วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง https://so03.tci-thaijo.org/index.php/papojournal <p><em>วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง</em> มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ผลงานวิชาการด้านรัฐประศาสนศาสตร์และการเมืองตลอดจนสาขาทางสังคมศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผลงานวิชาการได้รับการเผยแพร่ในวงกว้างและเป็นที่ยอมรับในวงวิชาการ โดย <em>วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง</em> เป็นวารสารทางวิชาการที่มีการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิในลักษณะผู้พิจารณาไม่ทราบชื่อผู้แต่งและผู้แต่งไม่ทราบชื่อผู้พิจารณา (Double-blind peer review)</p> <p><em>วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง</em> เปิดรับพิจารณาบทความวิชาการทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ทั้งในรูปแบบบทความวิจัย (Research Articles) และบทความปริทัศน์ (Review Articles)</p> <p>ทั้งนี้&nbsp;<em>วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง&nbsp;&nbsp;</em>ได้เริ่มตีพิมพ์เผยแพร่ตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2545 และได้เริ่มเผยแพร่ในรูปแบบวารสารอิเล็กทรอนิคส์ตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2561</p> th-TH test@test.com (-) polscilaw_journal@hotmail.com (-) Fri, 28 Jun 2024 09:05:33 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน: จากความคาดหวังสู่อนาคต https://so03.tci-thaijo.org/index.php/papojournal/article/view/276520 <p> บทความชิ้นนี้เป็นบทความวิชาการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และเพื่อศึกษาแนวทางการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนจากต่างประเทศและ การประยุกต์ใช้สู่การจัดการศึกษาของประเทศไทย ซึ่งในบทความนี้จะกล่าวถึงจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนผ่านการพัฒนาการศึกษาและการปฏิรูปการศึกษาจากประเทศสหรัฐอเมริกา การพัฒนาที่ยั่งยืนและการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน รูปแบบและแนวทางสู่ความสำเร็จของการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน: บทเรียนจากประเทศอังกฤษสู่ประเทศไทย และ บทสรุป เพื่อปูทางการปฏิรูปการศึกษาไทยไปสู่อนาคตที่ยั่งยืนมากขึ้นในการก้าวเข้าสู่เวทีระดับโลก ประเด็นที่สำคัญที่สุดในยุคปัจจุบันคือการรักษาทรัพยากรของโลกไว้อย่างไร ขณะเดียวกันก็พัฒนาความมั่งคั่งและความเป็นอยู่ที่ดีของประชากรที่เพิ่มมากขึ้น ภารกิจอันยิ่งใหญ่นี้ถูกกำหนดไว้ในแนวคิดเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืน ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ประชาคมโลกได้ตกลงที่จะจัดการกับการพัฒนาที่ยั่งยืนผ่านสนธิสัญญาระหว่างประเทศ เพื่อเป็นการตอบสนองสนธิสัญญาดังกล่าวการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน จึงได้มีการเปิดตัวเพื่อเป็นคำตอบในการรับมือกับความยั่งยืน ซึ่งโครงสร้างผลลัพธ์ของของการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนสามารถถ่ายทอดผ่านผลลัพธ์ของนักเรียนได้อย่างแท้จริงในแง่ของจิตสำนึกด้านความยั่งยืน</p> โสภณ ลือดัง, ชยาภรณ์ จตุรพรประสิทธิ์ Copyright (c) 2024 วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง https://so03.tci-thaijo.org/index.php/papojournal/article/view/276520 Thu, 27 Jun 2024 00:00:00 +0700 จากองค์กรการเงินชุมชนสู่สถาบันการเงินประชาชน: กรณีศึกษา สถาบันการเงินประชาชน ตำบลน้ำขาว อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา และสถาบันการเงินประชาชน ตำบลจำปาหล่อ อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง https://so03.tci-thaijo.org/index.php/papojournal/article/view/273924 <p> การวิจัยเรื่อง จากองค์กรการเงินชุมชนสู่สถาบันการเงินประชาชน: กรณีศึกษา สถาบันการเงินประชาชน ตำบลน้ำขาว อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา และสถาบันการเงินประชาชนตำบลจำปาหล่อ อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาองค์กรการเงินชุมชนที่สามารถจดทะเบียนยกระดับเป็นสถาบันการเงินประชาชนได้สำเร็จ และมีวิธีการเตรียมการและดำเนินงานอย่างไร