วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/papojournal
<p><em>วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง</em> มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ผลงานวิชาการด้านรัฐประศาสนศาสตร์และการเมืองตลอดจนสาขาทางสังคมศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผลงานวิชาการได้รับการเผยแพร่ในวงกว้างและเป็นที่ยอมรับในวงวิชาการ โดย <em>วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง</em> เป็นวารสารทางวิชาการที่มีการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิในลักษณะผู้พิจารณาไม่ทราบชื่อผู้แต่งและผู้แต่งไม่ทราบชื่อผู้พิจารณา (Double-blind peer review)</p> <p><em>วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง</em> เปิดรับพิจารณาบทความวิชาการทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ทั้งในรูปแบบบทความวิจัย (Research Articles) และบทความปริทัศน์ (Review Articles)</p> <p>ทั้งนี้ <em>วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง </em>ได้เริ่มตีพิมพ์เผยแพร่ตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2545 และได้เริ่มเผยแพร่ในรูปแบบวารสารอิเล็กทรอนิคส์ตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2561</p>
Faculty of Political Science and Law, Burapha University
th-TH
วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง
2651-1436
-
Profile of Motivated Social Workers: Evidence from the Philippines
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/papojournal/article/view/269456
<p> Empirical evidences have shown the many antecedents that may increase or dampen the altruistic motive of government workers. This article investigates the public service motive of Filipino social workers and how their individual characteristics such as age, education, length of service, and pursuit of pay might affect motivated work. Employing quantitative method, the study used Eta squared to measure the association between variables and the effect size. Findings suggest that Filipino social workers are highly motivated to serve. Results also indicate that PSM is associated with both age and length of service, which can inform policy discussions to further improve the design and implementation of holistic intervention programs that will renew and increase the motivation to serve of aging and long-tenured employees. The non-association with pursuit of pay conforms with the autonomous perspective of PSM.</p>
Rowena Alcoba
Copyright (c) 2024 วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง
2024-12-28
2024-12-28
13 2
1
15
-
การศึกษาและวิเคราะห์โครงการนวัตกรรม “ขยะ มั่งคั่ง ยั่งยืน” ของเทศบาลตำบลทับมา อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/papojournal/article/view/276322
<p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการดำเนินโครงการนวัตกรรม “ขยะ มั่งคั่ง ยั่งยืน” และเพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินโครงการนวัตกรรม “ขยะ มั่งคั่ง ยั่งยืน” ของเทศบาลตำบลทับมา อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อถอดบทเรียนความสำเร็จในการดำเนินโครงการนวัตกรรม เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม จากผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ประกอบไปด้วย กลุ่มผู้บริหารท้องถิ่น กลุ่มข้าราชการประจำ และกลุ่มประชาชน เครือข่ายและภาคประชาสังคม จำนวน 39 คน ใช้เครื่องมือแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลแบบแยกแยะเนื้อหาสาระ การวิเคราะห์เนื้อหา และการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินโครงการนวัตกรรมขยะ มั่งคั่ง ยั่งยืน (Waste To Wealth) ได้แก่ (1) การมีผู้นำที่มีความเข้มแข็ง