การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ ตามแนวคิดฮาโลโมเดล สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

ผู้แต่ง

  • สรญา มุสิกา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • ปรีชา มูลสิน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • ปริญา ปริพุฒ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดฮาโลโมเดล, ความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์, นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดฮาโลโมเดล 2) เพื่อศึกษาความสามารถ
ในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย 2.1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ระหว่าง
ก่อนเรียนและหลังเรียน 2.2) เพื่อศึกษาพัฒนาการความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจ
ในการเรียนรู้ของนักเรียน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านเก่ากลาง อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 5 คน ได้มาด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบวัด
ความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์

              ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดฮาโลโมเดล ซึ่งมีกระบวนการจัดการ
เรียนรู้ 5 ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ 1 เตรียมผู้เรียนเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้ ขั้นที่ 2 ตั้งข้อสังเกตการเรียนรู้ ขั้นที่ 3 กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นที่ 4 สรุปองค์ความรู้ และขั้นที่ 5 ประยุกต์ใช้ความรู้ ซึ่งผลการประเมินคุณภาพของแผน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.60 2) ผลการศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ 2.1) ความสามารถในการแก้ปัญหา
ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน มีค่าเฉลี่ยคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ ร้อยละ
55.25 2.2) ความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์นักเรียนมีคะแนนพัฒนาการสูงขึ้น และ 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.75 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.37 แสดงให้เห็นว่ากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดฮาโลโมเดลสามารถพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ให้สูงขึ้นและนักเรียนมีความพึงพอใจ ในระดับมากที่สุด

References

คณะครุศาสตร์. (2562). แนวคิดการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยรูปแบบฮาโลโมเดล. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏ

อุบลราชธานี.

คณะครุศาสตร์. (2562). โครงการยกระดับคุณภาพผู้เรียนด้านการอ่าน การเขียน และการคิด วิเคราะห์ สำหรับผู้เรียนระดับการศึกษา

ขั้นพื้นฐาน. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี.

จุฑามาศ แจ่มจำรัส. (2565). การพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ด้วยการจัดการ

เรียนรู้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิค STAD ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต

ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร

ชลันดา แสนอุบล. (2562). การพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน

ร่วมกับแนวคิด Akita action model ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต

สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ณีรนุช นรินทร์. (2557). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูกลุ่มโรงเรียนศรีเมือง สังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษา

ประถมศึกษาระยอง เขต 1. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. ชลบุรี: มหาวิทยาลัย

บูรพา.

ทิศนา แขมมณี. (2561). ศาสตร์การสอน: องค์ความรูเพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย.

นิตยา ทิพย์โสดา. (2564). การพัฒนาบทปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ เรื่อง ดินรอบตัวเรา เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา

ทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตรศึกษา.

มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ปิยะธิดา พลพุทธา. (2564). การพัฒนาการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

เรื่อง ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตโดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้สมองเป็นฐานร่วมกับผังมโนทัศน์. วิทยานิพนธ์

ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2561). การเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลังกับ PLC เพื่อการพัฒนา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

ศศิธร บุญไพโรจน์. (2564). การพัฒนาความสามารถในการเขียนสะกดคำโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ HALO Model

สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วารสารครุทรรศน์, 1(1), 43-51.

เศวตาภรณ์ ตั้งวันเจริญ, ชนารักษ์ เวชสวัสดิ์ และปิยาพัชญ์ นิธิศอัครานนท์. (2564). ผลการจัดการเรียนรู้ภายใต้รูปแบบ

HALO Model สำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูชั้นปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ในสถานการณ์ COVID-19. วารสารวิจัยและประเมินผล

อุบลราชธานี, 10(1), 21-30.

สุคนธ์ สินธพานนท์, วรรัตน์ วรรณเลิศลักษณ์ และพรรณี สินธพานนท์. (2555). พัฒนาทักษะการคิดตามแนวปฏิรูปการศึกษา.

กรุงเทพฯ: 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2547). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)

กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2550). ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษากรอบและแนวการดำเนินงาน.

กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง

พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร

แห่งประเทศไทย.

Weir, J. J. 1974. (1974). Problem Solving Every body’s Problem. The Science Teacher, 9(4), 16–18.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30