บุคลิกภาพห้าองค์ประกอบและอิทธิพลระหว่างกันของความพึงพอใจในงานและผลการปฏิบัติงานของผู้ประกอบอาชีพการพยาบาล ในอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี

Main Article Content

มัสยา เกตสอาด
อำนาจ ธีระวนิช

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของลักษณะทางบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบที่มีต่อความพึงพอใจในงานและศึกษาความสัมพันธ์ของลักษณะทางบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบที่มีต่อผลการปฏิบัติงาน รวมถึงศึกษาอิทธิพลระหว่างกันของความพึงพอใจในงานกับผลการปฏิบัติงานของผู้ประกอบอาชีพการพยาบาล ในอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี โดยกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 322 คน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการใช้สถิติการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM) ผลการวิจัย พบว่า โมเดลมีความสัมพันธ์กับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยลักษณะบุคลิกภาพทั้งห้าองค์ประกอบด้านความมีจิตสำนึก และความมั่นคงทางอารมณ์ มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับความพึงพอใจในงาน รวมถึงบุคลิกภาพด้านความมีจิตสำนึก ด้านการเปิดเผยตนเอง และด้านความมั่นคงทางอารมณ์มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับผลการปฏิบัติงาน ผลการปฏิบัติงานมีอิทธิพลเชิงบวกต่อความความพึงพอใจในงาน ขณะที่ความพึงพอใจในงานไม่มีความสัมพันธ์กับผลการปฏิบัติงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้น องค์การควรที่จะส่งเสริมให้บุคลากรพัฒนาบุคลิกภาพของตนเองในด้านจิตสำนึกและด้านความมั่นคงในอารมณ์ อันจะทำให้บุคลากรมีความพอใจในงานและผลการปฏิบัติงานสูงขึ้น

Article Details

How to Cite
เกตสอาด ม., & ธีระวนิช อ. (2019). บุคลิกภาพห้าองค์ประกอบและอิทธิพลระหว่างกันของความพึงพอใจในงานและผลการปฏิบัติงานของผู้ประกอบอาชีพการพยาบาล ในอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 4(3), 115–125. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/168286
บท
บทความวิจัย

References

พรประภา ศรีราพร. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างแบบบุคลิกภาพของจูงกับการเลือกเรียนสาขาในคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 1(2): 60 - 68.

Abubakr M. Suliman et al. (2010). Personality trait and work performance in a duty-free industry. International Journal of Commerce and Management, 20(1): 64 - 82.

Adrain Furham et. at. (2002). Do personality factors predict job satisfaction. Personality and individual differences, 33: 1325 - 1342.

Alf Crossman and Bassem Abou-Zaki. (2003). Job satisfaction and employee performance of Lebanese banking staff. Journal of Managerial Psychology, 18(4): 368 - 376.

Arthur E. Poropat et. al. (2009). A meta-analysis of the five-factor model of personality and academic performance. Psychological Bulletin.

Cheng-Liang and Mark Hwang. (2014). Personality traite and simultaneous reciprocal influences between job performance and job satisfaction. Chinese Management Studies, 8(1): 6 - 26.

Dev Jani and Heesup Han. (2013). Personality, social comparison, consumption emotions,satisfaction, and behavioral intentions. International Journal of Contemporary Hospitality Management, 25(7): 970 - 993.

Gregory M. Hurtz and John J. Donovan. (2000). Personality and Job: The Big five revisited. Journal of Applied Psychology, 85(6): 869 - 879.

John W. Liunsbury et al. (2012). Managing Service Quality: An International Journal. Managing Service Quality, 22(5): 517 - 536.

Jose’ R. Goris. (2007). Effect of satisfaction with communication on the relationship between individual-job congruence and job performance/satisfaction. Journal of Management Development, 26(8): 737 - 752.

Melissa C. O’Connor and Sampo V. Paunonen. (2007). Big Five personality predictors of post-secondary academic performance. Personality and individual differences, 43: 971 - 990.

Miranda A. G. Peeters et al. (2006). The big five personality traits and individual satisfaction with the team. Small group Research, 37(2): 187 - 211.

Muhammad Awais Bhatti et al. (2014). Effect of personality traits (big five) on expatriates adjustment and job performance. Equality, Diversity and Inclusion: An International Journal, 33(1): 73 - 96.

Murray R. Barrick and Michael K. Mount. (1991). The big five personality dimensions and job performance: A Meta-Analysis. Personal Psychology, p. 44.

Sriraporn, P. (2017). Relationship between Personality type by Jung Typology Test and Major selected by Business Administration students of Rajapruk University. Journal of Humanities and Social Sciences Rajapruk University, 1(2): 60 - 68. (in Thai)