https://so03.tci-thaijo.org/index.php/papojournal/issue/feed วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง 2023-12-27T14:49:22+07:00 - [email protected] Open Journal Systems <p><em>วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง</em> มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ผลงานวิชาการด้านรัฐประศาสนศาสตร์และการเมืองตลอดจนสาขาทางสังคมศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผลงานวิชาการได้รับการเผยแพร่ในวงกว้างและเป็นที่ยอมรับในวงวิชาการ โดย <em>วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง</em> เป็นวารสารทางวิชาการที่มีการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิในลักษณะผู้พิจารณาไม่ทราบชื่อผู้แต่งและผู้แต่งไม่ทราบชื่อผู้พิจารณา (Double-blind peer review)</p> <p><em>วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง</em> เปิดรับพิจารณาบทความวิชาการทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ทั้งในรูปแบบบทความวิจัย (Research Articles) และบทความปริทัศน์ (Review Articles)</p> <p>ทั้งนี้&nbsp;<em>วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง&nbsp;&nbsp;</em>ได้เริ่มตีพิมพ์เผยแพร่ตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2545 และได้เริ่มเผยแพร่ในรูปแบบวารสารอิเล็กทรอนิคส์ตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2561</p> https://so03.tci-thaijo.org/index.php/papojournal/article/view/266994 การศึกษาความคิดเห็นประชาชนที่มีต่อประสิทธิภาพของการประนอม ข้อพิพาทของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดชลบุรี 2023-04-27T14:16:45+07:00 รัชนี แตงอ่อน [email protected] สรินยา นะวงค์ [email protected] <p>งานนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อประสิทธิภาพของการประนอมข้อพิพาทของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดชลบุรี (2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อประสิทธิภาพของการประนอมข้อพิพาทของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดชลบุรี และ(3)เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไขเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดชลบุรี สุ่มตัวอย่างโดยการใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน &nbsp;กำหนดให้สัดส่วนของลักษณะที่สนใจในประชากร เท่ากับ 0.5 ระดับความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ 5% และระดับความเชื่อมั่น 95%&nbsp; ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 181 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การหาค่า t – test และค่า One-way ANOVA ในการทดสอบ</p> <p>&nbsp;ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 31 – 40 ปี ส่วนใหญ่ประกอบธุรกิจส่วนตัว ส่วนใหญ่มีรายได้ต่อเดือนอยู่ระหว่าง มากกว่า 15,000-20,000 บาท และ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีสถานะในคดีเป็นโจทก์/ผู้ร้อง 2. ความคิดเห็นของประชาชนที่มีประสิทธิภาพการประนอมข้อพิพาทของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดชลบุรี&nbsp; พบว่าในภาพรวมมีประสิทธิภาพการประนอมข้อพิพาทของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดชลบุรี&nbsp; อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าประสิทธิภาพด้านการรักษาชื่อเสียงและความลับของคู่พิพาท มีค่าเฉลี่ยสูงสุด&nbsp; รองลงมาคือ ด้านการสร้างความพึงพอใจให้แก่คู่พิพาท ด้านลดปริมาณคดีของศาล ด้านการรักษาสัมพันธภาพระหว่างคู่พิพาท ด้านความรวดเร็ว และด้านความสะดวก ตามลำดับ เนื่องด้วยผู้มารับบริการการประนอมข้อพิพาทเห็นถึงข้อดี และประโยชน์ได้อย่างชัดเจน 3. เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อประสิทธิภาพของการประนอมข้อพิพาทของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดชลบุรี พบว่าในส่วนปัจจัยส่วนบุคคลนั้น อายุที่แตกต่างกัน อาชีพที่แตกต่างกัน รายได้ที่แตกต่างกัน และสถานะในคดีที่แตกต่างกัน มีระดับความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพของการประนอมข้อพิพาทของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดชลบุรี แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4.