จึงสามารถจดทะเบียนเป็นสถาบันการเงินประชาชนได้สำเร็จ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัย เชิงคุณภาพ มีผู้ให้ข้อมูลหลักที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ตัวแทนจากสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ธนาคารออมสิน สถาบันการเงินประชาชน ตำบลจำปาหล่อ และสถาบันการเงินประชาชน ตำบลน้ำขาว ครู ทหาร ตำรวจ พระ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน พ่อค้า แม่ค้า และประชาชนโดยรอบในแต่ละพื้นที่ จำนวน 40 คน</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า ตั้งแต่มีนโยบายยกระดับองค์กรการเงินชุมชนเป็นสถาบันการเงินประชาชนตามพระราชบัญญัติสถาบันการเงินประชาชน พ.ศ. 2562 เมื่อนำแนวคิดทฤษฎีเรื่องการบริหาร การเปลี่ยนแปลง ของศุภชัย ยาวะประภาษ ของปัณรส มาลากุล ณ อยุธยา และ Johns and Saks แนวคิดเกี่ยวกับผู้นำกับการบริหารการเปลี่ยนแปลง ของ Jame M. Burns แนวคิดชุมชนเข้มแข็ง ของโกวิทย์ พวงงาม และแนวคิดการมีส่วนร่วมของประชาชน ของไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม (2551) มาวิเคราะห์พบว่า องค์กรการเงินชุมชนที่สามารถจดทะเบียนเป็นสถาบันการเงินประชาชนได้สำเร็จ มาจากความสามารถของผู้บริหารระดับกลาง คือคณะกรรมการองค์กรการเงินชุมชน ที่สามารถดึงความร่วมมือของผู้บริหารระดับสูง คือ ประธานกรรมการองค์กรการเงินชุมชนและลดการต่อต้านจากบุคลากรระดับปฏิบัติการคือสมาชิกองค์กรการเงินชุมชน โดยเฉพาะกรรมการองค์กรการเงินชุมชน บุคคลที่ทำหน้าที่เป็นผู้ปฏิบัติงานด้านเอกสารขององค์กรการเงินชุมชนเป็นหลัก เป็นผู้ซึ่งอยู่ในกลุ่มคณะกรรมการองค์กรการเงินชุมชนอยู่แล้ว ขึ้นอยู่กับว่าในกลุ่มคณะกรรมการทั้งหมดใครจะเป็นคนทำเอกสาร และยินดีทำด้วยความเต็มใจ ไม่ได้มาจากการบังคับจากกรรมการในกลุ่มแต่อย่างใด อีกทั้งวิธีการเตรียมการและดำเนินงานจดทะเบียนยกระดับเป็นสถาบันการเงินประชาชนได้สำเร็จ องค์กรการเงินชุมชนต้องมีพื้นฐานที่ดีมาตั้งแต่การเป็นองค์กรการเงินชุมชน เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเป็นสถาบันการเงินประชาชน การเปลี่ยนแปลงก็จะใกล้เคียงสภาพปกติที่เป็นอยู่ ทุกคนในชุมชนยินดีมีส่วนร่วมไม่รู้สึกต่อต้านว่าการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทำให้ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม มีความพร้อมเพรียงในทุกกระบวนการ ตั้งแต่การเข้าร่วมประชุมเพื่อขอมติเห็นชอบที่จะจดทะเบียนยกระดับองค์กรการเงินชุมชนเป็นสถาบันการเงินประชาชน การเตรียมเอกสารประกอบการยื่นขอจดทะเบียน การลงลายมือชื่อ การประสานงาน ความรวดเร็วในการให้ความร่วมมือหลังได้รับแจ้งแก้ไขจากธนาคารผู้ประสานงาน เป็นต้น</p> saranrat rattanapan Copyright (c) 2024 วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง https://so03.tci-thaijo.org/index.php/papojournal/article/view/273924 Thu, 27 Jun 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยการใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม กรณีศึกษา: พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี จังหวัดพิษณุโลก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/papojournal/article/view/276291 <p> เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม เป็นเทคโนโลยีผสมโลกของความจริงและความเสมือนจริงเข้าด้วยกัน ที่ประมวลผลมาจากคอมพิวเตอร์ทำให้เราสามารถตอบสนองกับสิ่งจำลองเหล่านั้นได้ ซึ่งจะมีศักยภาพในการนำเสนอเนื้อหาที่ได้เปรียบกว่าการใช้สื่อแบบเดิมและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนรู้ต่าง ๆ ให้น่าสนใจและแปลกใหม่ ดังนั้น ผู้วิจัยจึงมีแนวคิดในการศึกษาแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยว โดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยการใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมกรณีศึกษา: พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน จ่าทวี จังหวัดพิษณุโลก งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับพิพิธภัณฑ์และเพื่อนำเสนอรูปแบบและแนวทางการใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมสำหรับพิพิธภัณฑ์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยผู้วิจัยได้เลือกประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านพิพิธภัณฑ์ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการท่องเที่ยว