การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การสร้างรูปเรขาคณิต โดยใช้โครงงานเป็นฐานบูรณาการ กับแหล่งการเรียนรู้ท้องถิ่นในชุมชน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ผู้แต่ง

  • วิภา ชัยสวัสดิ์ Program in Mathematics, Faculty of Education, Roi-et Rajabhat University
  • ภานุพงษ์ นิติคุณ Airports of Thailand Border Patrol Police School, Mukdahan Provice
  • รัชนียา ถิรเดโชชัย -
  • กนกวรรณ แก่นนาคำ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • วิชิต ถิรเดโชชัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน, แหล่งการเรียนรู้ท้องถิ่นในชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานโดยการบูรณาการโครงงาน
กับแหล่งการเรียนรู้ท้องถิ่นในชุมชนบ้านหนองดู่ ตำบลธงธานี อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด เรื่อง การสร้างรูปเรขาคณิต
ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ระหว่างก่อนและหลัง
การจัดการเรียนรู้ เรื่อง การสร้างรูปเรขาคณิต โดยใช้โครงงานเป็นฐานบูรณาการกับแหล่งการเรียนรู้ท้องถิ่นในชุมชน สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนธงธานี อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนธงธานี อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 32 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานโดยการบูรณาการโครงงานกับแหล่งการเรียนรู้ท้องถิ่น เรื่อง การสร้างรูปเรขาคณิต จำนวน 5 ชั่วโมง
2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานบูรณาการกับแหล่งการเรียนรู้ท้องถิ่นในชุมชน เรื่อง การสร้างรูปเรขาคณิต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่าความยากง่าย (p) ตั้งแต่ 0.20–0.80  มีค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ 0.20–0.47 และค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบเท่ากับ 0.97 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ Wilcoxon signed–rank test

            ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน โดยการบูรณาการโครงงานกับแหล่งการเรียนรู้ท้องถิ่นในชุมชน เรื่อง การสร้างรูปเรขาคณิต มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.24/75.42 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การสร้างรูปเรขาคณิต ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานบูรณาการกับแหล่งการเรียนรู้ท้องถิ่นในชุมชนหลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05

References

กัญภร เอี่ยมพญา. (2561). การพัฒนาวิชาชีพครู. นนทบุรี: 21 เซนจูรี่.

จุไรรัตน์ ปึ้งผลพูล. (2556). การพัฒนาผลการเรียนรู้และทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น

ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่จัดการเรียนรู้แบบโครงงาน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปกร, 6(1), 353-354.

ถีระจิต บุญเจริญ. (2562). ผลการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์

สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา. กรุงเทพฯ:

มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ทิศนา แขมมณี. (2556). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 17).

กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนฤทัย ดอนมอญ. (2558). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน เรื่อง จำนวนและตัวเลขที่ส่งผลต่อ

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา. อุบลราชธานี:

มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

นภสร ยลสุริยัน, (2563). ผลการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานร่วมกับแนวคิดแบบ STEM EDUCATION เพื่อส่งเสริม

ความเป็นนวัตกรและผลงานสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นิภาพร ช่วยธานี และธเนศ สินธุ์ประจิม. (2563). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่น

เพื่อส่งเสริมทักษะการทำงานร่วมกัน สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี. ตรัง: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.

นูริน ดือเร๊ะ. (2564). การจัดการเรียนรู้ โดยใช้โครงงานเป็นฐานกับพัฒนาการการเรียนรู้ ในรายวิชาตัวแบบสถิติ. วารสาร

ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 44(1), 65-76.

น้ำทิพย์ วิมูลชาติ และมาเรียม นิลพันธุ์. (2559). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่น

เพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำโครงงานคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารวิชาการ

มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 9(2), 787-800.

พุทธพร ไสว. (2562). การเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน.

วารสาร การจัดการความรู้ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 3(1), 33-50.

พงศ์สวัสดิ์ ราชจันทร์. (2563). ชุมชนท้องถิ่นรัฐ: ความสัมพันธ์ที่มีต่อการปกครองท้องถิ่น. วารสารสังคมศาสตร์

และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(8), 16-35.

มาเรียม นิลพันธุ์. (2553). วิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ยามีละห์ โต๊ะแม. (2561). การจัดการเรียนรู้รายวิชาการบูรณาการศาสตร์อิสลามกับศาสตร์ทั่วไปโดยใช้โครงงานเป็นฐาน

สำหรับนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนอิสลามศึกษา. ยะลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

โรงเรียนธงธานี. (2563.) แผนพัฒนาการจัดการศึกษา ระยะ 4 ปี (2563-2566). ร้อยเอ็ด: ฝ่ายวิชาการ โรงเรียนธงธานี.

ลุฏฟี ดอเลาะ. (2560). ผลของการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยา ทักษะกระบวนการ

ทางวิทยาศาสตร์และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

วัชราภรณ์ ประภาสะโนบล และมาเรียม นิลพันธุ์. (2564). การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานตามแนวทฤษฎีการสร้าง

ความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน. วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ,

(2), 19-20.

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2562). การโค้ชเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียน. กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.

วิจารณ์ พานิช. (2558). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21. วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์,

(2), 3-14.

ศรัญญา มณีไตรรัตน์เลิศ. (2553). การพัฒนาผลการเรียนรู้เรื่องโจทย์ปัญหาการบวกและการลบของนักเรียนชั้นประถมศึกษา

ปีที่ 1 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ.

กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สวนีย์ ศรเกษตริน. (2565). การพัฒนาครูในการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานเป็นฐาน โรงเรียนเทศบาลตำบลเกาะพะงัน

จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(6), 89-102.

สมชาย ศรีวิรัตน์. (2556). การพัฒนาชุมชนท้องถิ่น: แนวคิด หลักการพัฒนาและการดำเนินงานพัฒนาชุมชน. สืบค้นเมื่อวันที่

ธันวาคม 2564, จาก https://www.gotoknow.org/user/somchai_siwirat/profile

อุไรรัตน์ เจนดง และนฤมล ภูสิงห์. (2565). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

หน่วยการเรียนรู้ ปรากฏการณ์ของโลกและเทคโนโลยีอวกาศและการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6.

วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 16(2), 165-180.

Bloom, B. S. (1976). Human Characteristics and School Learning. New York: McGraw-Hill Book Company,

Dewey, J. (1897). My Pedagogic Creed. In D. Efstratia, Percedia-Social and Behavioral Sciences, 152(2014),

-1260.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30