การกล่อมเกลาทางการเมืองที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการของประชาชนในเขตเทศบาลนครสมุทรสาคร อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร

Main Article Content

ศุภกร เพียรทอง
ชยุต ภวภานันท์กุล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคิดเห็นของประชาชนต่อการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการในเขตเทศบาลนครสมุทรสาคร อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการกล่อมเกลาทางการเมืองกับการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการของประชาชนในเขตเทศบาลนครสมุทรสาคร อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามและเลือกขนาดตัวอย่างจำนวน 150 คน ในเขตเทศบาลนครสมุทรสาคร อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร โดยใช้โปรแกรม G*Power ที่สร้างตามแนวคิดหาค่าขนาดอิทธิพลของโคเฮน (Cohen) รวมถึงการใช้การสุ่มที่ไม่คำนึงความน่าจะเป็นในการสุ่มด้วยการสุ่มแบบบังเอิญ สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณนาด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน


ผลการวิจัย พบว่า ระดับการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการการมีส่วนร่วมเป็นสมาชิกของกลุ่ม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การมีส่วนร่วมบริจาคทรัพย์ วัสดุ แรงงาน มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ส่วนปัจจัยที่เหลืออยู่ในระดับมาก คือ การมีส่วนร่วมในการประชุมวางแผนหรือโครงการ การมีส่วนร่วมเป็นสมาชิกของกลุ่มในชุมชน และการมีส่วนร่วมเป็นกรรมการ สุดท้าย ปัจจัยการกล่อมเกลาทางการเมืองกับการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการโดยรวม มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับต่ำ มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) เท่ากับ 0.478

Article Details

How to Cite
เพียรทอง . ศ., & ภวภานันท์กุล ช. (2021). การกล่อมเกลาทางการเมืองที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการของประชาชนในเขตเทศบาลนครสมุทรสาคร อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 7(Special), 359–371. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/258116
บท
บทความวิจัย

References

ชวนะ ภวกานันท์. (2555). การจัดการมหาชนสร้างสรรค์สู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์: ทักษะการคิดใหม่เพื่อการศึกษายุคประเทศไทยสร้างสรรค์. วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์, 2(2): 1-20.

ถิรวัฒน์ แจ่มกระจ่าง และ ชลิต ศานติวรางคณา. (2557). ความสัมพันธ์ของการสื่อสารที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลนคร จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 4(1): 46-62.

บุศรา โพธิสุข. (2559). การมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชน: ศึกษาเฉพาะกรณี ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. พิฆเนศวร์สาร, 12(1): 151-164.

ประสพชัย พสุนนท์. (2553). สถิติธุรกิจ. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิทยบริการ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น.

พงษ์เมธี ไชยศรีหา. (2561). แนวทางการพัฒนาวัฒนธรรมทางการเมืองประชาธิปไตยของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองชุมแพ จังหวัดขอนแก่น. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 5(2): 243-262.

ยุทธ ไกยวรรณ์. (2553). หลักสถิติวิจัยและกรรใช้โปรแกรม SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วัลลภ รัฐฉัตรานนท์. (2557). การกล่อมเกลาทางการเมืองที่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. รายงานการวิจัย ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Bozeman, B. (2000). Technology Transfer and Public Policy: A Review of Research and Theory. Research Policy, 29(4): 627-655.

Carr, P. R., Sanchez S. Liliana Cuervo, & Daros M. Aparecida. (2020). Citizen Engagement in the Contemporary Era of Fake News: Hegemonic Distraction or Control of the Social Media Context? Postdigital Science and Education, 2(1): 39-60.

Cohen, J. (1988). Statistical Power Analysis for the Behavioral Sciences. 2nd ed. New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates, Publishers.

Cohen, J. (1992). A Power Primer. Psychological Bulletin, 112(1): 155-159.

Helliwell, J. F., Huang, H., Grover, S. & Wang, S. (2014). Good Governance and Nation Well-Being: What Are the Linkages?. OECD Working Papers on Public Governance, 25. Retrieved from https://doi.org/10.1787/19934351.

Kudrnac, A. (2015). Theoretical Perspectives and Methodological Approaches in Political Socialization Research. Sociologia, 47(6): 605-624.

Memon, S., Ishak M. Sobhi, Hamid N. Abdul. (2018). Influence of Political Socialization Agents on Pakistani Youth’s Political Participation: The Mediating Role of Media and Interpersonal Communication. Journal Komunikasi: Malaysian Journal of Communication, 34(2): 121-136.

Neundorf, A., & Smets, K. (2017). Political Socialization and the Making of Citizens. Oxford Handbook Online, Oxford University Press. Online Publication Date: Feb 2017DOI: 10.1093/oxfordhb/9780199935307.013.98.

Pronchev, G. B., Monakhov, D. N., Proncheva, N. G., & Mikhailov, A. P. (2018). Contemporary Virtual Social Environments as a Factor of Social in Equality Emergence. Astra Salvensis, 6: 207-216.

Samsonova, T. N., & Titov, V. V. (2017). On National Civic Identity Formation of the Russian Youth in Global Socio-Cultural Transformations at the Beginning of the 21st Century. Moscow State University Bulletin Series 18 Sociology and Political Science, 23(3): 156-173.

Vasenina, I. V., Lipatova, M. E., & Pronchev, G. B. (2019). Particularities of Social and Political Activity of Russian Young People in Virtual Social Environments. Espacios, 40(35): 16-34.