ผู้เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี จังหวัดพิษณุโลก ประชาชนทั่วไปและนักท่องเที่ยวที่มีความสนใจเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ โดยมีผู้ให้สัมภาษณ์ จำนวน 10 คน ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านพิพิธภัณฑ์ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการท่องเที่ยว ผู้เกี่ยวข้องกับพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี และนักท่องเที่ยวและผู้เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัยพบว่า การนำเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมมาประยุกต์ใช้ในพิพิธภัณฑ์ ช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวและสร้างความน่าสนใจ พร้อมทั้งกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ โดยเฉพาะการประยุกต์ใช้ในด้านการนำเสนอและการจัดแสดงสิ่งของเครื่องใช้ในพิพิธภัณฑ์ โดยจัดแสดงในรูปแบบสามมิติเป็นเครื่องมือที่สามารถสร้างการเรียนรู้ให้สามารถเข้าใจง่าย เพิ่มช่องทางในการให้ข้อมูลเป็นการท่องเที่ยวโดยไม่ต้องเดินทางจริง แต่เป็นการเดินทางแบบ “เสมือนจริง” และเป็นสื่ออีกหนึ่งช่องทางที่ใช้ เพื่อจูงใจส่งเสริมประชาสัมพันธ์เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์ ทำให้เกิดการเรียนรู้ภูมิปัญญาพื้นบ้านของพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวีต่อไปในระดับที่ลึกลงไปได้</p> จิดาภา ธรรมรักษ์กุล, อนิรุทธิ์ อัศวสกุลศร Copyright (c) 2024 วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง https://so03.tci-thaijo.org/index.php/papojournal/article/view/276291 Thu, 27 Jun 2024 00:00:00 +0700 การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออุบัติเหตุจราจรปี พ.ศ. 2565 ด้วยเทคนิคเหมืองข้อมูลกฎความสัมพันธ์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/papojournal/article/view/276383 <p> งานวิจัยนี้ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่ออุบัติเหตุจราจรในปี พ.ศ. 2565 โดยใช้เทคนิคการทำเหมืองข้อมูลอัลกอริทึมอพริโอริ (Apriori Algorithm) เพื่อการทำความเข้าใจสาเหตุที่แท้จริงของอุบัติเหตุ การศึกษานี้ใช้ชุดข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุจราจรจำนวน 20,033 แถว (Rows) ประกอบไปด้วย 6 ตัวแปร (Attributes) สำหรับการทำนายปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุจราจร ได้แก่ ลักษณะทางที่เกิดเหตุ มูลเหตุสันนิษฐาน พฤติกรรมของผู้ขับขี่ สภาพอากาศและคุณลักษณะของยานพาหนะ การค้นพบเผยให้เห็นรูปแบบและความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ได้แก่ กฎความสัมพันธ์ที่หนึ่งเท่ากับ 6,461 ครั้งเกิดจากยานหนะพลิกคว่ำและตกถนนในถนนเส้นทางตรง กฎความสัมพันธ์ที่สองเท่ากับ 4,998 ครั้ง เกิดจากการพลิกคว่ำและตกถนนในถนนเส้นทางตรงและทัศนะวิสัยแจ่มใสและกฎความสัมพันธ์ที่ 3 เท่ากับ 5,192 ครั้ง เกิดจากการขับรถเร็วเกินกำหนด การพลิกคว่ำและตกถนนในเส้นทางตรงและทัศนะวิสัยแจ่มใส โดยค่าความเชื่อมั่นของโมเดลการทำนายเท่ากับ 94 % (Conf. =0.94)) ซึ่งสรุปได้ว่าอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มาจากความประมาทและขับรถเร็วเกินอัตรากฎหมายกำหนด งานวิจัยนี้สามารถนำเสนอต่อผู้กำหนดนโยบายและการใช้เทคนิคการทำเหมืองข้อมูลแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการดึงข้อมูลที่มีค่าจากชุดข้อมูลขนาดใหญ่ นำไปสู่การตัดสินใจเพื่อกำหนดนโยบายลดสาเหตุของอุบัติเหตุจราจร</p> Prajak Chertchom Copyright (c) 2024 วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง https://so03.tci-thaijo.org/index.php/papojournal/article/view/276383 Thu, 27 Jun 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการมีส่วนร่วมของภาครัฐในการส่งเสริมภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม เพื่อพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษาพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/papojournal/article/view/278594 <p> การวิจัยครั้งมุ่งศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นและทรัพยากรทางวัฒนธรรมในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ และวิเคราะห์ศักยภาพและทรัพยากรของชุมชน รวมถึงพัฒนาแนวทางแนวทางการมีส่วนร่วมของภาครัฐในการส่งเสริมภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชุมชมยั่งยืน ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เริ่มจากการสำรวจภูมิปัญญาท้องถิ่นและทรัพยากรทางวัฒนธรรมในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์และศึกษาศักยภาพชุมชน เรียนรู้และพัฒนาร่วมกับชุมชน เน้นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) มีการกำหนดผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเจาะจงในพื้นที่ศึกษาโดยเลือกตามศักยภาพชุมชนที่มีการเรียนรู้ร่วมกับชุมชน และพัฒนาชุมชนร่วมกับ ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน 1 คน ภาครัฐ 2 คน นักพัฒนาชุมชน 1 คน ปราชญ์ชุมชน 1 คน และสมาชิกชุมชน 4 คน ต่อ 1 พื้นที่ จำนวนทั้งสิ้น 2 พื้นที่ ได้แก่ พื้นที่ชุมชนบ้านบาตร และพื้นที่ชุมชนวัดโสมนัส ที่เป็นชุมชนที่มีศักยภาพในแนวทางการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน ผลการศึกษาพบว่า แนวทางแนวทางการมีส่วนร่วมของภาครัฐในการส่งเสริมภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม เพื่อพัฒนาชุมชมยั่งยืน ประกอบด้วย การสนับสนุนด้านองค์ความรู้กับชุมชน การสร้างตราสินค้า (Brand) จากอัตลักษณ์ชุมชน การบูรณาการวัฒนธรรมกับแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน การสนับสนุนทางการเงิน สนับสนุนทางด้านเครือข่ายเพื่อยกระดับศักยภาพชุมชน</p> วุทธิชัย ลิ้มอรุโณทัย ; ธีระวัฒน์ จันทึก , วชิราภรณ์ จีระว่องวิทย์ ; ธีระ กุลสวัสดิ์; ภัสนันท์ พ่วงเถื่อน , ธัญพิชชา สามารถ , สมคิด เพชรประเสริฐ Copyright (c) 2024 วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง https://so03.tci-thaijo.org/index.php/papojournal/article/view/278594 Thu, 27 Jun 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดกาฬสินธุ์: กรณีศึกษาชุมชนเทศบาลตำบลโคกศรี https://so03.tci-thaijo.org/index.php/papojournal/article/view/273708 <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดกาฬสินธุ์: กรณีศึกษาชุมชนเทศบาลตำบลโคกศรี 2) วิเคราะห์ความต้องการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดกาฬสินธุ์: กรณีศึกษาชุมชนเทศบาลตำบลโคกศรีและ 3) พัฒนากิจกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดกาฬสินธุ์: กรณีศึกษาชุมชนเทศบาลตำบลโคกศรี ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 80 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์และประเด็นการประชุมเชิงปฏิบัติการ โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>สภาพปัญหาและอุปสรรคการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดกาฬสินธุ์: กรณีศึกษาชุมชนเทศบาลตำบลโคกศรี พบว่า 1) ด้านอาชีพ กลุ่มผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีรายได้ที่ไม่แน่นอน เงินหมุนเวียนไม่คล่อง 2) ด้านสุขภาพ กลุ่มผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงอยู่เป็นจำนวนมาก และ 3) ด้านการเงิน กลุ่มผู้สูงอายุส่วนใหญ่ยังไม่มีการจัดระเบียบชีวิตด้านการเงิน</li> <li>วิเคราะห์ความต้องการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดกาฬสินธุ์: กรณีศึกษาชุมชนเทศบาลตำบลโคกศรี พบว่า 1) ด้านอาชีพ ต้องการการหารายได้เสริมจากอาชีพที่ว่างจากงานหลัก 2) ด้านสุขภาพต้องการการส่งเสริมสุขภาพโดยการปลูกผักปลอดสารพิษในครัวเรือน 3) ด้านการเงินต้องการเรียนรู้วิธีจัดระเบียบชีวิตด้านการเงิน</li> <li>การพัฒนากิจกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดกาฬสินธุ์: กรณีศึกษาชุมชนเทศบาลตำบลโคกศรี พบว่า 1) ด้านอาชีพ กลุ่มผู้สูงอายุได้ดำเนินการกิจกรรมกลุ่มจักสานตะกร้าพลาสติก 2) ด้านสุขภาพได้ดำเนินกิจกรรมกลุ่มปลูกพืชผักสวนครัวรั้วกินได้ 3) ด้านการเงิน กลุ่มผู้สูงอายุได้ดำเนินกิจกรรมการบันทึกบัญชี กลุ่มฌาปนกิจสงเคราะห์</li> </ol> อ๊อต โนนกระยอม, พรพิทักษ์ เห็มบาสัตย์ Copyright (c) 2024 วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง https://so03.tci-thaijo.org/index.php/papojournal/article/view/273708 Thu, 27 Jun 2024 00:00:00 +0700