การพัฒนาช่องทางการตลาดออนไลน์ของผลิตภัณฑ์น้ำมันหอมระเหยขมิ้นวิสาหกิจชุมชนวิชาชีพเกษตรอินทรีย์ไร่ทหารสานประชา ตำบลนิคมสร้างตนเอง อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี

ผู้แต่ง

  • สุกัญญา พยุงสิน มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
  • จิราวรรณ สมหวัง คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี

คำสำคัญ:

ช่องทางการตลาดออนไลน์, วิสาหกิจชุมชน, เกษตรอินทรีย์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและประเมินศักยภาพของวิสาหกิจชุมชนวิชาชีพเกษตรอินทรีย์ไร่ทหาร
สานประชา ตำบลนิคมสร้างตนเอง อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี และ 2) พัฒนาช่องทางการตลาดออนไลน์ของผลิตภัณฑ์น้ำมันหอมระเหยขมิ้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง กลุ่มเป้าหมาย คือ สมาชิก จำนวน 20 คน รวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึก ดำเนินการวิจัยตั้งแต่ เดือนมกราคม-ตุลาคม 2565 พบว่า

              1) การประเมินศักยภาพของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ด้านการบริหารจัดการ มีการแบ่งแยกหน้าที่ความรับผิดชอบ
อย่างชัดเจน สมาชิกมีโอกาสในการแสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ด้านการผลิต วัตถุดิบใช้การเพาะปลูก
แบบเกษตรอินทรีย์ ทำให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน ด้านการตลาด มีเครือข่ายที่ให้การสนับสนุน ผลิตภัณฑ์มีความ
หลากหลาย และด้านการเงิน มีเงินทุนหมุนเวียนจากการระดมเงินทุนของสมาชิกกลุ่ม 2) การพัฒนาช่องทางการตลาดออนไลน์
พบว่า ช่องทางการจัดจำหน่ายผ่านทางร้านค้าปลีกตามสถานที่ท่องเที่ยว การออกร้านจำหน่ายที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ
และเพจของฝากประจำจังหวัดลพบุรี ซึ่งการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยังไม่ถึงกลุ่มผู้บริโภคเท่าที่ควร การจัดจำหน่ายผ่านทาง
ช่องทางการตลาดแบบออนไลน์ ยังไม่มีความสม่ำเสมอเนื่องจากกลุ่มสมาชิกยังขาดพื้นฐานความรู้ด้านการทำการตลาดออนไลน์ ทำได้เพียงแอพพลิเคชั่นไลน์ในการขายสินค้าซึ่งเป็นเพียงการขายเฉพาะกลุ่มที่รู้จัก สมาชิกเข้ารับการอบรม
การพัฒนาช่องทางการตลาดออนไลน์ผ่านสื่อ เพจ Facebook โดยให้สมาชิกที่ทำหน้าที่ด้านการตลาดเป็นผู้รับผิดชอบ โดยได้ทำการโพสต์เนื้อหาอย่างต่อเนื่องสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ การอบรม และการส่งเสริมการขายตามเทศกาล ทำให้มียอดขายเพิ่มขึ้น 30%

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. (10 มกราคม 2561). เกษตรเดินหน้าส่งเสริมปลูกพืชสมุนไพรอินทรีย์ ในไร่ทหารสามประชา

จังหวัดลพบุรี. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2561, จาก https://www.facebook.com/pr.doae/posts/

/

กศิพัฏญ์ ทองแกม และโฆสิต แพงสร้อย. (2562). ปัญหาและแนวทางส่งเสริมการขายสินค้าโอทอปบนตลาดออนไลน์

เชิงพุทธในจังหวังอุดรธานี. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(9), 4627-4643.

กุลริศา คำสิงห์. (2563). การพัฒนารูปแบบส่วนประสมทางการตลาดของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกพืชสมุนไพร ตำบลหนองคู

อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม. Journal of Modern Learning Development, 5(2), 130-143.

คณะกรรมการนโยบายสมุนไพรแห่งชาติ. (2566). แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570. นนทบุรี:

กองสมุนไพรเพื่อเศรษฐกิจ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข.

ณฐาพันชร์ วรพงศ์พัชร์, รุ่งทิวา ชูทอง, ศิริวัฒน์ เปลี่ยนบางยาง และเอกศิริ นิยมศิลปะ. (2563). แนวทางพัฒนาการตลาด

ดิจิทัลสำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านโฉนด ชุมชนคลองโยง-ลานตากฟ้า จังหวัดนครปฐม. วารสารบริหารนิติบุคคล

และนวัตกรรมท้องถิ่น, 6(2), 115-127.

ณัฐพันธุ์ เจนสกุล. (2560). ปัจจัยความสำเร็จของการใช้สื่อ Facebook Fanpage Wongnai ที่มีผลต่อความสนใจใช้บริการ

ร้านอาหาร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ประสิทธิ์ รัตนพันธ์, มณีรัตน์ รัตนพันธ์ และจารินี แซ่ว่อง. (2561). การพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายและการสร้างมูลค่าเพิ่ม

ให้กับผลิตภัณฑ์ชุมชนประเภทอาหารในจังหวัดสงขลา. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน (มนุษยศาสตร์และ

สังคมศาสตร์), 11(4), 42-51.

ผู้จัดการสุดสัปดาห์. (2566). ส่องตลาดสมุนไพรไทย 5 หมื่นล้าน เติบโตต่อเนื่อง รุกคืบตลาดโลก แต่ถูกเมินในระบบประกัน

สุขภาพ. สืบค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2566, จาก https://mgronline.com/daily/detail/9660000041338

โพสต์ทูเดย์. (2566). เทรนด์การตลาดดิจิทัลผ่าน Facebook-IG มาแรง มูลค่าพุ่งกว่า 8.7 พันล้าน.

สืบค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2566, จาก https://www.posttoday.com/business/696627

วีระนันท์ คำนึงวุฒิ และอัญชนา กลิ่นเทียน. (2562). การพัฒนารูแปบบสื่อประชาสัมพันธ์และการตลาดออนไลน์สำหรับสินค้า

OTOP ในประเทศไทย กรณีศึกษา OTOP จังหวัดนครนายก. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 7(2), 32-45.

วัลย์ลดา พรมเวียง. (2561). การสร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชนของหมู่บ้านสารสนเทศต้นแบบบ้านคลองทราย

ใน ICT 418 KL YALA. ยะลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

ศุภมาส รัตนพิพัฒน์, อัปสร อีซอ, ปวีณา เจะอารง และรอมซี แตมาสา. (2563). การพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์

โอทอป จังหวัดนราธวาส ตามโครงการพระบรมราโชบายเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. ยะลา:

มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

ศรีสุนันท์ ประเสริฐสังข์, วรรณาษา วังแสนแก้ว และดวงเดือน เภตรา. (2565). การเพิ่มศักยภาพสมุนไพรชุมชนสู่การเป็นธุรกิจ

ที่ได้มาตรฐานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 10(2), 17-32.

ศศิธร วชิรปัญญาพงศ์. (2561). กลยุทธ์การพัฒนาศักยภาพธุรกิจชุมชน ด้านธุรกิจสมุนไพรแปรรูป ในเขตจังหวัดลพบุรี

เพื่อรองรับข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์

ในพระบรมราชูปถัมภ์, 12(1), 191-203.

Ebrahimi, M. R. and Tootoonkavan, S. (2014). Investigating the effect of perceived Service quality,

perceived value, brand image, trust customer satisfaction on repurchase intention and

recommendation to other case study: LG company. European Journal of Business and

Management, 6(34), 181-186.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30