ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการแอปพลิเคชัน 7- ELEVEN ของผู้บริโภคในจังหวัดอุดรธานี
คำสำคัญ:
การยอมรับเทคโนโลยี, การรับรู้ความเสี่ยง, แอปพลิเคชันบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยการยอมรับการใช้เทคโนโลยีและการรับรู้ความเสี่ยงต่อการใช้บริการแอปพลิเคชัน 2) ศึกษาปัจจัยด้านการตัดสินใจใช้บริการแอปพลิเคชัน 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยการยอมรับการใช้เทคโนโลยี การรับรู้ความเสี่ยงต่อการตัดสินใจใช้บริการแอปพลิเคชัน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ
เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 390 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทำการทดสอบสมมติฐาน ด้วยการวิเคราะห์แบบถดถอยเชิงพหุคูณ ผลวิจัย พบว่า
1) ปัจจัยด้านการยอมรับเทคโนโลยีมีผลต่อการตัดสินใจใช้แอปพลิเคชัน 7-Eleven Delivery ซึ่งเมื่อพิจารณา
เป็นรายด้าน พบว่า ด้านการรับรู้ถึงประโยชน์ในการใช้งาน ด้านการรับรู้ถึงความง่ายในการใช้งาน ด้านทัศนคติที่มีต่อการใช้งาน ด้านการใช้งานจริง มีผลต่อการตัดสินใจใช้แอปพลิเคชัน 7-Eleven Delivery ซึ่งอิทธิพลด้านการรับรู้ถึงความง่ายในการใช้งานมีผลสูงที่สุด รองลงมาคือ ด้านการใช้งานจริง ด้านการรับรู้ถึงประโยชน์ในการใช้งาน และด้านทัศนคติที่มีต่อการใช้งาน
2) ปัจจัยด้านการรับรู้ถึงความเสี่ยงมีผลต่อการตัดสินใจใช้แอปพลิเคชัน 7-Eleven Delivery ซึ่งเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การรับรู้ความเสี่ยงด้านการเงินมีผลต่อการตัดสินใจใช้แอปพลิเคชัน 7-Eleven Delivery ส่วนด้านความเสี่ยงด้านประสิทธิภาพการใช้งาน ความเสี่ยงด้านความเป็นส่วนตัว และความเสี่ยงด้านระยะเวลา ไม่มีผลต่อการตัดสินใจใช้แอปพลิเคชัน 7-Eleven Delivery
References
ธนวรรณ สำนวนกลาง. (2559). การยอมรับเทคโนโลยีการทำธุรกรรมทางการเงิน รูปแบบ M-Banking. วิทยานิพนธ์
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารเทคโนโลยี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS (พิมพ์ครั้งที่ 15): นนทบุรี:
เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.
ละเอียด ศิลาน้อย. (2560). การใช้สูตรทางสถิติ (ที่ถูกต้อง) ในการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างเพื่อการวิจัยเชิงปริมาณในทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์, 12(2), 50-61.
ศิริภาภรณ์ บุญมา. (2562). การใช้ประโยชน์และการรับรู้ความเสี่ยงที่ส่งผลต่อความพึงพอใจ ความเชื่อถือไว้วางใจ และความภักดีต่อ K-Mobile Banking Plus ของผู้ใช้งานในกรุงเทพฯ. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
สชา ทับละม่อม. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้การจัดส่งแบบบริการส่งถึงที่ของร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพและปริมณฑล. สารนิพนธ์ การจัดการมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.
สุภาภรณ์ สุวรรณรัตน์. (2562). ปัจจัยการรับรู้ความเสี่ยงต่อการใช้บริการธนาคารผ่านแอพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือของผู้ใช้บริการ ธนาคารกรุงเทพในเขตกรุงเทพฯ. การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 14, 1778- 1788.
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2564). ผลสำรวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยปี 2564.
สืบค้นเมื่อ 11 ธันวาคม 2564, จาก https://www.etda.or.th/th/pr-news/ETDA-Reveals-the-Value-of-e-Commerce-in-2021.aspx
Ariffin, S. K., Mohan, T. and Goh, Y-N. (2018). Influence of consumers’ perceived risk on consumers’ online purchase intention. Journal of Research in Interactive Marketing, 12(3), 309-327.
Brandbuffet. (2564). เปิดท็อป 5 สินค้าอุปโภคบริโภคที่ติดเทรนด์ทวิตเตอร์ช่วงโควิด-19 ผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป
มาแรงในบทสนทนาชาวทวิตภพไตรมาสแรกปี 2021. Retrieved December, 11, 2021,
Form https://www.brandbuffet.in.th/2021/08/top-5-customer-goods-of-twitter-trends/.
Clow, K. and Baack, D. (2010). Integrated advertising, promotion, and marketing communications (4th ed.).
New Jersey: Pearson.
Cochran, W. G. (1997). Sampling techniques (3rd ed.). New York: John Wiley & sons.
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J. and Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis (7th ed.).
New Jersey: Pearson Education.
Ko, H., Jung, J., Kim, J. and Shim, S. W. (2004). Cross-Cultural Differences in Perceived Risk of Online Shopping.
Journal of Interactive Advertising, 4(2), 20-29.
Marketeeronline.com. (2564). หลังโควิด-19 ธุรกิจ Food Delivery ขยายตัวบนการแข่งขันที่ยิ่งรุนแรง. Retrieved December, 11, 2021, Form https://marketeeronline.co/archives/180441
Positioningmag.com. (2020). เปิดศึก “สะดวกซื้อ บริการส่งถึงที่” สงครามหาน่านน้ำใหม่ยุค New Normal บุกหาลูกค้า
ถึงบ้าน. Retrieved December, 11, 2021, Form https://positioningmag.com/1283460
Rovinelli, R. J. and Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2, 49-60.
We are CP. (2563). 7-Delivery สะดวกซื้อยามวิกฤต. Retrieved December, 11, 2021,
Form https://www.wearecp.com/cpall63-2603-2020/
Youn, S. (2009). Determinants of online privacy concern and its influence on privacy protection behaviors among young adolescents. Journal of Consumer Affairs, 43(3), 389–418.
Zhang L., Tan, Xu, Y. and Tan, G. (2012). Dimensions of consumers’ perceived risk and their influences on online consumers’ purchasing behavior. Communications in Information Science and Management Engineering (CISME), 2(7), 8-14.
Zikmund, W.G., Babin, B.J., Carr, J.C. and Griffin, M. (2010). Business Research Methods. Cengage Learning,
Mason.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว