การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคุณธรรมจริยธรรมและจรรยาบรรณสำหรับครู ของนักศึกษาสาขาวิชาการประถมศึกษา วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น

ผู้แต่ง

  • เปรมปรี ฆะปัญญา คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น
  • จักรพันธุ์ จันทร์เจริญ อาจารย์ประจำคณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น
  • กรรณิการ์ ทองรักษ์ คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น

คำสำคัญ:

รูปแบบการจัดการเรียนรู้, การเรียนรู้เชิงรุก, ความสามารถในการคิดวิเคราะห์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาแนวทางการสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อเสริมสร้างความสามารถ
ในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคุณธรรมจริยธรรมและจรรยาบรรณสำหรับครู ของนักศึกษาสาขาวิชาการประถมศึกษา 2) เพื่อสร้างและตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก 3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา ในการเรียนวิชาคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณสำหรับครู กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการประถมศึกษา วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น ปีการศึกษา 2565 จำนวน 60 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์

และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคุณธรรมจริยธรรมและจรรยาบรรณของนักศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบทีแบบกลุ่มตัวอย่างไม่อิสระ

              ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน คือ 1.1) ขั้นกระตุ้นความสนใจ 1.2) ขั้นค้นหาข้อมูล 1.3) ขั้นเรียกข้อมูล 1.4) ขั้นทำงาน 1.5) ขั้นตีความและลงข้อสรุป และ 1.6) ขั้นประเมินผล 2) ผลการตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบ มีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด 3) นักศึกษามีความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนและสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคุณธรรมจริยธรรม
และจรรยาบรรณสำหรับครูหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

ไชยยศ เรืองสุวรรณ. (2553). Active Learning. เชียงใหม่: หน่วยส่งเสริมและพัฒนาวิชาการคณะเภสัชศาสตร์

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ทิศนา แขมมณี. (2550). การสอนจิตวิทยาการเรียนรู้เรื่องศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้

ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2544). วิทยาการด้านการคิด. กรุงเทพฯ: เดอะมาสเตอร์กรุ๊ป แมเนจเม้นท์.

ปรียานุช พรหมภาสิต. (2559). คู่มือการจัดการเรียนรู้ “Active Learning (AL) for HuSo at KPRU. กำแพงเพชร:

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2561). การเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลังกับ PLC เพื่อการพัฒนา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วัชรา เล่าเรียนดี. (2554). รูปแบบและกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด (พิมพ์ครั้งที่ 8). นครปฐม: มหาวิทยาลัย

ศิลปากร.

ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีวศึกษาภาคเหนือ. (2561). รายงานผลการนิเทศติดตามโครงการการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน

เป็นฐาน. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2566, จาก http://www.nsdv.go.th

สถาพร พฤฑฒิกุล. (2555). คุณภาพผู้เรียน...เกิดจากกระบวนการเรียนรู้ (QUALITY OF STUDENTS DERIVED FROM ACTIVE

LEARNING PROCESS). วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา, 6(2), 1-13.

สุวิทย์ มูลคำ. (2548). กลยุทธ์การสอนคิดเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). แนวทางการนิเทศเพื่อพัฒนาและส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก

(Active Learning) ตามนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

Brandenburg, R., McDonough, S., Burke, J. and White, S. (2016). Teacher Education Research and the Policy

Reform Agenda. Singapore: Springer.

Joyce, B. and Weil, M. (1996). Models of teaching (5th ed.). London: Allyn and Bacon.

Mckinney, S. E. (2008). Developing teachers for high-poverty schools: The role of the internship experience.

Urban Education, 43(1), 68-82.

Ornstein, A. C. and Hunkins, F. P. (2014). Curriculum Foundations, Principles (6th ed.). USA: Pearson Education

Limited.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30