การประเมินสถานภาพองค์ความรู้ด้านนโยบายสาธารณะช่วงปี พ.ศ. 2550 - 2564
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสถานภาพองค์ความรู้ด้านนโยบายสาธารณะ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพในรูปแบบการศึกษาเอกสาร ได้แก่ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก และวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทที่มีประเด็นเนื้อหางานวิจัยเกี่ยวข้องกับนโยบายสาธารณะในช่วงปี พ.ศ. 2550 - พ.ศ. 2564 จากฐานข้อมูล ThaiLIS (Thai Library Integrated System) และใช้คำสำคัญในการสืบค้น ได้แก่ การกำหนดนโยบาย การนำนโยบายไปปฏิบัติ การประเมินผลนโยบาย การวิเคราะห์นโยบาย การจัดทำนโยบาย ข้อเสนอเชิงนโยบาย ปัญหานโยบาย นโยบายสาธารณะ พบว่ามีงานวิจัยที่เป็นองค์ความรู้ด้านนโยบายสาธารณะจำนวน 209 เรื่อง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาแบบวิธีการจัดหมวดหมู่ข้อมูล จากนั้นใช้วิธีแจงนับข้อมูลและคำนวณร้อยละ
ผลการประเมินสถานภาพองค์ความรู้ด้านนโยบายสาธารณะในภาพรวม พบว่า เป็นงานวิจัยในระดับปริญญาโท ร้อยละ 83.25 เมื่อพิจารณาแนวคิดทฤษฎีที่ผู้วิจัยใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการวิจัย พบว่า ร้อยละ 98.56 ผู้วิจัยสร้างงานวิจัยโดยใช้ทฤษฎี แนวคิดหรือกรอบแนวคิดตามแนวทางที่เคยมีการทำกันแล้ว ส่วนใหญ่ร้อยละ 44.98 ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพเป็นแนวทางในการศึกษาค้นคว้า สำหรับประเด็นคำถามหลักในการวิจัยพบว่า ร้อยละ 48.33 ผู้วิจัยผลิตงานวิจัยโดยมุ่งตั้งคำถามหลักในการวิจัยเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผลนโยบายเป็นหลัก สำหรับสถานการณ์การทำวิจัยด้านนโยบายสาธารณะ พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 84.21 ดำเนินการวิจัยภายใต้แนวทางการวิเคราะห์นโยบาย (Policy Analysis) ร้อยละ10.05 ดำเนินการวิจัยภายใต้แนวทางนโยบายศึกษา (Policy Studies) และร้อยละ 5.74 ดำเนินการวิจัยภายใต้แนวทางนโยบายศาสตร์ (Policy Science) ด้านการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ พบว่า ร้อยละ 53.26 มุ่งเน้นการนำผลการวิจัยไปพัฒนาพัฒนาหน่วยงาน รองลงมาร้อยละ 27.20 มุ่งเน้นการนำผลการวิจัยไปพัฒนานโยบาย และร้อยละ 12.74 มุ่งเน้นการนำผลการวิจัยไปพัฒนาประชาชน
Article Details
References
เกษียร เตชะพีระ และคณะ. (2558). เปิดกล่องนโยบายสาธารณะ : หลาก มุมมองในการศึกษานโยบายสาธารณะร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: คณะ รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
โชคชัย สุทธาเวศ. (2554). หลักการและเทคนิคการประเมินสถานภาพองค์ ความรู้. นครปฐม: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ. (2557). นโยบายสาธารณะ. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.
วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2551). หลักรัฐประศาสนศาสตร์: แนวคิดและ กระบวนการ. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.
ศุภชัย ยาวะประภาษ. (2552). นโยบายสาธารณะ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สัญญา เคณาภูมิ. (2559). กรอบแนวคิดการศึกษานโยบานสาธารณะ. วิชาการ และวิจัย สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์, 11(33), 1-16.
อิงฟ้า สิงห์น้อย และ รัฐชาติ ทัศนัย. (2561). นโยบายสาธารณะ: การบริหาร และการ จัดการภาครัฐ. สันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 6(ฉบับพิเศษ), 610- 623.
Golembiewski, R. T. (1995). Practical Public Management. New York: Marcel Dekker.
Hill, M. (1997). The Policy Process in the Modern State. 3rd ed. Hertfordshire: Prentice Hall Harvester Wheatsheaf.
Hogwood, B. W. & Gunn, L. A. (1984). Policy analysis. New York: Oxford University Press.
Kuhn, T. S. (1970). The Structure of Scientific Revolutions. Chicago: Chicago University Press
Lasswell, H., D. (1971). A Pre-View of Policy Sciences. New York : American Elsevire Pub.Co.
Popper, K. (1959). The Logic of Scientific Discovery. London: Routledge.