ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบวรนิเวศศาลายา ในพระสังฆราชูปถัมภ์ตามแนวคิดความสามารถในการฟื้นพลัง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบวรนิเวศศาลายา ในพระสังฆราชูปถัมภ์ตามแนวคิดความสามารถในการฟื้นพลัง ผู้ให้ข้อมูลในการวิจัย ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียนและครู จำนวน 80 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 1.00 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 โดยสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNImodified)
ผลการวิจัย พบว่า สภาพปัจจุบันและสภาพพึงประสงค์ของการบริหารวิชาการของโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบวรนิเวศศาลายา ในพระสังฆราชูปถัมภ์ตามแนวคิดความสามารถในการฟื้นพลัง โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( =3.684) และมากที่สุด ( =4.543) ตามลำดับ โดยด้านที่มีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ การพัฒนาหลักสูตร (PNImodified=0.244) รองลงมา คือ การจัดการเรียนรู้ (PNImodified=0.223) และการประเมินผล (PNImodified=0.208) ตามลำดับ
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้คณะกรรมการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารงานและการจัดการศึกษา พ.ศ.2550. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
จามจุรี จำเมือง. (2552). คู่มือเตรียมสอบผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: เจริญดีมั่นคง.
ธัญญาภรณ์ อุปมัยรัตน์. (2561). ผลของโปรแกรมกำกับตนเองต่อทัศนคติการใช้ความรุนแรงและพฤติกรรมการควบคุมตนเองของนักเรียนวัยรุ่น. วิทยานิพนธ์ พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2). (19 ธันวาคม 2545). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 119 ตอนที่ 123 ก, หน้า 16-21.
มหาวิทยาลัยราชภัฏวลัยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2553). คู่มือการจัดระบบการเรียนการสอนที่ยึดนักเรียนเป็นศูนย์การเรียนรู้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เทียนวัฒนา พริ้นท์ติ้ง.
มารุต พัฒผล. (2562). แนวคิดหลักการพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพฯ: ศูนย์ผู้นำนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้.
ยชญ์รวินทร์ จนบุรมย์. (2560) ผลของการเสริมสร้างความยืดหยุ่นทางอารมณ์เพื่อลดความเครียดของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารกองการพยาบาล, 44(1): 103-115.
โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบวรนิเวศศาลายา ในพระสังฆราชูปถัมภ์. (2564). รายงานสถิติการย้ายออก ลาออกและไม่สำเร็จในการศึกษาของโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบวรนิเวศศาลายา ในพระสังฆราชูปถัมภ์ในปีการศึกษา 2563. นครปฐม.
โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบวรนิเวศศาลายา ในพระสังฆราชูปถัมภ์. (2565). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบวรนิเวศศาลายา ในพระสังฆราชูปถัมภ์ ปีการศึกษา 2564. นครปฐม.
วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2563). สมรรถนะเด็กไทยในยุคโลกพลิกผัน (VUCA World). คุรุสภาวิทยาจารย์, 1(1): 11.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). คู่มือการปฏิบัติงานข้าราชการครู. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2553). แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ. 2552 -2559). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2557). แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สุกัญญา แช่มช้อย. (2565). การบริหารวิชาการที่ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคพลิกผัน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุคนธ์จิต อุปนันชัย. (2556). อิทธิพลของการสนับสนุนทางสังคมการเห็นคุณค่าแห่งตนและการรับรู้ความสามารถของตนที่มีต่อความสามารถในการฟื้นพลังของนักเรียนในจังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุจิรา ประกอบสุข. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะนิสัยแบบฟื้นคืนพลัง ความหมายในชีวิต และปัญหาทางจิตใจของนักเรียนทุนที่ศึกษาต่อต่างประเทศ. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุนีย์ ชัยสุขสังข์. (2557). กลยุทธ์การบริหารวิชาการเพื่อเสริมสร้างทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนในโรงเรียนเอกชนทางเลือก. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เสกข์ วงศ์พิพันธ์. (2563). การเสริมสร้างการตระหนักรู้ทางสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ตอนปลายโดยการให้คำปรึกษากลุ่มมหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อภิพร เป็งปิง. (2562). ความเข้มแข็งทางจิตใจของเด็กในห้องเรียนอนุบาล. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 47(2): 370-385.
อิงอร ลิ้มวัฒนาถาวรกุล. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความยืดหยุ่นของผู้สูงอายุโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด. วิทยานิพนธ์ พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
อุรัจฉทาธ์ นามรักษ์. (2555). ปัจจัยบางประการที่ส่งผลต่อการกำกับตนในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 28. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Connor and Davidson. (2003). Development of a new resilience scale: The Connor-Davidson resilience scale (CD-RISC). Depression and anxiety, 18(2) : 76-82.
Cronbach, L. Joseph. (1984). Essential of Psychology and Education. New York: Mc–Graw Hill.
Gale M. Morrison and Megan Redding Allen (2007). Promoting Student Resilience in School Contexts Theory. Theory Into Practice, 46(2): 162-169.
Ginsburg, and Jablow. (2014). Building resilience in children and teens: Giving kids roots and wings. illinois: American Academy of Pediatrics.
Henderson and Milstein. (2003). Resiliency in schools: Making it happen for students and educators. USA: Corwin press.
Jing Sun and Donald Stewart. (2007). Development of population based resilience measures in the primary school setting. Retrieved on February, 17th, 2022, from https://www.emerald.com/insight/content/doi/10.1108/09654280710827957/full/html.
Lopez and Snyder. (2009). The Oxford handbook of positive psychology. New York: Oxford University Press.
Lucy et al. (2014). Building Resilience: Five Key Capabilites. Retrieved on February, 7th, 2022, from https://www.roffeypark.ac.uk/wp-content/uploads/2020/07/Building-Resilience-Report-with-covers.pdf.
Maryland Department of Health. (2019). Educational Resilience. Retrieved on February, 5th, 2022, from http://www.mindresilience.org/what-is-mind-resilience/coreconcept sage.
Miljević-Riđički, Renata, Celeste Simões, and Birgitta Kimber. (2020). Resilience in School Children–a Multicultural Comparison between Three Countries–Croatia, Sweden and Portugal. Društvena Istraživanja, 29(4): 555-74.
Reivich et al. (2011). Master resilience training in the US Army. American psychologist, 66(1): 25.
Schunk and Zimmerman. (1994). Self-regulation of learning and performance: Issues and educational applications. Lawrence Erlbaum Associates, Inc.
Transforming Education. (2014). Introduction to Social Awareness. Retrieved on March, 30th, 2022, from https://transformingeducation.org/resources/introduction-to-social-awareness/.
Valladolid. (2021). The Role of Coping Strategies in the Resilience and Well-Being of College Students during COVID-19 Pandemic. Philippine Social Science Journal, 4(2): 30-42.
World Economic Forum and Sea Insights. (2020). COVID-19: THE TRUE TEST OF RESILIENCE AND ADAPTABILITY. Retrieved on March, 20th, 2022, from http://www3.weforum.org/docs/WEF_ASEAN_Youth_Survey_2020_Report.pdf.