ความคิดเห็นต่อปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไขเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดชลบุรี พบว่าจากการที่ผู้ตอบแบบสอบถามตอบแบบสอบถามนั้นสามารถแยกเป็นประเด็นต่างๆได้ดังต่อไปนี้&nbsp; (1) ปัจจัยในด้านกฎหมาย หรือข้อบังคับที่ก่อให้เกิดปัญหาอุปสรรคต่อกระบวนการไกล่เกลี่ยในขั้นตอนของการปฏิบัติงาน (2) ปัจจัยในด้านฝ่ายตัวความ ปัจจัยเกี่ยวกับโจทก์/จำเลย ที่เป็นอุปสรรคต่อการบรรลุข้อตกลงในการเจรจาไกล่เกลี่ยประนีประนอมข้อพิพาท (3) ปัจจัยในด้านกระบวนการไกล่เกลี่ย การติดต่อสื่อสารรวมถึงการนัดหมายและการประสานงานต่างๆ และ (4) ปัจจัยในด้านสถานที่ สิ่งแวดล้อมในการไกล่เกลี่ย 5. แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดชลบุรี เรื่องกฎหมายควรแก้ไขให้มีความชัดเจนมากกว่านี้ เพราะถ้ากฎหมายชัดเจนจะทำให้คู่ความกล้าที่จะเข้าร่วมในการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาท ด้านตัวคู่ความ ต้องมีการเผยแพร่ความรู้เพื่อให้คู่ความที่เกี่ยวข้องได้เข้าใจและรู้ถึงขั้นตอนของการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทอย่างแท้จริง ด้านการนัดหมายอาจมีการนำเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทเพิ่มมากขึ้น และด้านสถานที่เห็นควรเพิ่มเก้าอี้ หรือพื้นที่ในการนั่งรอให้มากขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาด้านการบริหารจัดการสถานที่</p> 2023-10-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง https://so03.tci-thaijo.org/index.php/papojournal/article/view/269478 การวิเคราะห์โมเดลเชิงสาเหตุความรุนแรงที่ฝ่ายหญิงกระทำต่อคู่ครอง 2023-06-22T10:21:32+07:00 ไวพจน์ กุลาชัย [email protected] สุมนทิพย์ จิตสว่าง [email protected] <p>การกระทำความรุนแรงต่อคู่ครองเป็นปัญหาที่สำคัญในสังคมที่ส่งผลร้ายแรงต่อบุคคลและชุมชน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจปัจจัยเสี่ยงที่มีอิทธิพลต่อการกระทำความรุนแรงที่ผู้หญิงกระทำต่อคู่ครอง กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้หญิง ในภาคตะวันออกของประเทศไทยจำนวน 403 คนที่ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลซึ่งถูกวิเคราะห์โดยการวิเคราะห์สมการโครงสร้าง (SEM) ผลการวิจัย ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของประสบการณ์ความรุนแรงในครอบครัวในการทำความเข้าใจปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกระทำความรุนแรงต่อคู่ครอง นอกจากนั้น ยังพบว่า ประสบการณ์ความรุนแรงในครอบครัวมีอิทธิพลโดยตรงต่อทัศนคติต่อสังคมแบบปิตาธิปไตยและการยอมรับความรุนแรง ในขณะที่การตกเป็นเหยื่อความรุนแรงและทัศนคติต่อสังคมแบบปิตาธิปไตยไม่มีผลต่อการกระทำความรุนแรงต่อคู่ครอง อย่างไรก็ตาม การวิจัยแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนระหว่างปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหา ประกอบด้วย การแก้ไขและรับมือกับปัญหาตั้งแต่ระยะเริ่มต้น การเฝ้าระวังที่คำนึงถึงความเจ็บปวดทางด้าน จิตใจ ความอ่อนไหวต่อประเด็นด้านวัฒนธรรม และการทำงานร่วมกันของผู้เกี่ยวข้อง</p> 2023-10-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง https://so03.tci-thaijo.org/index.php/papojournal/article/view/270975 ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ กรณีศึกษา นิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา 2023-08-16T14:37:26+07:00 ธีระ กุลสวัสดิ์ [email protected] บุษราคัม ชัชวาลชาญชนกิจ [email protected] ภัสนันท์ พ่วงเถื่อน [email protected] <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา (2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา โดยกลุ่มตัวอย่างคือ นิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตบางแสน จำนวน 400 คน โดยผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่รู้จักการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ คิดเป็นร้อยละ 93.25 เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 69.25 มีอายุต่ำกว่า 25 ปี คิดเป็นร้อยละ 98.00 กำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 1 คิดเป็นร้อยละ 36.50 ใช้เวลาบนโลกไซฌบอร์มากกว่า 8 ชั่วโมง คิดเป็นร้อยละ 48.75 และกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่กำลังศึกษาในกลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คิดเป็นร้อยละ 58.25 รองลงมา คือ กลุ่มวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี คิดเป็นร้อยละ 23.75 และกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ คิดเป็นร้อยละ 18.00 ตามลำดับ</p> <p>พฤติกรรมการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า นิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา มีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์โดยภาพรวม อยู่ในระดับน้อยที่สุด ปัจจัยที่ส่งผลต่อการกลั่นแกล้งบนโลก&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ไซเบอร์ของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ผลการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ มหาวิทยาลัยบูรพา