การสร้างสื่อนำเสนอเส้นทางท่องเที่ยวรอยพระพุทธบาท โดยใช้ Google Maps API กรณีศึกษา: รอยพุทธบาทบัวบก จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

ฐาปนี เพ็งสุข

บทคัดย่อ

การวิจัยการสร้างสื่อนำเสนอแบบมีส่วนร่วมเพื่อนำเสนอเส้นทางท่องเที่ยวรอยพระพุทธบาท มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลทางวัฒนธรรมเชิงประวัติศาสตร์ของปูชนียสถานรอยพระพุทธบาท กรณีศึกษา รอยพระพุทธบาทบัวบก จังหวัดอุดรธานี 2) ศึกษาเส้นทางด้านการใช้ประโยชน์บริเวณพื้นที่ใกล้เคียงรอยพระพุทธบาท 3)เพื่อพัฒนาสารสนเทศรอยพระพุทธบาทด้วยแอปพลิเคชัน (Application) ร่วมกับ Google API ใช้วิธีการวิจัยแบบมีส่วนร่วมจากชุมชนในเขตพื้นที่ โดยการสัมภาษณ์ การสำรวจเอกสาร การสำรวจสถานที่ การวิเคราะห์ข้อมูลวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และการสร้างข้อมูลสรุปแบบอุปนัย เพื่อพัฒนาสารสนเทศรอยพระพุทธบาท โดยใช้การออกแบบพัฒนาเว็บไซต์สารสนเทศด้วยภาพกราฟิกสร้างแผนที่เชิงปฏิสัมพันธ์ด้วยเทคโนโลยี ได้แก่ ภาษา HTML, JacaScript, XML ร่วมกับภาษา PHP และฐานข้อมูล MySQL ร่วมกับเทคโนโลยี Google Maps API เพื่อช่วยจัดเก็บข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ผู้ใช้งานสามารถสืบค้นข้อมูล และค้นหาเส้นทางท่องเที่ยวตามรอยพระพุทธบาทได้ ผลการวิจัยและพัฒนา พบว่า เส้นทางท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมจากวัดพระพุทธบาทบัวสามารถเดินทางได้ 3 เส้นทาง คือ เส้นทางที่ 1 จาก อ.เมืองอุดรธานี ® อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี ® วัดพุทธบาทบัวบก เส้นทางที่ 2 จาก ต.พระพุทธบาท
จ.หนองคาย ® อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี ® วัดพุทธบาทบัวบก และเส้นทางที่ 3 จาก อ.เชียงคาน
จ.เลย ® อ.ปากชม จ.เลย ® อ.นายูง จ.อุดรธานี ® อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี ® วัดพุทธบาทบัวบก จากนั้นนำเสนอเส้นทางท่องเที่ยวมาพัฒนาผ่านภาพ Info Graphic และนำเทคโนโลยี Google Maps API มาพัฒนาเว็บไซต์เพื่อช่วยให้แผนที่ Google Maps มีความน่าสนใจ สามารถสังเกตสถานที่สำคัญใกล้เคียงได้ง่าย เป็นการช่วยแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญบริเวณใกล้เคียงกับวัดพระพุทธบาทบัวบก เช่น แหล่งท่องเที่ยว วัด ที่พัก ร้านค้า ร้านอาหาร สถานีตำรวจ โรงพยาบาล ซึ่งผู้ใช้สามารถมองด้วยภาพกราฟิกได้เด่นชัดมากขึ้น ซึ่งแตกต่างจากการค้นหาแบบ Google Map แบบปกติที่แสดงชื่อสถานที่และเส้นทางอย่างเดียว เป็นการแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัดสอดคล้องกับภาครัฐที่ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมให้เกิดความยั่งยืน สำหรับผลประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบ จำนวน 45 คน ในด้านฟังก์ชันการทำงานระบบทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านตรงตามความต้องการผู้ใช้ (Functional Requirement Test) ด้านฟังก์ชันการทำงานระบบ (Functional Test) ด้านความสะดวกต่อการใช้งาน (Usability Test) และการประเมินระบบด้านประสิทธิภาพของระบบ (Performance Test) โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ย 4.27 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.43 อยู่ในระดับมาก

Article Details

How to Cite
เพ็งสุข ฐ. (2018). การสร้างสื่อนำเสนอเส้นทางท่องเที่ยวรอยพระพุทธบาท โดยใช้ Google Maps API กรณีศึกษา: รอยพุทธบาทบัวบก จังหวัดอุดรธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 4(2), 52–63. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/144173
บท
บทความวิจัย

References

ทศพล จังพานิชย์กุล. (2555). ตามรายพระพุทธบาท. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คอมม่า.

ธฤษวรรณ มาตกุล. (2556). แรงจูงใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยสู่การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมอีสาน กรณีศึกษา วัดศิลาอาสน์ (ภูพระ) จังหวัดชัยภูมิ. การศึกษาค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. กรุงเทพฯ: เพรส แอนด์ ดีไซน์.

ลัดณา ศรีอัมพรเอกกุล และคณะ. (2561). การท่องเที่ยวคุณภาพเพื่อนักท่องเที่ยวสูงอายุ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 4(1): 12-28. ค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2561, จาก https://www.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/ 125751/95216 (in Thai)

สำนักงานสถิติการทางโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2556). พฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวของคนไทย. ค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2559, จาก http://osthailand.nic.go.th

สำนักศิลปากรที่ 9 ขอนแก่น . ประวัติพุทธบาทบัวบก. ค้นเมื่อ 16 กรกฏคม 2559, จาก http://www.finearts.go.th/fad9

อโศก ศรีสวัสดิ์. (2546). การพัฒนาและหาประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศสำหรั บศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู สถาบันราชภัฏสุราษฎร์ธานี. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

Bureau of Statistics By the National Statistical Office. (2013). The traveling behavior of Thai people. retrieved on March 20 , 2018 from http://osthailand.nic.go.th (in Thai)

Chittungwattana. B. (2005). The development of sustainable tourism. Bangkok. Press and Design Publishers: (in Thai)

Gungpanichkul, T. (2012). Follow The Buddha’s Footprint. Bangkok. Comma Publishers: (in Thai)

Matakul, T. (2013). The motivations of Thai tourists to e-sarn cultural tourism: case study of sila-art temple (phu pha), chaiyaphum province. M.B.A. (business administration in tourism management). khon kaen university. (in Thai)

Sriampornkul, L. et al. (2018). Quality Tourism for Senior Tourists. Journal of Humanities and Social Sciences, Rajapruk University, 4(1): 12-28. Retrieved on July, 1st 2018, from https://www.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/ 125751/95216 (in Thai)

Srisawat, A. (2003). The Development of The Information System For The Teacher Professional Experience Training Center Of Suratthani Rajabhat University. M.A. King Mongkut's University of Technology North Bangkok.

The Fine Arts Department Khon Kaen. (2017). Buddhism in Thailand. retrieved on July, 16th , 2017, from http://www.finearts.go.th/fad9. (in Thai)