ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมของครู ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1

ผู้แต่ง

  • นันทิวา ราชภักดี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • ยุวธิดา ชาปัญญา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์, การทำงานเป็นทีมของครู, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์เขต 1

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์เขต 1 2) ศึกษาการทำงานเป็นทีมของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษากาฬสินธุ์เขต 1 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์กับการทำงานเป็นทีมของครูในสังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์เขต 1 และ 4) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา
ที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมของครู ปีการศึกษา 2564 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 322 คน จำแนกเป็นผู้บริหารสถานศึกษา 27 คน
และครู 295 คน โดยได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า
5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรง เท่ากับ 0.989 มีค่าความเชื่อมั่นทั้ง 2 ตัวแปร คือ  0.986 และ 0.970 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูล
โดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอย
พหุคูณแบบขั้นตอนผลการวิจัย พบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) การทำงาน
เป็นทีมของครู โดยรวมอยู่ในระดับมาก 3) ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษากับการทำงานเป็นทีมของครู
มีความสัมพันธ์กันทางบวกอยู่ในระดับสูง (rxy = .746) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา ทั้ง 5 ด้าน คือ ด้านความคิดสร้างสรรค์ (X4) ด้านการมีวิสัยทัศน์ (X6) ด้านความสามารถทางสติปัญญา (X1) ด้านความยืดหยุ่น (X5) และด้านทัศนคติและบุคลิกภาพที่ดี (X3) ร่วมกันพยากรณ์ความแปรปรวนของการทำงานเป็นทีมของครู ได้ร้อยละ 74.60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เขียนเป็นสมการณ์พยากรณ์ในรูปแบบคะแนนดิบและในรูปแบบคะแนนมาตรฐานได้ดังนี้

              Y/ = .563 + .200X4 + 0.199X6 + .142X1 + .179X5 + .147X3

            Z/y = .228ZX4 + .215ZX6 + .161ZX1 + .191ZX5 + .164ZX3

References

กิตติ์กาญจน์ ปฏิพันธ์. (2555). โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษา. ดุษฎีนิพนธ์

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เกศณี กฐินเทศ. (2562). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

สุรินทร์ เขต 2. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏ

บุรีรัมย์.

เกศสรินทร์ ตรีเดช. (2552). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงาน

เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.

ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

กรวิภา งามวุฒิวงศ์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมภายในสำนักอำนวยการสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

วิทยานิพนธ์ รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย

ธรรมศาสตร์.

กรองทิพย์ นาควิเชตร. (2552). ภาวะผู้นำสร้างสรรค์เพื่อการศึกษา. สมุทรปราการ: ธีรสาส์น พับลิชเชอร์.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2553). การคิดเชิงสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: ซัคเซสมีเดีย.

ทองทิพภา วิริยะพันธุ์. (2553). การบริหารทีมงานและการแก้ไขปัญหา (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.

ทิศนา แขมมณี. (2550). การสอนจิตวิทยาการเรียนรู้ เรื่องศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้

ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2556). การจัดการสมัยใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาส์น.

ปิ่นทอง ศรีสวัสดิ์. (2560). การทำงานเป็นทีมของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17.

วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2554). CCPR กรอบคิดใหม่ทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และนักรบ หมี้แสน. (2561). ความเป็นผู้นำทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วราภรณ์ ตระกูลสฤษดิ์. (2550). การทำงานเป็นทีม. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2557). ภาวะผู้นำ: ทฤษฎีและนานาทัศนะร่วมสมัยปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: ทิพย์วิสุทธิ์.

วันเพ็ญ แก้วปาน. (2561). ภาวะผู้นำ: หลักการและการประยุกต์ในการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

ศรีศักดิ์ ศูนย์โศรก. (2550). การศึกษาพฤติกรรมการสร้างทีมงานของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว

เขต 2. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุพานี สฤษฏ์วานิช. (2552). พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่: แนวคิดและทฤษฎี (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย

ธรรมศาสตร์.

สุภาพ ฤทธิ์บำรุง. (2556). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความมีประสิทธิผลของโรงเรียน

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหาร

การศึกษา. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุเมธ งามกนก. (2550). การสร้างทีมงาน. วารสารศึกษาศาสตร์, 19(1), 31-44.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1. (2564). รายงานผลการดำเนินงานประจำปี พ.ศ. 2564. สืบค้นเมื่อ

ธันวาคม 2564, จาก https://www.ksn1.go.th/web2020/?p=15947

Bennis, W. (2002). Creative Leadership. Bangkok: Chulalongkorn University.

Danner, S. E. (2008). Creative leadership in art education: Perspectives of an art educator. Thesis Master of

Arts, Art Education. Fine Art: Ohio University.

Delich. (2010). The Impact of Mercosur's Sanitary and Phytosanitary Regime on its Members' Institutional

Dynamics. Journal of CMA Management, 79(2), 3-3.

Dubrin, A. J. (2006). Leadership. (2nd ed.). Asia Pacific Edition. Boston: Houghton Mufflin Company.

Harding, T. (2010). Fostering Creativity for Leadership and Leading Change. Journal of Arts Education Policy

Review, 111(2), 51-53.

Harris, A. (2009). Creative leadership. Journal of Management in Education, 23(1), 9-11.

Parker, G. M. (1990). Team players and team work: The new competitive business strategy. San Francisco:

Jossey-Bass.

Parker, J.O. and Begnaud, L.G. (2004). Statistics: An introductory analysis (3rd ed.). New York: Harper & Row.

Puccio, G. J., Murdock, M. C., and Mance, M. (2007). Creative Leadership: Skills that Drive Change. California: Sage.

Robbins, S.P. (2001). Eessentails of Organization Behavior (8rd ed.). Englewood Chiffs: Prentice - Hall.

Robinson, K. (2007). The Principles of Creative Leadership. New York: McGraw-Hill.

Romig, D. (1996). Breakthrough Teamwork: Out Standing Result Using Structured Teamwork. Chicago: Irwin.

Sheard, A. G. and Kakabadse, A. P. (2004). A process perspective on leadership and team. Journal of

Management Development, 23(1), 7-106.

Stemberg, R. J. (2006). Creative Leadership: It's a Decision. Journal of Leadership, 36(2), 22-24.

Stoll, L. and Temperley, J. (2009). Creative leadership: a challenge of our times. London: University of

London.

Ubben, G. C., Hughes, L. W. and Norris, C.J. (2011). The Principal: Creative Leadership for Effective Schools.

Boston: Allyn & Bacon.

Woodcock, M. (1989). Team development manual. Worcester: Billing and Sons.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30