การพัฒนาระบบการจัดการเพื่อการขับเคลื่อนผลงานวิจัยไปสู่การพัฒนาจังหวัด

Main Article Content

วิศท์ เศรษฐกร
ธนวิทย์ บุตรอุดม
วิยดา เหล่มตระกูล

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาการพัฒนาระบบการจัดการเพื่อการขับเคลื่อนผลงานวิจัยไปสู่การพัฒนาจังหวัด เนื่องด้วยการจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ภายใต้แนวความคิด “หนึ่งคณะ หนึ่งโมเดล”มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง โดยแนวคิด “หนึ่งคณะ หนึ่งโมเดล” มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างระบบบริหารจัดการงานวิจัยให้กับคณะต่าง ๆ ที่เข้าร่วมโครงการควบคู่ไปกับโครงการสร้างนักวิจัยเพื่อพัฒนาพื้นที่หรือรับใช้สังคมภายใต้การสนับสนุนด้านงบประมาณจาก สกว. และมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง โดยคาดหวังให้คณะสามารถใช้กระบวนการวิจัยเป็นเครื่องมือในการพัฒนาพื้นที่


          ผลการวิจัยพบว่า 1.ระบบพัฒนาโจทย์การวิจัยและข้อเสนอโครงการวิจัย เพื่อให้การวิจัยตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้ประโยชน์จากงานวิจัยในส่วนของปัจจัยนำเข้าที่ชุมชน องค์กรหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานภาคเอกชน และสถาบันการศึกษาที่เป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาโจทย์การวิจัยแล้ว ข้อคิดเห็นจากหน่วยงานยุทธศาสตร์จังหวัดมีข้อคิดเห็นเพิ่มเติมในส่วนของการดำเนินการจัดเก็บข้อมูลหรือการพิจารณาหาโจทย์วิจัยในพื้นที่นั้น ควรมีหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมในการจัดเก็บข้อมูลเพื่อนำมาสู่การกำหนดประเด็นในการวิจัยซึ่งการการวิจัยที่ผ่านมาโดยส่วนใหญ่เป็นไปตามความต้องการของนักวิจัย (Demand) โดยยังขาดการมีส่วนร่วมของหน่วยงานผู้ใช้ประโยชน์จากงานวิจัยในระดับจังหวัด (Supply) 2. ระบบการติดตามและสนับสนุนการทำวิจัย ในส่วนของกระบวนการในการสนับสนุนการทำวิจัยเพื่อการพัฒนาจังหวัด นอกจากกระบวนการทำวิจัยในเชิงพื้นที่ที่ประกอบด้วยการร่วมมือกันโดยการใช้การวิจัยเป็นฐาน การอำนวยความสะดวกในการดำเนินการวิจัยแล้ว ควรมีการสนับสนุนให้เกิดการดำเนินการร่วมกันระหว่างเครือข่ายและหน่วยงานผู้ใช้ประโยชน์จากการวิจัย เช่น การประชุมร่วมกันระหว่างนักวิจัยและหน่วยงานผู้ใช้ประโยชน์ การลงพื้นที่ในการดำเนินการวิจัยร่วมกัน รวมถึงมหาวิทยาลัยควรมีหน่วยงานกลางที่ทำหน้าที่เชื่อมโยงระหว่างนักวิจัยและผู้ใช้ประโยชน์จากงานวิจัย 3. ระบบการขับเคลื่อนงานวิจัยไปสู่การพัฒนาท้องถิ่น ในส่วนของกระบวนการขับเคลื่อนงานวิจัยโดยการนำเสนอผลงานวิจัยต่อผู้ใช้ประโยชน์ ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การจัดนิทรรศการเพื่อนำเสนอผลงานวิจัยสู่หน่วยงานในระดับจังหวัดแล้ว มหาวิทยาลัยควรมีการสังเคราะห์งานวิจัยที่มีลักษณะเดียวกัน ที่ดำเนินการโดยหลายแผนงานวิจัยรวมถึงโครงการย่อยที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เห็นภาพรวมทั้งโครงการตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ นำไปสู่การเสนอแนะในเชิงนโยบายและนำไปสู่การตอบสนองต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาในระดับจังหวัด


คำสำคัญ : การบริหารจัดการงานวิจัย การพัฒนาจังหวัด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง
คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง. การสร้างขบวนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง. ออนไลน์
สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2560.
คณะอนุกรรมการส่งเสริมการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคเกษตรและชนบท.(2558). คู่มือการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคการเกษตรและชนบท และด้านความมั่นคง. กรุงเทพฯ : คณะอนุกรรมการ.
ฉัตรนภา พรหมมา. (2551). รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนานักจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่ของเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏและองค์กรท้องถิ่น เขตภาคเหนือตอนล่าง. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. เอกสารอัดสำเนา.
ปิยะวัติ บุญ-หลง. (2558). โครงการพัฒนาเครือข่ายวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยและเครือข่ายการบริหารจัดการในมหาวิทยาลัย เพื่อสนับสนุนงานวิจัยนวัตกรรมเพื่อสังคมและชุมชน. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
วิพัฒน์ หมั่นการและคณะ. (2558). โครงการพัฒนาการจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่ในจังหวัดลำปาง ภายใต้แนวคิด “หนึ่งคณะ หนึ่งโมเดล”. ลำปาง : มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.
สุธีระ ประเสริฐสรรพ์. (2556). กระบวนการงานวิจัยเพื่อพัฒนาพื้นที่ แนวทางการพัฒนางานวิจัยเพื่อรับใช้
สังคม. กรุงเทพฯ: บริษัท ซีโน พับลิชชิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด.
สีลาภรณ์ บัวสาย. (2551). ABC : การวิจัยรูปแบบใหม่เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)