และการทำงานเป็นทีม ผู้นำและผู้บริหารของเทศบาลตำบลทับมามีความเข้มแข็งในการทำงาน (2) การมีภาคีเครือข่ายความร่วมมือทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชนในพื้นที่ (3) บริบทของชุมชน ฐานทรัพยากรท้องถิ่น และพื้นที่ในการพัฒนาความสำเร็จของโครงการนวัตกรรม (4) การมีระบบเทคโนโลยีดิจิทัล และการพัฒนาด้านระบบฐานข้อมูล และ (5) ความร่วมมือของประชาชนในพื้นที่ซึ่งเป็นคนในพื้นที่ดั้งเดิม จากการดำเนินการพบปัญหาเรื่องความร่วมมือของประชาชนในพื้นที่เนื่องจากอยู่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ส่งผลให้มีการเคลื่อนย้ายของประชากร และมีประชากรแฝงในพื้นที่เป็นจำนวนมาก จึงจำเป็นต้องสร้างการรับรู้และสร้างความสัมพันธ์ของในพื้นที่เพื่อดำเนินนวัตกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงปัญหาการพลัดเปลี่ยนบุคลากรของหน่วยงาน ซึ่งส่งผลต่อความต่อเนื่องในการปฏิบัติงาน</p>
ณัฐพงษ์ คันธรส
วิศท์ เศรษฐกร
อัมฤตา สารธิวงค์
จิรวัฒน์ เมธาสุทธิรัตน์
Copyright (c) 2024 วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง
2024-12-28
2024-12-28
13 2
16
35
-
โครงสร้างกรุงเทพมหานครตามแนวทางการกระจายอำนาจ
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/papojournal/article/view/280721
<p>บทความเรื่องโครงสร้างกรุงเทพมหานครตามแนวทางการกระจายอำนาจ ผู้เขียนมีแนวคิดการ<br>นำเสนอการกระจายอำนาจที่เต็มรูปแบบ ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับใหม่ พุทธศักราช 2560 ได้<br>ให้ความสำคัญในเรื่องการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น แต่ปัจจุบันการกระจายอำนาจผ่านการปกครองท้องถิ่นของ<br>ประเทศไทยนั้นยังไม่เต็มรูปแบบ ซึ่งการปกครองท้องถิ่นประเทศไทยมี 2 รูปแบบ ได้แก่ การปกครองท้องถิ่น<br>ทั่วไป กับการปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร และพัทยา โดยบทความนี้จะ<br>นำเสนอรูปแบบการปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ คือ กรุงเทพมหานครที่มีโครงสร้างการบริหารจัดการแบบ<br>ชั้นเดียว เน้นการรวมศูนย์อำนาจอยู่ที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่มาจากการเลือกตั้ง และมีสภานิติบัญญัติ<br>มาจากการเลือกตั้งของแต่ละเขต ๆ ละ 1 คน และพื้นที่ 50 เขตของกรุงเทพมหานครนั้นมีข้าราชการประจำใน<br>ทุกเขต การปฏิบัติภารกิจงานของเขตจะปฏิบัติตามรูปแบบราชการส่วนภูมิภาคเป็นส่วนใหญ่ การทำงานต้อง<br>เป็นไปตามนโยบายของผู้ว่ากรุงเทพมหานคร ซึ่งปัญหาที่ตามมา คือ ขาดโครงสร้างการมีส่วนร่วมของ<br>ประชาชนในแต่ละเขตที่ควรเข้ามาในรูปแบบผู้บริหารระดับเขต และฝ่ายนิติบัญญัติระดับเขตที่มาจากการ<br>เลือกตั้งของประชาชนในเขตนั้น หรือเพิ่มสภาพลเมืองให้มาจากตัวแทนประชาชนทุกสาขาวิชาชีพในแต่เขต<br>โดยสภาพลเมืองจะทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาเรียกว่าเป็นการกระชับการมีส่วนร่วมให้เกิดการกระจายอำนาจเข้าสู่<br>ทุกชุมชนนั้นเอง ซึ่งโครงสร้างระดับเขตดังกล่าวเรียกว่าโครงสร้างชั้นล่าง โดยบทความจะเปรียบเทียบให้เห็น<br>ถึงมหานครใหญ่ของโลก ได้แก่ มหานครนิวยอร์ มหานครลอนดอน มหานครปารีส มหานครโตเกียว ที่มี<br>โครงสร้างการบริหารแบบ 2 ชั้น มีเพียงกรุงเทพมหานครเท่านั้นที่มีโครงสร้างแบบชั้นบนชั้นเดียว ดังนั้น เพื่อ<br>เป็นการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับใหม่ พุทธศักราช 2560 ในเรื่องการกระจายอำนาจ<br>สู่ท้องถิ่น โครงสร้างการบริหารงานของกรุงเทพมหานครจึงต้องเต็มรูปแบบ เรียกว่าโครงสร้างการปกครอง<br>แบบ 2 ชั้น เพื่อให้เกิดการพัฒนาประชาธิปไตยและสร้างความใกล้ชิดกับประชาชนภายในท้องถิ่น สนองต่อ<br>ความต้องการที่หลากหลายของประชาชนในท้องถิ่น และเสริมสร้างให้เกิดการปกครองท้องถิ่นโดยประชาชน<br>(Local-Self Government) ให้มากที่สุดนั่นเอง</p>
สุรชัย พรหมพันธุ์
อนันต์ ธรรมชาลัย
ปัณพร ชมภูผิว
ปนัดดา เย็นวนิช
บรรพต วิรุณราช
Copyright (c) 2024 วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง
2024-12-28
