มาตรฐานอาชีพของผู้ปฏิบัติงานแผนกบริการอาหารและเครื่องดื่มของธุรกิจโรงแรมในจังหวัดภูเก็ต

Main Article Content

ราตรีญา ขาวกลิบ

บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการทำงานของผู้ปฏิบัติงานแผนกบริการอาหารและเครื่องดื่มของธุรกิจโรงแรมในจังหวัดภูเก็ต ตามมาตรฐานอาชีพ จำแนกตามเพศ อายุ ประสบการณ์ทำงาน และระดับโรงแรม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปฏิบัติงานแผนกบริการอาหารและเครื่องดื่มของธุรกิจโรงแรมในจังหวัดภูเก็ต จำนวน 420 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที (t-test)


ผลการวิจัยพบว่า การศึกษาระดับความคิดเห็นต่อมาตรฐานอาชีพนั้น ผู้ปฏิบัติงานแผนกบริการอาหารและเครื่องดื่มส่วนใหญ่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ มาตรฐานอาชีพชั้นที่ 1 คือ ทักษะในการปฏิบัติงานประจำขั้นพื้นฐานทั่วไป รองลงมา คือ มาตรฐานอาชีพชั้นที่ 3 คือ ผู้ที่มีทักษะในการปฏิบัติงานครอบคลุมหน่วยสมรรถนะอาชีพชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 ตลอดจนความสามารถด้านคอมพิวเตอร์ ด้านอนามัยและการสื่อสารภาษาอังกฤษ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยลำดับสุดท้าย คือ มาตรฐานอาชีพชั้นที่ 2 คือ ทักษะในการปฏิบัติงานที่ครอบคลุมหน่วยสมรรถนะอาชีพชั้นที่ 1 ตลอดจนสามารถโต้ตอบและเขียนข้อความสั้น ๆ เป็นภาษาอังกฤษได้ ตามลำดับ ส่วนผู้ปฏิบัติงานแผนกบริการอาหารและเครื่องดื่มของธุรกิจโรงแรมในจังหวัดภูเก็ตที่มีสถานภาพต่างกันด้านเพศ โดยรวมไม่แตกต่างกัน ด้านอายุ ด้านประสบการณ์ทำงาน และด้านระดับโรงแรมที่ทำงาน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ส่วนข้อเสนอแนะเพิ่มเติมของผู้ปฏิบัติงานแผนกบริการอาหารและเครื่องดื่มของธุรกิจโรงแรมในจังหวัดภูเก็ตนั้น ได้มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมด้านมาตรฐานอาชีพชั้นที่ 1 คือ การทำงานด้านบริการ (ธุรกิจโรงแรม) ต้องมีการให้บริการอย่างเต็มใจ (Service mind) เป็นพื้นฐาน รักในงานบริการ และฝึกฝนทักษะภาษาทางด้านภาษาอังกฤษหรือภาษาอื่น ๆ สามารถสื่อสารให้ข้อมูลลูกค้าที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์

Article Details

How to Cite
ขาวกลิบ ร. (2018). มาตรฐานอาชีพของผู้ปฏิบัติงานแผนกบริการอาหารและเครื่องดื่มของธุรกิจโรงแรมในจังหวัดภูเก็ต. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 4(2), 104–114. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/144196
บท
บทความวิจัย

References

ชลธิชา บุณนาค. (2553). การบริการอาหารและเครื่องดื่ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ธารีทิพย์ ทากิ. (2549). การจัดการงานส่วนหน้าของโรงแรม. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ธีรวัฒน์ อิ่มประคองศิลป์. (2555). การศึกษาความต้องการคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาฝึกงานแผนกอาหารและเครื่องดื่มของโรงแรมในเขตกรุงเทพมหานคร. ค้นเมื่อ 9 มิถุนายน 2559, จาก http://ejournals.swu.ac.th

บุ๊คกิ้งดอทดอม. (2559). โรงแรมและที่พักในจังหวัดภูเก็ต. ค้นเมื่อ 15 เมษายน 2559,จาก http:// www.booking.com/region/th/phuket.th.html?aid=318615

บุญพา คำวิเศษณ์. (2561). ความพร้อมด้านการใช้ภาษาอังกฤษของพนักงานต้อนรับในโรงแรมและที่พักในจังหวัดภูเก็ต. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 3(3): 34. ค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2561, จาก https://www.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/112621/87721

ปัณณทัต กัลยา และคณะ. (2558). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบุคลากรตามความต้องการของผู้บริหารโรงแรมในจังหวัดลำปาง ปีการศึกษา 2558. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่,
8(2): 42.

สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ. (2557). มาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ 2557. กรุงเทพฯ: สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์กรมหาชน).

สำนักงานสถิติจังหวัดภูเก็ต. (2558). รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์จังหวัดภูเก็ต 2558. ค้นเมื่อ 14 เมษายน 2559, จาก Phuket.nso.go.th

อรรธิกา พังงา. (2553). การจัดการและการปฏิบัติงานส่วนหน้า. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:
โอเดียนสโตร์.

Booking dot com. (2016). Hotel and Accommodation in Phuket. Retrieved on April 15, 2016, from http:// www.booking.com/region/th/phuket.th.html?aid= 318615 (in Thai)

Bunnake, Ch. (2010). food and beverage services. Bangkok: Dhurakij Pundit University (in Thai)

Emphakongsen, Te. (2012). A study of desirable characteristics of student training department of food and beverage, hotel in Bangkok. Retrieved on June 9, 2016, from http://ejournals.swu.ac.th. Search (in Thai)

Institute of vocational qualifications. (2014). Occupational standards and vocational qualifications 2557. Bangkok: Institute of vocational qualifications (the Department of public). (in Thai)

Kamwiset, B. (2016). The availability of English language services provider and hotel accommodation in Phuket Province. Journal of Rajapruk University, 3(3): 34. Retrieved on 2nd, February, 2018, from https://www.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/112621/87721 (in Thai)

Klanlaya, B. and faculty. (2015). The characteristics of personnel according to the needs of the hotel management students in Bangkok 2558. Journal of management science. modern years 8 (2): 42 (in Thai)

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3): 607-610.

Phang Nga, A. (2010). Front office management and operation. 2nd edition. Bangkok: odeon store.

Statistical Office of Phuket. (2015). Report situation analysis in 2558. Retrieved on April 14, 2016, from the Phuket.nso.go.th (in Thai)

Taki, Ta. (2006). Hotel front office operations management. Bangkok: SE-ED. (in Thai)