เส้นทางอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในหลักสูตรการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ของนักศึกษา 3 จังหวัดชายแดนใต้

Main Article Content

มนัส สุทธิการ
ธีรวีร์ วราธรไพบูลย์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์เส้นทางอิทธิพลของการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในหลักสูตรการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ของนักศึกษา 3 จังหวัดชายแดนใต้ 2) ทดสอบความสัมพันธ์ของเส้นทางอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในหลักสูตรฯ จำนวนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 3 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนมูลนิธิอาซิซสถาน (จังหวัดปัตตานี) โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ (จังหวัดยะลา) และโรงเรียนอัตตัรกียะห์อิสลามียะห์ (จังหวัดนราธิวาส) จำนวน 316 ตัวอย่าง สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามออนไลน์ผ่าน Google Forms สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสำรวจ และการวิเคราะห์สมการเชิงโครงสร้าง


ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลทางตรงต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในหลักสูตรฯ มี 2 ปัจจัย คือ 1. ปัจจัยด้านพฤติกรรมการตัดสินใจภายใน และ 2. ปัจจัยด้านพฤติกรรมการตัดสินใจภายนอก ในขณะที่ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด และปัจจัยด้านการรับรู้ เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลสนับสนุนเพื่อให้เกิดการตัดสินใจขั้นสุดท้ายในการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในหลักสูตรการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

Article Details

How to Cite
สุทธิการ ม., & วราธรไพบูลย์ ธ. (2023). เส้นทางอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในหลักสูตรการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ของนักศึกษา 3 จังหวัดชายแดนใต้. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 9(3), 384–401. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/274267
บท
บทความวิจัย

References

กองพัฒนาข้อมูลและตัวชี้วัดสังคม สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). ภาวะสังคมไทย. ไตรมาสที่ 1 ปีที่ 19 ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม 2564.

ฐานข้อมูลท้องถิ่นชายแดนใต้ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. (2564). ประวัติความเป็นมา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. งานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันวิจัยและพัฒนาชายแดนภาคใต้.

ปฐมา อาแว และ นิยาวาเฮร์ ไพบูลย์. (2562). การตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ปีการศึกษา 2562. วารสารวิชาการ ปขมท, 9(2): 22-32.

มีสิทธิ์ ชัยมณี. (2559). การเลือกศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยปทุมธานี. วารสารวิชาการ มทร. สุวรรณภูมิ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 1(1): 97-107.

รุจิรา คงนุ้ย และ เอกชัย เนาวนิช. (2559). ปัจจัยการเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 10(3), 105-110.

ศศิณัณฐ นาไทย. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการเรียนปริญญาโท หลักสูตรการบริหารเทคโนโลยี รูปแบบออนไลน์. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภภัฏยะลา. (2561). 20 years YRU Vision & Road Map to the Southern Wisdom University for a Local-based Development.

สมเกียรติ ผลประยูร. (2564). นศ.ชายแดนใต้ตกงานขั้นวิกฤต ศอ.บต.เร่งแก้ปัญหาปี64 จบใหม่50% ต้องไม่เคว้ง. มติชนออนไลน์. ฉบับพฤหัสบดีที่ 1 เมษายน 2564. ค้นเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2565, จาก https://news.trueid.net/detail/xNlorw00V3lQ.

สุวิมล ติรกานันท์. (2546). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อุษณีย์ พรมเดื่อ และ มาลี กาบมาลา. (2562). การศึกษาความต้องการสารสนเทศที่มีผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อหลักสูตรระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 16(72): 176-182.

Cronbach, L.J. (1990). Essentials of Psychological Testing. 5th ed. New York: Harper & Row.

Dean Heathcote, Simon Savage, and Amin Hosseinian-Far. (2020). Factors Affecting University Choice Behaviors in the UK Higher Education. Education Sciences. MDPI, 2020(100): 1-21.

Didik Wardaya, Lantip Diat Prasojo, and Sugiyono Sugiyono. (2021). Factors affecting students’ choice of educational administration major: Why do students join the program. International Journal of Evaluation and Research in Education (IJERE), 10(4): 1125-1132.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3): 607-610.

María del Carmen Olmos-Gómez, Mónica Luque-Suárez and Jesús Manuel Cuevas-Rincón. (2019). A Confirmatory Evaluation of an Educational Orientation Tool for Pre-University Students. Education Sciences. MDPI, 9(4): 285.

Raiji, M.N.A., Zainal., A. (2016). The effect on customer perceived value on customer satisfaction: A case study of Malay upscale restaurants. Malaysian Journal of Society and Space, 12(3): 58-68.

Zukhri Agusty Leo Syamsul Arifin, Ujang Sumarwan, & Mukhamad Najib. (2020). The Influence of Marketing Mix on Brand Image, Motivation and Students Decision to Choose Graduate Studies of IPB University. Journal of Consumer Sciences, 5(2): 139-156.