2024-12-28
13 2
53
72
-
การจัดการพื้นที่สาธารณะเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้บริการของสตรีและกลุ่มเปราะบางอื่น กรณีศึกษา: การเปิดโอกาสให้สตรีและกลุ่มเปราะบางอื่นมีส่วนร่วมในการจัดการพื้นที่สาธารณะให้เกิดความปลอดภัยของเทศบาลนครอุดรธานี
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/papojournal/article/view/278506
<p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความร่วมมือระหว่างเทศบาลนครอุดรธานีกับสตรี เด็ก ผู้สูงอายุ และกลุ่มเปราะบางในการจัดการความปลอดภัยในพื้นที่สาธารณะระหว่างปี พ.ศ. 2555 ถึง พ.ศ. 2566 และ (2) ศึกษาการพัฒนาความร่วมมือนี้ การศึกษาเชิงคุณภาพนี้เป็นการสัมภาษณ์เชิงลึกกับบุคคลจำนวน 40 รายจากหน่วยงานภาครัฐในท้องถิ่น ภาคเอกชน และองค์กรชุมชนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการพื้นที่สาธารณะ</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เทศบาลนครอุดรธานีได้ยกระดับความปลอดภัยของพื้นที่สาธารณะสำหรับสตรี เด็ก ผู้สูงอายุ และผู้พิการ ผ่านมาตรการต่าง ๆ ดังนี้ (1) ดำเนินนโยบายการพัฒนาเมืองที่เน้นความปลอดภัย (2) การซ่อมแซมและปรับปรุงถนนและทางเท้า (3) ติดตั้งแสงสว่างและ กล้องวงจรปิด (4) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนผ่านแผนท้องถิ่นและชุมชน และ (5) ผสมผสานมาตรการด้านความปลอดภัยไว้ในข้อบัญญัติ โดยอำนวยความสะดวกในการมีส่วนร่วมผ่านวิทยุชุมชน การประชุม โทรศัพท์ จดหมาย และสภาพลเมือง นอกจากนี้ยังมีการขยายช่องทางออนไลน์อีกด้วย สำหรับการมีส่วนร่วมในอนาคต เทศบาลควรพิจารณาเพิ่มค่าเดินทางและค่าตอบแทน การแบ่งแยกผู้เข้าร่วมใน การประชุม ให้ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของการมีส่วนร่วม การอนุญาตให้ผู้พิการทำหน้าที่ในคณะกรรมการ และจัดการกิจกรรมกลุ่มพิเศษและการประชุมออนไลน์</p>
กมลฉัตร ฉัตรไพฑูรย์
ศุภชัย ยาวะประภาษ
Copyright (c) 2024 วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง
2024-12-28
2024-12-28
13 2
73
88
-
การจัดการความมั่นคงของวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ตำบลสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ในภาวะวิกฤตการแพร่ระบาดของโควิด-19
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/papojournal/article/view/280879
<p><strong> </strong>การวิจัยเรื่องการจัดการความมั่นคงของวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ตำบลสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ในภาวะวิกฤตการแพร่ระบาดของโควิด-19 ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การศึกษาเพื่อศึกษาการจัดการความมั่นคงของวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ตำบลสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ในภาวะวิกฤตการแพร่ระบาดของโควิด-19 และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความมั่นคงของวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ตำบลสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ สมาชิกของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในพื้นมที่ตำบลสัตหีบ จังหวัดชลบุรี จำนวน 283 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาได้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในการทดสอบสมมติฐานใช้สถิติวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เชิงเส้น (Linear Coefficient Correlation, r) เพื่อทดสอบสมมติฐนาการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า 1) สมาชิกวิสาหกิจชุมชนส่วนใหญ่มีระดับการจัดการธุรกิจชุมชนในช่วงภาวะวิกฤติโควิด-19 โดยรวมนั้นมีค่าเฉลี่ยระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.75) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าอยู่ในระดับมากทั้ง 5 ปัจจัย โดยสามารถเรียงลำดับจากมกไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านผู้นำกลุ่ม (ค่าเฉลี่ย 4.00) รองลงมาคือด้านการผลิต (ค่าเฉลี่ย 