โดยตัวแปรแฝงทัศนคติต่อการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ 2 ตัว คือ ทัศนคติต่อการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ และทัศนคติต่อผลการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ และ ตัวแปรแฝงการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ 2 ตัว คือ ความเชื่อตามกลุ่มอ้างอิง และแรงจูงใจในการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ กรณีศึกษานิสิต มหาวิทยาลัยบูรพากับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยทดสอบกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี ผลการวิเคราะห์ สรุปได้ว่า ความตั้งใจในการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ และทัศนคติต่อการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์และการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง มีอิทธิพลทางอ้อมต่อพฤติกรรมการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ผ่านตัวแปรความตั้งใจ</p> 2023-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง https://so03.tci-thaijo.org/index.php/papojournal/article/view/267691 การพัฒนาตัวชี้วัดในการติดตามความก้าวหน้าการนำหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติขององค์กรภาครัฐที่ได้รับรางวัลธรรมาภิบาลในประเทศไทย 2023-08-16T10:29:03+07:00 ปิยากร หวังมหาพร [email protected] <p> หลักธรรมาภิบาลเป็นหลักการสากลและเป็นหลักปฏิบัติสำคัญที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ การให้รางวัลธรรมาภิบาลจึงเป็นวิธีการที่กระตุ้นให้มีการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาลอย่างต่อเนื่อง โดยองค์กรที่ให้รางวัลต่างมีตัวชี้วัดของตนเองเพื่อประเมินและให้รางวัลแต่ยังขาดตัวชี้วัดที่เป็นมาตรฐานร่วมกันในการติดตามความก้าวหน้าในการปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาล งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเหมาะสมของตัวชี้วัด 2) พัฒนาตัวชี้วัดในการติดตามความก้าวหน้าการนำหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติขององค์กรภาครัฐที่ได้รับรางวัลธรรมาภิบาลในประเทศไทย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี มีเครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินคุณภาพตัวชี้วัดและแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารองค์กรที่ได้รับรางวัลธรรมาภิบาลจำนวน 10 ราย หัวหน้า/ รองหัวหน้าหรือเทียบเท่าขององค์กรภาครัฐที่ได้รับรางวัลในการดำเนินงานด้านธรรมาภิบาล ประจำปี 2560 จำนวน 40 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสหสัมพันธ์เพียร์สัน</p> <p> ผลการศึกษาพบว่าความเหมาะสมของตัวชี้วัดในการติดตามความก้าวหน้าการนำหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติขององค์กรภาครัฐที่ได้รับรางวัลธรรมาภิบาลโดยรวมมีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ตัวชี้วัดในการติดตามความก้าวหน้าการนำหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติขององค์กรภาครัฐที่ได้รับรางวัลธรรมาภิบาลในประเทศไทยควรประกอบด้วย 6 หลัก ได้แก่ นิติธรรม 7 ตัวชี้วัด คุณธรรม 11 ตัวชี้วัด ความโปร่งใส 4 ตัวชี้วัด การมีส่วนร่วม 4 ตัวชี้วัด สำนึกรับผิดชอบ 16 ตัวชี้วัด และความคุ้มค่า 15 ตัวชี้วัด</p> 2023-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง https://so03.tci-thaijo.org/index.php/papojournal/article/view/272082 การบริหารจัดการของศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) 2023-11-24T18:35:39+07:00 นาวาโท สาโรจน์ เกลี้ยงสง [email protected] เอกวิทย์ มณีธร [email protected] <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. เพื่อวิเคราะห์การบริหารจัดการของศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) ในปัจจุบัน และ 2. เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคการบริหารจัดการของศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) การศึกษาในครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงผสมผสาน ระหว่างเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ โดยใช้การเก็บข้อมูลจาก 3 ส่วนได้แก่ 1) การสัมภาษณ์เชิงลึก จากกลุ่มบุคลากรของศรชล. และกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 21 ท่าน 2) การสำรวจจากบุคลากรของศรชล. จำนวน 280 คน และ 3) การศึกษาข้อมูลเอกสาร โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามที่มีโครงสร้าง และแบบสัมภาษณ์เพื่อการวิจัยแบบกึ่งโครงสร้าง ที่ได้มีผ่านการทดสอบคุณภาพ โดยมีสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way Analysis of Variance) และพรรณนาข้อมูลในปรากฏการณ์ และวิเคราะห์ตีความข้อมูล