การพัฒนาศักยภาพของคนในท้องถิ่นเพื่อการจัดการการท่องเที่ยวและสื่อสาร เพื่อสร้างอัตลักษณ์ชุมชนอย่างยั่งยืนของกลุ่มชาติพันธุ์ไท-ยวน จังหวัดสระบุรี

ผู้แต่ง

  • พรรณนิภา เดชพล คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
  • ณัฏฐชา หน่อทอง คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
  • กานต์ เชื้อวงศ์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี

คำสำคัญ:

การจัดการการสื่อสาร, การท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน, อัตลักษณ์กลุ่มชาติพันธุ์ไท-ยวน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประวัติชุมชน ประเพณีวัฒนธรรมพื้นบ้าน โบราณสถาน โบราณวัตถุ ที่เป็นศักยภาพของการท่องเที่ยวชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ไท-ยวน 2) เพื่อพัฒนาศักยภาพของคนในท้องถิ่นเพื่อการจัดการการท่องเที่ยวและสื่อสารเพื่อสร้างอัตลักษณ์ชุมชนอย่างยั่งยืน ของกลุ่มชาติพันธุ์ไท-ยวน และ 3) เพื่อได้แนวทางการสร้างอัตลักษณ์
และรูปแบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืนของกลุ่มชาติพันธุ์ไท-ยวน เป็นการวิจัย
เชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสังเคราะห์เอกสาร การจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นจำนวน 40 คน การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่มจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 40 คน ประกอบด้วย ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำชุมชน และตัวแทนหน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการท่องเที่ยว ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มชาติพันธุ์ไท-ยวน มีประวัติ ประเพณีที่เป็นศักยภาพของ
การท่องเที่ยวตามคุณค่าความสำคัญทางวัฒนธรรม ได้แก่ คุณค่าทางสุนทรียศาสตร์ คุณค่าทางประวัติศาสตร์ คุณค่าทางสังคมและคุณค่าทางสิ่งแวดล้อม สำหรับการพัฒนาศักยภาพคน พบผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น คือ เกิดกระบวนการเรียนรู้ เกิดความภาคภูมิใจในอัตลักษณ์ความเป็นไท-ยวน มีความรู้ มีความพร้อมในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวชุมชน ได้แนวทางการสร้าง
อัตลักษณ์ เข้าใจวิธีการ รูปแบบ ความสำคัญของการสื่อสารในการสร้างอัตลักษณ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชนอย่างยั่งยืน โดยมี 4 ชุมชนที่มีความพร้อมในการสร้างอัตลักษณ์และรูปแบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืนกลุ่มชาติพันธุ์ไท-ยวน จังหวัดสระบุรี ได้แก่ 1) ชุมชนพระยาทด ตำบลพระยาทด อำเภอเสาไห้ 2) ชุมชนวัด
สมุหประดิษฐาราม ตำบลสวนดอก อำเภอเสาไห้ 3) ชุมชนเขาแก้ววรวิหาร ตำบลต้นตาล อำเภอเสาไห้ และ 4) ชุมชนหนองโนใต้
ตำบลหนองโน อำเภอเมือง

References

คมกฤช บุญเขียว. (2558). กระบวนการส่งเสริมวัฒนธรรมท้องถิ่น เพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชนไท-ยวนอําเภอเสาไห้

จังหวัดสระบุรี. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมวัฒนธรรม.

ดวงกมล เวชวงค์. (2554). กระบวนการนําเสนออัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ยวนในบริบทของการท่องเที่ยวผ่านหอวัฒนธรรมพื้นบ้าน

และตลาดท่าน้ำ: ศึกษากรณีชุมชนไท-ยวน ตําบลต้นตาล อําเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี. วารสารวิทยบริการ

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 22(3), 130-149.

เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2553). ภาวะผู้นำและผู้นำทางกลยุทธ์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: เซ็นทรัล เอ็กเพรส.

ปรีดา นคเร, ลดาวัลย์ แก้วสีนวล และเพียงพิศ ศรีประเสริฐ. (2566). กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อการท่องเที่ยวโดยชุมชน:กรณีศึกษา

บ้านนาแงะ ตำบลนาเหรง อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารนาคบุตรปริทรรศ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ

นครศรีธรรมราช, 15(1), 1-12.

ปัทมาวดี วงษ์เกิด. (2564). การสื่อสารเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ช้างสุรินทร์. ดุษฎีนิพนธ์

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

พจนา สวนศรี. (2546). คู่มือการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน. กรุงเทพฯ: โครงการท่องเที่ยวเพื่อชีวิตและธรรมชาติ.

พรรณนิภา เดชพล. (2560). การอนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ไทยวน กรณีศึกษา: ประเพณีตักบาตรข้าวหลามจี่

เดือนยี่ที่หนองโน ตำบลหนองโน จังหวัดสระบุรี. ลพบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

พรรณนิภา เดชพล. (2558). การจัดการการสื่อสารเพื่อพัฒนาเครือข่ายการท่องเที่ยวในชุมชนจังหวัดลพบุรีและสิงห์บุรี. ลพบุรี:

มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

พิมพ์ระวี โรจน์รุ่งสัตย์. (2553). การท่องเที่ยวชุมชน. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์.

ภัทร์ศินี แสนสำแดง. (2563). การสื่อสารในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงความร่วมมือเพื่อความยั่งยืน. ดุษฎีนิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต

สาขาวิชาการสื่อสารวิทยา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

รสิกา อังกูร, วิทยาธร ท่อแก้ว และสุภาภรณ์ ศรีดี. (2562). การสื่อสารภูมิปัญญาด้วยการท่องเที่ยวโดยชุมชนโดยชุมชน

ท่องเที่ยวไทรน้อย. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม, 9(1), 129-154.

สยามล ชัยรัตนอุดมกุล. (2548). การพัฒนาศักยภาพคนในท้องถิ่นในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวตามลำน้ำ ป่าสัก

ของอําเภอเสาไห้อย่างเป็นระบบและยั่งยืน. กรุงเทพฯ: สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

Chuck, w. (2007). Management (4th ed.). Canada: Thomson South-Western.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30