3.83) ด้านบัญชีและการเงิน (ค่าเฉลี่ย 3.78) ด้านการจัดการ (ค่าเฉลี่ย 3.70) และด้านการตลาด (ค่าเฉลี่ย 3.43) ตามลำดับ และมีระดับความมั่นคงของวิสาหกิจชุมชน โดยรวมนั้นมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.90) และเมื่อพิจรณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทั้ง 3 ด้าน โดยสามารถเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ ด้านความยั่งยืน (ค่าเฉลี่ย 4.19) รองลงมาคือด้านการขยายต่อ/การพัฒนา (ค่าเฉลี่ย 3.92) และด้านความเข้มแข็ง (ค่าเฉลี่ย 3.60) ตามลำดับ และ 2) การจัดการธุรกิจชุมชนในช่วงภาวะวิกฤตโควิด-19 ในภาพรวม มีความสัมพันธ์กับความมั่นคงในระดับสูง (r=0.724) เมื่อพิจารณาตัวแปรย่อยจะพบว่ามีความสัมพันธ์สูง 4 ตัวแปรโดยสามารถเรียงจากลำดับมากไปน้อยได้ดังนี้ ด้านบัญชีและการเงิน (r=0.650) ด้านการจัดการ (r=0.595) และด้านการผลิต (r=0.551) และมีความสัมพันธ์ปานกลาง จำนวน 1 ตัวแปร ได้แก่ ด้านการตลาด (r=0.418)</p>
นิพนธ์ เขมากโรทัย
ธีระพงษ์ ภูริปาณิก
ชยาภรณ์ จตุรพรประสิทธิ์
Copyright (c) 2024 วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง
2024-12-28
2024-12-28
13 2
89
108
-
การนำนโยบายแรงงานต่างด้าวไปสู่การปฏิบัติในจังหวัดชลบุรี
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/papojournal/article/view/281961
<p> ในการศึกษาเรื่อง “การนำนโยบายแรงงานต่างด้าวไปสู่การปฏิบัติในจังหวัดชลบุรี” วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาการนำนโยบายแรงงานต่างด้าวไปสู่การปฏิบัติในจังหวัดชลบุรี 2. เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคในการนำนโยบายแรงงานต่างด้าวไปปฏิบัติในจังหวัดชลบุรี และ 3. เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาในการนำนโยบายแรงงานต่างด้าวไปปฏิบัติในจังหวัดชลบุรี ผู้วิจัยได้กำหนดวิธีการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed method) วิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research )และวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) ใช้วิธีการกำหนดขอบเขตของพื้นที่ (Purposive) วิเคราะห์ด้วยวิธีวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content analysis) และเชิงปริมาณวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรใช้สถิติ Correlation โดยการอธิบายเชิงพรรณนาความสัมพันธ์ (r) ผลการศึกษา พบว่า 1. การศึกษาการนำนโยบายแรงงานต่างด้าวไปปฏิบัติในจังหวัดชลบุรี พบว่า นโยบายแรงงานต่างด้าวในอำนาจหน้าที่ของกลุ่มงานความมั่นคงในหน้าที่ภารกิจของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย เป็นการดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงภายใน โดยถือได้ว่ารัฐบาลมีความพยายามที่จะกำหนดนโยบายให้ดีเพื่อนำมาใช้ในการแก้ปัญหาซึ่งภาครัฐอาจมองในประเด็นความมั่นคง แต่นโยบายนี้มีผลดีต่อด้านอื่น ๆ ด้วยทั้งด้านนายจ้างและลูกจ้างการนำนโยบายไปปฏิบัติคงใช้กับแรงงานทั้งหมด และภาพรวมการนำนโยบายแรงงานต่างด้าวไปปฏิบัติในจังหวัดชลบุรีโดยเจ้าหน้าที่สามารถนำไปปฏิบัติได้อยู่ในระดับมาก 2. การศึกษาพบว่า ปัญหาอุปสรรคการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับนโยบายแรงงานต่างด้าวให้ประชาชนทราบและเข้าใจยังมีน้อยมาก จึงทำให้ประชาชน ผู้นำท้องชุมชน ผู้นำท้องถิ่น และผู้ประกอบการ ยังขาดความรู้ความเข้าใจในข้อกฎหมาย กฎระเบียบ คำสั่งต่างๆ ซึ่งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานและหน่วยงาน มีหน้าที่เกี่ยวข้องจึงทำให้เป็นปัญหาอุปสรรคในการบูรณาการร่วมกันกับผู้นำท้องชุมชนและผู้นำท้องถิ่น ทำให้การทำงานร่วมกันไม่สอดคล้องไปคนละทิศคนละทาง ผู้นำการปฏิบัติไม่กล้าตัดสินใจเมื่อเจออุปสรรค ซึ่งเป็นความไม่เหมาะสมของนโยบาย เพราะจังหวัดชลบุรีเป็นพื้นที่ความเข้มของการปฏิบัติในเรื่องของการป้องกันปราบปรามแรงงานต่างด้าว และ 3. การศึกษาพบว่า แนวทางการไปปฏิบัติตามนโยบายต้องกำหนดให้ชัดเจน ครอบคลุม แน่นอน และเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานนำไปสู่การปฏิบัติได้เห็นผลได้อย่างเป็นรูปธรรม ไม่ก่อให้เกิดความสับสนต่อการปฏิบัติงานตามนโยบายแรงงานต่างด้าวให้ชัดเจน และต่อเนื่อง แนวทางการพัฒนาควรปรับปรุงนโยบายแรงงานต่างด้าวให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ควรอบรมเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานให้มีความรู้ความเข้าใจในหน้าที่ต้องปฏิบัติและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ควรมีภาคีเครือข่ายในการทำงานร่วมกันโดยผู้กำหนดนโยบาย ควรกำหนดให้มีความชัดเจนและควรมีการผ่อนผันเนื่องจากจังหวัดชลบุรีเป็นพื้นที่มีการใช้แรงงานในภาคงานอุตสาหกรรม งานก่อสร้าง งานบริการ และภาคงานเกษตรกรรมเป็นจำนวนมาก ซึ่งนโยบายฯบางอย่างใช้ได้เฉพาะบางพื้นที่เท่านั้น ควรมีการกำหนดนโยบายตามพื้นที่ให้เกิดความเหมาะสม</p>
พระครูสาธิตกิตติญาณ ยศฐาศักดิ์
สกุล วงษ์กาฬสินธุ์
ลือชัย วงษ์ทอง
Copyright (c) 2024 วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง
2024-12-28
2024-12-28
13 2
109
131
-
ประสิทธิภาพการฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางรัฐศาสตร์ ภาควิชารัฐศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/papojournal/article/view/282790
<p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ และ 3) เสนอแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods) ประกอบด้วย 1) การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานที่นิสิตเข้ารับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ จำนวน 118 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) การวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญประกอบด้วย นิสิตคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ ที่ฝึกงานในหน่วยงานภาครัฐ จำนวน 5 คน คณาจารย์นิเทศ จำนวน 5 คน และผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานที่นิสิตเข้ารับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ จำนวน 6 หน่วยงาน รวมจำนวน 16 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีสัมภาษณ์เชิงลึก และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า ในภาพรวมประสิทธิภาพการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 4 ด้าน อยู่ในระดับมาก(<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />= 4.02) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านลักษณะส่วนบุคคลอยู่ในลำดับแรก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />= 4.26) รองลงมาได้แก่ ด้านจริยธรรม (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.00) ด้านทักษะ (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 3.98) และด้านความรู้ (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />= 3.84) ตามลำดับ ผลการศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ พบว่า 1) ระยะเวลาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพสั้นเกินไป 2) ระยะเวลาการประสานหน่วยงานเพื่อขออนุญาตฝึกประสบการณ์วิชาชีพน้อยควรให้นิสิตเตรียมติดต่อตั้งแต่ปี 4 เทอม 1 3) ลักษณะงานที่ได้รับมอบหมายในช่วงฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ไม่ตรงกับหลักสูตรที่เรียน ส่วนใหญ่เป็นงานสารบรรณ แต่ทำให้เข้าใจระบบงานสารบรรณของหน่วยงานราชการระดับหนึ่ง สำหรับแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานการฝึกประสบการณ ได้แก่ 1) ควรมีการแนะแนวการฝึกงานและแนวปฏิบัติ ตั้งแต่ชั้นปีที่ 2 เทอม 2 2) ควรมีการแนะแนวการเลือกสถานที่ฝึกงานให้แก่นิสิตตั้งแต่ปีที่ 3 เทอม 2 3) ควรมีหลักสูตรการพัฒนาบุคลิภาพ และภาวะความเป็นผู้นำ 4) ควรแนะแนวการฝึกงานโดยเจ้าหน้าที่จากแหล่งฝึกแต่ละประเภท</p>
ธัช ขันธประสิทธิ์
Copyright (c) 2024 วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง
2024-12-28
2024-12-28
13 2
132
147
-
ผลกระทบของนิคมอุตสาหกรรมที่มีต่อชุมชน: กรณีศึกษาชุมชนบ้านบนเทศบาลเมืองมาบตาพุด