โดยใช้การวิเคราะห์แบบสามเส้าระเบียบวิธีวิทยา </p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1. โครงสร้างของการจัดการของการบริหารจัดการของ ศรชล. นั้นถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก ได้แก่ 1) ส่วนบริหารและนโยบายการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล และ 2) ส่วนอำนวยการ และหน่วยปฏิบัติการในระดับพื้นที่ จากการวิเคราะห์ความคิดเห็นของบุคลากร พบว่า ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการ โดยรวมนั้นมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และ 2. ปัญหาและอุปสรรคของการบริหารจัดการ พบว่า 1) ด้านโครงสร้างและนโยบายขององค์กร มีปัญหาทางด้านการจัดสรรทรัพยากรต่าง ๆ ที่ไม่เพียงพอ ไม่เหมาะสม และการจัดโครงสร้างที่ยังคงเป็นแบบราชการไม่ได้รวดเร็วและคล่องตัวขึ้น 2) ด้านผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีปัญหาได้แก่ การครอบงำทางวัฒนธรรมองค์กร เอกภาพในการสั่งการและการประสานงาน ความหลากหลายและความซ้ำซ้อนของภารกิจแต่ละหน่วยงานที่เข้าร่วมใน ศรชล. ตามกฎหมาย และการขาดความรู้ความเข้าใจในองค์กรและบทบาทหน้าที่ของผู้บริหาร 3) ด้านความสัมพันธ์ระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ยังขาดการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและความเข้าใจในการแก้ไขปัญหาแก่ชุมชนในพื้นที่ การสร้างความสัมพันธ์กับหน่วยงานที่เข้าร่วมปฏิบัติงานและชุมชน และปัญหาการบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงาน และ 4) ด้านการจัดการเครือข่าย บุคลากรยังขาดความรู้ความเข้าใจในภารกิจที่ต้องปฏิบัติงานร่วมกับเครือข่าย ประสิทธิภาพในการบริหารองค์กรของผู้บริหาร ขาดการสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจที่ดีแก่เครือข่าย และขาดแผนงานในการการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เข้าร่วมปฏิบัติการ</p> 2023-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง https://so03.tci-thaijo.org/index.php/papojournal/article/view/273193 การพัฒนาการบริหารงานของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ในพื้นที่ อำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี 2023-12-20T16:15:41+07:00 สัณหพร เตชะเสน [email protected] <p> การวิจัยเรื่อง การพัฒนาการบริหารงานของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ในพื้นที่ อำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) รูปแบบการบริหารจัดการของกองทุนหมู่บ้านที่ประสบความสำเร็จ ไม่มีหนี้ค้างชำระ ได้ผลการประเมินเกรด A และศึกษารูปแบบกองทุนหมู่บ้านที่บริหารจัดการไม่ประสบความสำเร็จ จนเกิดหนี้ค้างชำระ และ 2) แนวทางในการพัฒนา ที่จะนำไปปรับปรุงรูปแบบการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้าน ที่ไม่ประสบความสำเร็จ ให้ประสบความสำเร็จ ไม่มีหนี้ค้างชำระ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีผู้ให้ข้อมูลหลักที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ประธานเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านระดับจังหวัด ระดับอำเภอ ระดับตำบล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านรองประธานกรรมการ กรรมการ เหรัญญิก เลขานุการ เหรัญญิก และสมาชิก จำนวน 37 คน</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า จากจุดเริ่มต้นเมื่อปี พ.ศ. 2544 กองทุนหมู่บ้านแต่ละแห่งได้รับงบประมาณกองทุนละ 1 ล้านบาทเท่ากัน เมื่อนำปัจจัยการบริหารจัดการตามแนวคิดของ McKinsey มาวิเคราะห์ มีข้อค้นพบว่า กองทุนหมู่บ้านที่สามารถบริหารจัดการได้ประสบความสำเร็จ เพราะมีกระบวนการบริหารจัดการที่ทำงานสอดคล้องกันทั้ง 7 ปัจจัย ตามแนวคิดของ McKinsey การบริหารจัดการยึดกลยุทธ์ตามที่สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองกำหนด แบ่งโครงสร้างชัดเจน เน้นการทำงานเป็นทีม มีลำดับขั้นตอนการทำงาน ตั้งแต่การคัดเลือกคนเข้ามาทำงาน ทุกคนมีสิทธิในการออกเสียง แม้การเลือกตั้งกรรมการใหม่จะเป็นกรรมการชุดเดิม กรรมการทุกคนไม่ว่าอยู่ในตำแหน่งใดมีภาวะผู้นำและผู้ตามในเวลาเดียวกันเสมอคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและสมาชิกร่วมกันทำงานให้บรรลุวัตถุตามวัตถุประสงค์ที่ได้วางไว้ นอกเหนือจากปัจจัยการบริหารจัดการภายในแล้ว ยังมีปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อความสำเร็จของการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้าน อาทิ ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวกับสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยดังกล่าว จะมีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านตามไปด้วย</p> 2023-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง