การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพอันพึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการบริหารโรงเรียนต้นแบบของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 ตามแนวคิดการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วม

Main Article Content

นิศา สุนิล
นันทรัตน์ เจริญกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารโรงเรียนต้นแบบของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 ตามแนวคิดการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วม โดยใช้กรอบการบริหารโรงเรียนร่วมกับกรอบการบริหารจัดการเรียนร่วมตามโครงสร้างซีท (SEAT Framework) ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ คือ 1) นักเรียน (S-Student) 2) สภาพแวดล้อม (E-Environment) 3) กิจกรรมการเรียนการสอน (A-Activities) และ 4) เครื่องมือ (T-Tools) ผู้ให้ข้อมูลได้มาจากการเจาะจงเลือก เป็นผู้บริหารโรงเรียน 18 คน และครู 210 คน รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 228 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามลักษณะมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีลำดับความต้องการจำเป็น


ผลการวิจัย พบว่า สภาพปัจจุบันของการบริหารโรงเรียนต้นแบบของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 ตามแนวคิดการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วม โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ การบริหารงานวิชาการ ส่วนสภาพอันพึงประสงค์ของการบริหารโรงเรียนต้นแบบของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 ตามแนวคิดการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ การบริหารงานบุคคล ค่าดัชนีความต้องการจำเป็นในการบริหารโรงเรียนต้นแบบของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 ตามแนวคิดการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วม ด้านที่มีลำดับความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ การบริหารงานทั่วไป รองลงมา คือ การบริหารงานงบประมาณ และด้านที่มีความต้องการจำเป็นต่ำที่สุด คือ การบริหารงานวิชาการ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ขวัญใจ อธิปัญญาวงศ์. (2556). เจตคติต่อการเป็นเพื่อนกับนักเรียนออทิสติกเรียนร่วมบางเวลาในโรงเรียนจิตรลดาระดับประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพจิต คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

คมสัน แข็งแอ. (2562). แนวทางการพัฒนาการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 5(3): 181-195.

เบญจา ชลธาร์นนท์. (2546). คู่มือการบริหารจัดการเรียนร่วมโดยใช้โครงสร้างซีท. กรุงเทพฯ: เพทาย การพิมพ์.

พระจักรกฤษ สีสิ้ว. (2562). การบริหารอย่างมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของโรงเรียนพระปริยัติธรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่ม 11 ของประเทศไทย ปีการศึกษา2561-2562. วารสารการบริหารและนวัตกรรมการศึกษา, 2(1): 71-82.

ยุพิน บุญวิเศษ. (2555). การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงบประมาณของโรงเรียนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วสิฐินี เวทย์วิชานันท์. (2562). การใช้ชุดกิจกรรมศิลปะพัฒนาความสามารถในการจดจ่อตั้งใจทำงานของเด็กบกพร่องทางการเรียนรู้ที่มีภาวะสมาธิสั้น. วารสารราชพฤกษ์, 17(2): 88-94.

วิภาสิริ บุญชูช่วย. (2558). แนวทางการขับเคลื่อนนโยบายการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กพิการ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาพัฒนศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิก.

Delaney, R. (2020). Parent participation in district-level curriculum decision-making: a year in the life of school district. ProQuest digital dissertations, 60(7): 2349-A.