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/papojournal/article/view/278079
<p> การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาผลกระทบของของนิคมอุตสาหกรรมที่มีต่อชุมชน 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อผลกระทบของของนิคมอุตสาหกรรมที่มีต่อชุมชนจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยในชุมชนบ้านบน เทศบาลเมืองมาบตาพุด จำนวน 343 คนได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบของนิคมอุตสาหกรรมที่มีต่อชุมชนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีค่าความเชื่อมั่น 0.85 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน <br />การวิเคราะห์ค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) กรณีพบความแตกต่างจะดำเนินการทดสอบรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ (Sheffe's Method) โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลกระทบของนิคมอุตสาหกรรมที่มีต่อชุมชนบ้านบนภาพรวมอยู่ในระดับมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />=2.71) เรียงลำดับผลกระทบจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />= 2.95) อยู่ในอันดับที่ 1 รองลงมาเป็นผลกระทบด้านสุขภาพ (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />= 2.82) ผลกระทบด้านสังคม (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />= 2.95) และผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />= 2.47 ) ตามลำดับ 2) ประชาชนที่มีเพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา รายได้ อาชีพ สมาชิกในครอบครัวต่างกันมีความคิดเห็นต่อผลกระทบแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสิติที่ระดับ 0.05 ยกเว้นประชาชนที่มีระยะเวลาอยู่ในชุมชนต่างกันมีความคิดเห็นต่อผลกระทบของของนิคมอุตสาหกรรมไม่แตกต่างกัน</p>
ชนุตม์ หอมหวล
สุปราณี ธรรมพิทักษ์
Copyright (c) 2024 วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง
2024-12-28
2024-12-28
13 2
148
165
-
แนวทางสหวิทยาการสำหรับการพัฒนานโยบายผู้สูงอายุ
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/papojournal/article/view/278299
<p> บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เข้าใจการศึกษานโยบายผู้สูงอายุตามแนวทาง สหสาขาวิชา 2) สำรวจมุมมองสาขาต่าง ๆ ต่อการศึกษานโยบายสาธารณะ เช่น สาขาวิชาวิทยาการว่าด้วยผู้สูงอายุสาธารณสุข สังคมวิทยา เศรษฐศาสตร์ จิตวิทยา และรัฐประศาสนศาสตร์ 3) ปัญหาอุปสรรคการศึกษานโยบายผู้สูงอายุตามแนวทางสหวิทยาการ และ 4) แนวทางในการส่งเสริมการศึกษาเรื่องผู้สูงอายุตามแนวทางสหวิทยาการ การศึกษาพบว่า 1) การทำงานร่วมกันข้ามสาขาวิชาและการบูรณาการมุมมองจากหลายสาขานั้นเป็นการสร้างความเข้าใจที่ครอบคลุมและเป็นรากฐานที่แข็งแรงสำหรับการพัฒนานโยบายที่มีประสิทธิผลและมีคุณภาพสำหรับผู้สูงอายุในสังคมในระยะยาว 2) สาขาที่ศึกษานโยบายสาธารณะ เช่น สาขาพฤฒาวิทยาเป็นการศึกษาเกี่ยวกับการสูงอายุที่ให้ข้อมูลที่ลึกซึ้งในแง่มุมต่าง ๆ เกี่ยวกับผลกระทบของการสูงอายุต่อบุคคล ครอบครัว ชุมชน และสังคม 3) ปัญหาอุปสรรคที่ทำให้การศึกษาตามแนวทาง สหวิทยาการไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควรในการพัฒนาและการดำเนินนโยบายผู้สูงอายุ อุปสรรคสำคัญที่ขัดขวางการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิผลระหว่างผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขา เช่น ความแตกต่างในมุมมอง อุปสรรคในการสื่อสาร ข้อจำกัดด้านทรัพยากร และ 4) การใช้แนวทางสหวิทยาการในการพัฒนานโยบายผู้สูงอายุนี้ยังเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการจัดการกับความซับซ้อนและความหลากหลายของผู้สูงอายุและนำไปสู่พัฒนานโยบายที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุในอนาคต</p>
ปิยากร หวังมหาพร
Copyright (c) 2024 วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง
2024-12-28
2024-12-28
13 2
36
52