลางทั้ง 3 ด้าน โดยที่ด้านสิ่งแวดล้อมมีการรับรู้มากที่สุดรองลงมา คือ ด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคม ตามลำดับ บุคลากรที่มีอายุ รายได้ต่อเดือน สายงานตามภารกิจและประเภทบุคลากรต่างกันมีความคิดเห็นและการรับรู้เกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความคิดเห็นและการรับรู้ของบุคลากรส่วนกลางเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคมของกรมธนารักษ์ มีความสัมพันธ์กันในระดับปานกลางและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน (r=.556)
Article Details
References
กรมธนารักษ์. (2565). โครงสร้างหน่วยงาน. ค้นเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2565, จาก https://www.treasury.go.th/
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กรมธนารักษ์. (2564). แผนปฏิบัติราชการรายปี พ.ศ. 2565 ของกรมธนารักษ์. ค้นเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2565, จาก https://www.treasury.go.th/th/strategic-plan/
ฐานิตา ฆ้องฤกษ์. (2560). ความรับผิดชอบต่อสังคมกับการสร้างข้อได้เปรียบเชิงการแข่งขันของ
องค์กร. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร สาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2(2): 70-81.
นพวรรณ การสมบัติ. (2559). การรับรู้แนวปฏิบัติความรับผิดชอบต่อสังคมของบุคลากรในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย. ค้นเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2565, จาก http://www.advanced-mba.ru.ac.th
พิชชาภรณ์ ยามะเพวัน. (2564). การมีส่วนร่วมของบุคลากรในการดำเนินงานเกี่ยวกับความรับผิดชอบ
ต่อสังคม (CSR) ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.). วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 6(2): 191-210
วราพร ดำจับ. (2562). รูปแบบการสื่อสารความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจในยุค 4.0.
วารสารสหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี, 5(2): 44-56.
วัชถนันท์ ปลื้มใจ, ปกรณ์ ลิ้มโยธิน, และ สิริลักษณ์ ทองพูน. (2559). การรับรู้และทัศนคติที่ประชาชนมีต่อกิจกรรมด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของมหาวิทยาลัยหาดใหญ่. การประชุมหาดใหญ่
วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 7. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
ศศิวิมล เหลืองอิงคะสุต และ มัลลิกา ผลอนันต์. (2559). ความคิดเห็นของพนักงานระดับปฏิบัติการ
ต่อการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมของบริษัทมหาชนแห่งหนึ่งในปี 2558. วารสารวิชาการ
มทร.สุวรรณภูมิ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 1(2): 138-144.
สุพาดา สิริกุตตา, ไพบูลย์ อาชารุ่งโรจน์, และ ธนภูมิ อติเวทิน. (2558). ความรู้ความเข้าใจ การรับรู้
ทัศนคติเกี่ยวกับกิจการเพื่อสังคม และแนวโน้มการทำงานเกี่ยวกับกิจการเพื่อสังคมของนิสิต
ปริญญาโท คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 9(3): 74-81.
สุภาทิพย์ บุญพัชรชัย. (2561). ศึกษาความคิดเห็นของพนักงานต่อการจัดกิจกรรมเพื่อสังคม (CSR)
ของการประปานครหลวง. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 6(3): 82-91.
Best, J. W. (1977). Research in Education. 3rded. New Jersey: Prentice Hall Inc.
Carroll, A. B. (1991). The Pyramid of corporate Social Responsibility: Toward the Moral Management of Organizational Stakeholders. Business Horizon, 34(4): 39-48.
Elkington, J. (1997). Cannibals with forks: The triple bottom-line of 21st century business.
Oxford: Capstone.
Gunder, M. (2007). Sustainability: Planning's Redemption or Cuesr?. Retrieved October 9, 2022, from http://www.planetizen.com/node/22812
Selvanathan, M., Jayabalan, N., Saini, G.K., Supramaniam, M. & Hussin, N. (2020).
Employee Productivity in Malaysian Private Higher Educational Institutions.
PalArch's Journal of Archaeology of Egypt / Egyptology, 17(3): 66–79.
Titko, J., Svirina, A., Tambovceva, T. & Skvarciany, V. (2021). Differences in Attitude to
Corporate Social Responsibility among Generations. Sustainability, 13: 1-12.
United Nation. (2011). The ten principles: United nations global compact. Retrieved
October 9, 2022, from https://www.unglobalcompact.org/what-is-gc/mission/principles.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rded. New York: Harper and
Row Publications.