คุณภาพการให้บริการความช่วยเหลือทางกฎหมายของสำนักคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน จังหวัดนนทบุรี

Main Article Content

สุวัตถิ์ ไกรสกุล
จุฑาภรณ์ คงรักษ์กวิน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณภาพการให้บริการช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายของสำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนจังหวัดนนทบุรี และ 2) เปรียบเทียบคุณภาพการให้บริการช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายของสำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนจังหวัดนนทบุรี จาแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนที่มาใช้บริการขอความช่วยเหลือทางกฎหมายจากสำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนจังหวัดนนทบุรี โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 200 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test และการวิเคราะห์ความแปรปวนทางเดียว (One-way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1) ประชาชนมีความคิดเห็นต่อคุณภาพการให้บริการช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายของสำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนจังหวัดนนทบุรี ในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก โดยเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการ อยู่ในระดับดีมากเป็นอันดับหนึ่ง และรองลงมาคือ ด้านการเอาใจใส่ต่อผู้รับบริการ ด้านการให้ความเชื่อมั่นและไว้วางใจแก่ผู้รับบริการ และด้านกายภาพของการบริการ 2) ประชาชนที่มีเพศต่างกันมีความคิดเห็นต่อคุณภาพการให้บริการช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายของสำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายจังหวัดนนทบุรีต่างกัน ส่วนประชาชนที่มี อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ ภูมิลำเนาและจำนวนครั้งที่ใช้บริการขอความช่วยเหลือทางกฎหมายในรอบ 1 ปี ต่างกันมีความคิดเห็นต่อคุณภาพการช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายของสำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายจังหวัดนนทบุรีไม่แตกต่างกัน

Article Details

How to Cite
ไกรสกุล ส., & คงรักษ์กวิน จ. (2017). คุณภาพการให้บริการความช่วยเหลือทางกฎหมายของสำนักคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน จังหวัดนนทบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 3(1), 37–48. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/112530
บท
บทความวิจัย

References

ทศรัฐ จันยาง. (2555). ความคิดเห็นของผู้ใช้บริการที่มีต่อคุณภาพการให้บริการของสำนักงานเทศบาลตาบลลาตาเสา อาเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ฯ.

ทองใบ สุดชารี. (2551). การวิจัยธุรกิจ: ปฏิบัติการวิจัยนอกเหนือจากตารา. พิมพ์ครั้งที่ 2. อุบลราชธานี. คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

นุชกานต์ ปรวีโรทัย. (2555). ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อคุณภาพการให้บริการของงานทะเบียนราษฎรเทศบาลเมืองชลบุรี. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองสิทธิประชาชนระหว่างประเทศ. (ม.ป.ป.). ความเป็นมาของ สคช.สืบค้นวันที่ 5 มีนาคม 2555 จาก www.humanrights.ago.go.th

อรอุมา ศรีสวนจิก. (2554). คุณภาพการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตาบลหนองอ้ม อำเภอทุ่งศรีอุดม จังหวัดอุบลราชธานี. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.