การเปรียบเทียบปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการทำงานของเจ้าหน้าที่เจเนอเรชันเอ็กซ์และเจเนอเรชันวาย มหาวิทยาลัยของรัฐในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะและพฤติกรรมการทำงานของเจ้าหน้าที่เจเนอเรชันเอ็กซ์ 2) ศึกษาคุณลักษณะและพฤติกรรมการทำงานของเจ้าหน้าที่เจเนอเรชันวาย 3) เปรียบเทียบคุณลักษณะและพฤติกรรมการทำงานของเจ้าหน้าที่เจเนอเรชันเอ็กซ์และเจเนอเรชันวาย 4) เปรียบเทียบคุณลักษณะและพฤติกรรมการทำงานของเจ้าหน้าที่เจเนอเรชันเอ็กซ์ และ 5) เปรียบเทียบคุณลักษณะและพฤติกรรมการทำงานของเจ้าหน้าที่เจเนอเรชันวาย มหาวิทยาลัยของรัฐในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามมาตรวัดแบบ Likert 5 ระดับ เก็บข้อมูลจากเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยของรัฐในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 3 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และมหาวิทยาลัยนครพนม จำนวน 317 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ
ผลการวิจัย พบว่า เจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยของรัฐในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า 1) เจเนอเรชันเอ็กซ์มีค่าเฉลี่ยของความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับคุณลักษณะหรือบุคลิกภาพแบบประนีประนอมสูงสุด
2) เจเนอเรชันวายมีค่าเฉลี่ยของความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับคุณลักษณะหรือบุคลิกภาพแบบเปิดรับประสบการณ์ 3) พฤติกรรมการทำงานโดยรวม พบว่า เจเนอเรชันเอ็กซ์มีค่าเฉลี่ยของความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับพฤติกรรมการทำงานด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบขององค์กรสูงสุด 4) เจเนอเรชันวายมีค่าเฉลี่ยของความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับพฤติกรรมการทำงานด้านความพึงพอใจในการทำงานสูงสุด และ 5) เจ้าหน้าที่เจเนอเรชันเอ็กซ์ มีลักษณะของความประนีประนอม เคารพกฎระเบียบ และมักพึ่งพาความรู้ความสามารถของตนเอง ส่วนเจ้าหน้าที่เจเนอเรชันวาย มักให้ความสนใจกับความท้าทายของงานและผลสำเร็จของงาน มีการเปิดใจยอมรับและปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ดีกว่า ทั้งชอบงานที่ท้าทายและพบสิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอ
Article Details
References
กมลพร สอนศรี และ พสชนนัน นิรมิตรไชยนนท์. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการทำงานของข้าราชการ/พนักงานราชการ Generation Y. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย, 7(1): 39-66.
จันจีรา โสะประจิน. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรการทำงานของพนักงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์: กรณีศึกษา บริษัท ยานภัณฑ์ จำกัด (มหาชน). ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต การจัดการทั่วไป มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
จิรัชญา ศุขโภคา และ สันติธร ภูริภักดี. (2562). รูปแบบภาวะผู้นำของผู้บังคับบัญชาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานเจเนอเรชันเอ๊กซ์และเจเนอเรชันวายในองค์กรเอกชน. Humanities, Social Science and Arts, 12(4): 1586-1600.
ณัทฐา กรีหิรัญ. (2550). การศึกษาความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต การอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เดชา เดชะวัฒนไพศาล และคณะ. (2557). การศึกษาเจเนอเรชันเอ๊กซ์และเจเนอเรชันวายในมุมมองคุณลักษณะของตนเองและความคาดหวังต่อคุณลักษณะของเจนเอนเรชั่นอื่น. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 36(141): 1-17.
เดชา เดชะวัฒนไพศาล. (2552). การรับรู้คุณลักษณะของเจเนอเรชันวายและแรงจูงใจในการทำงาน: มุมมองระหว่างเจเนอเรชันต่าง ๆ ในองค์กร. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 31(121): 1-25.
ทิพย์วิมล จรลี. (2558). บุคลิกห้าองค์ประกอบ ความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคและการรับรู้พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ ของพนักงานกลุ่มบริษัทผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กแห่งหนึ่ง. ศิลปศาสตรมหา
บัณฑิต จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ธิดารัตน์ สิริวราวุธ และ วาสินี วิเศษฤทธิ์. (2561). การศึกษาความผูกพันในงานของพยาบาลวิชาชีพ Generation Y. วารสารพยาบาลทหารบก, 19(พิเศษ): 197-205.
ปทิตตา สัณหภักดี. (2550). ปจจัยจูงใจที่มีผลตอพฤติกรรมในการทํางานและความ จงรักภักดีตอองคกรของพนักงาน บริษัท บีแอนดอีจํากัด. สารนิพนธ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พะยอม วงศ์สารศรี. (2541). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: คณะวิทยาการจัดการ สถาบันราชภัฏสวนดุสิต.
รุ่งนภา ยุทดร. (2548). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต ธุรกิจศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครรินทรวิโรฒ.
ศรีกัญญา มงคลศิริ. (2548). Power gensbranding. กรุงเทพฯ: พิฆเณศ พริ้นท์ติ้ง เซ็นเตอร์.
สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา. (2561). สถาบันอุดมศึกษาในสังกัด. ค้นเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2562, จาก https://www.mhesi.go.th/home/index.php/service/45-education-service/96-higher-education-service
สุธรรม อารีกุล และคณะ. (2540). โครงการศึกษาวิจัยเรื่องอุดมศึกษาไทย วิกฤตและทางออก. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เสฏฐวุฒิ หนุ่มคำ และคณะ. (2559). แนวคิดและพฤติกรรมการปฏิบัติงานร่วมกันตามคุณลักษณะด้านทักษะและอาชีพในศตวรรษที่ 21 ของเจนเนเรชั่นวายและเจเนอเรชันเอ๊กซ์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 10(4): 248-260.
อังคณา จรรยาวิวัฒนกุล. (2546). ปจจัยที่มีผลตอพฤติกรรมการทํางานของขาราชการ สังกัดสํานักงานงบประมาณ. วิทยานิพนธวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคําแหง.
Black, K. (2006). Business Statistics for Contemporary Decision Making. 4th ed. USA: John Wiley & Son.
Costa, P.T, & McCrae R.R. (1992). Revised Neo personality inventory (Neo PI-R) and Neo five-factor inventory (Neo-FFI): professional manual. Florida: Psychological Assessment Resources.
Haserot, P. W. (2004). Another look at how Gen X and Gen Y differ. IOMA’s report on Compensation and Benefits for Law Offices, 4(3): 25-36.
Yamane, Taro. (1973). Introductory Analysis. 3th ed. Tokyo: Harper International Education.