ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับการจัดการเรียนรู้ เชิงรุกของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพัทลุง

ผู้แต่ง

  • ศุภลัคน์ รัตนบุรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • สุนทรี วรรณไพเราะ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำทางวิชาการ, การจัดการเรียนรู้เชิงรุก, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพัทลุง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาการจัดการเรียนรู้
เชิงรุกของครู และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพัทลุง ปีการศึกษา 2566 จำนวน 275 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยคำนวณจากสูตรของ Taro Yamane และสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดของสถานศึกษา เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำทางวิชาการ
ของผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าเท่ากับ .980 ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู มีค่าเท่ากับ .977 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

              ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก
ซึ่งด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนมีค่าเฉลี่ยสูงสุด และด้านการนิเทศและประเมินผลการสอน
มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 2) การจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ซึ่งด้านการออกแบบและจัดทำแผน
การจัดการเรียนรู้เชิงรุกมีค่าเฉลี่ยสูงสุด และด้านการใช้สื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู โดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวก
ในระดับสูง (r = .718) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

กนกวรรณ ฉัตร์แก้ว และศรีสมร พุ่มสะอาด. (2562). การจัดการเรียนรู้เชิงรุกในยุคประเทศไทย 4.0 ของครูผู้สอน ระดับมัธยมศึกษา

ตอนต้น. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ, 7(1), 136-151.

กาญจนา สุระคำ. (2562). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมของครูในสถานศึกษา

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.

จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

กิตติศักดิ์ ศรีคําเบ้า และรัตนา กาญจนพันธุ์. (2565). ภาวะผู้นําทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มสหวิทยาเขต

ศรีนครินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2. Journal of Roi Kaensarn

Academi, 7(9), 211-226.

ข้าวทิพย์ ทีสุกะ. (2564). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อผลสำเร็จในการดำเนินการประกันคุณภาพ

ภายในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

เฉลิมพล สุปัญญาบุตร. (2562). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สังกัดสำนักงาน

เขต พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา.

มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ช่อรัก วงศ์สวรรค์. (2563). ความคิดสร้างสรรค์ระดับบุคคลและระดักลุ่มของนกัเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการ

เรียนรู้เชิงรุกเรื่องพันธุศาสตร์และเทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอน

วิทยาศาสตร์. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2553). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: เทพเนรมิตการพิมพ์.

ฐิตาพร ตันเจริญรัตน์. (2565). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารกับทักษะของครูในศตวรรษที่ 21 ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน

เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8. วารสารสิรินธรปริทรรศน์, 23(1), 192-204.

ทิพวรรณ์ กุลนิตย์. (2560). ภาวะผู้นําทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา

เขต 26. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏ

มหาสารคาม.

ธีรวิทย์ เมืองสุบาล. (2564). การศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

ประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3. การค้นคว้าอิสระ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. ชัยภูมิ:

มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.

บุณญนุช พรมานุสรณ์. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารกับประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษา

กลุ่มสหวิทยาเขตชลบุรี 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต

สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ปฏิมากาญจน์ แสนโสภาวัน. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําทางวิชาการกับการจัดการเรียนการสอนของครู โรงเรียน

บ้านฉางกาญจนกุลวิทยา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18.

วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

พรรณนพพร สินน้อย และธีระพงศ์ บุศรากูล. (2562). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่

การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร, 7(2), 187–199.

พรรณี วันกระจ่าง และชวน ภารังกูล. (2561). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอน

ของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 จังหวัดราชบุรี. การประชุมวิชาการ

ระดับนานาชาติ ครั้งที่ 6 มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง, 1 มีนาคม 2561, 968-977.

ภคพร เลิกนอก และเอกราช โฆษิตพิมานเวช. (2565). องค์ประกอบของภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา

ขั้นพื้นฐาน. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 9(2), 76-85.

ภัททิยา ชื่นวิเศษ. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับผลการดำเนินการนิเทศภายใน

ของสถานศึกษาตามการรับรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา. การค้นคว้าอิสระ

ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

มาหะมะ ขาเดร์. (2562). พฤติกรรมการสอนอิสลามศึกษาโดยใช้การจัดการเรียนร้เชิงรุกของครูอิสลามศึกษาในโรงเรียน

ประถมศึกษา ในจังหวัดชายแดนใต้. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. สงขลา:

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

รัชนีเพ็ญ พลเยี่ยม. (2560). การวิจัยทางการศึกษา. มหาสารคาม: อภิชาตการพิมพ์.

รัศมี ศรีนนท์, อุดมกฤษฏิ์ ศรีนนท์, วิภารัตน์ ยมดิษฐ์ และกรรณิการ์ กิจนพเกียรติ. (2561). การจัดการเรียนรู้เชิงรุกในยุคไทย

แลนด์ 4.0. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 9(2), 331–343.

รินดา พูลสว่าง, รัตนา ดวงแก้ว และเข็มทอง ศิริแสงเลิศ. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร

สถานศึกษากับประสิทธิภาพการสอนของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3

จังหวัดนนทบุรี. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ., 9(2), 131-141.

รุ่งอรุณ เพ็ญกุลกิจ และยืนยง ไทยใจดี. (2560) ศึกษาภาวะผู้นําทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่

การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 11(2), 154-162.

ละอองดาว ปะโพธิง. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับพฤติกรรมการสอน

ที่มีประสิทธิผลของครูในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จังหวัดเลย.

วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 8(25), 1-13

วารินท์พร ฟันเฟื่องฟู. (2562). การจัดการเรียนรู้ Active Learning ให้สำเร็จ. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 9(1), 135–145.

วิทวัส ดวงภุมเมศ และวารีรัตน์ แก้วอุไร. (2560). การจัดการเรียนรู้ในยุคไทยแลนด์ 4.0 ด้วยการเรียนรู้อย่างกระตือรือร้น.

วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 11(2), 1–14.

ศักดิ์นรินทร์ นิลรัตน์ศิริกุล. (2563). การพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก: กรณีศึกษาสหวิทยาเขตสตึก

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 32. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร

และพัฒนาการศึกษา. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สาลิตา เรียนทัพ. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิพลการบริหารงาน

วิชาการของสถานศึกษาตามการรับรู้ของครู ในอำเภอสรรคบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปะถมศึกษาชัยนาท

เขต 1. การค้นคว้าอิสระ การศึกษาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัย

ราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

สาวิตรี มาตขาว, สวัสดิ์ โพธิวัฒน์ และละม้าย กิตติพร (2560). ปัจจัยภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อ

ประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22.

วารสารบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 5(19), 87-94

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพัทลุง. (2564). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2564–2565. สืบค้นเมื่อ

กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://seapt.go.th/agencyplan

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). แนวทางการนิเทศเพื่อพัฒนาและส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก

(Active Learning) ตามนโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2566,

จาก http://academic.obec.go.th/images/document/1603180137_d_1.pdf

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สุพิษ ชัยมงคล. (2556). กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูผู้สอนระดับประถมศึกษาในพื้นที่สูง.

วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา. เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

สุภัทรา ภูษิตรัตนาวลี. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสำหรับคณาจารย์วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้. ดุษฎีนิพนธ์

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุรชัย เทียนขาว. (2565). บทบาทภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน. วารสารสิรินธรปริทรรศน์, 23(1), 304–315.

อรรถพล เทินสะเกษ. (2563). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสอนของครู

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร

การศึกษา. ร้อยเอ็ด: มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด.

อารมณ์ นาก้อนทอง. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิภาพการสอน

ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. ร้อยเอ็ด: มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด.

Bonwell, C. C. and Eison, J. A. (1991). Active Learning: Creating excitement in the classroom. ASHE-ERIC Higher

Education. Washington, DC: The George Washington University

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). New York: Harper Collins.

Hallinger, P. and Murphy, J. (1985). Assessing the Instructional Management Behavior of Principals.

Elementary School Journal - ELEM SCH J, 86(2), 217–274.

Krug, R. E. (1992). Leadership and performance beyond expectations. New York: Free Press.

McEwan, E. K. (1998). Seven steps to effective instructional leadership. Alabama: Macmillan.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30