การศึกษาผลกระทบทางกฎหมายกรณีที่ประเทศไทยจะให้สัตยาบัน อนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 190 ว่าด้วย การขจัดความรุนแรงและการคุกคามในโลกแห่งการทำงาน

Main Article Content

อาทิตยา โภคสุทธิ์
ชญานาภา ลมัยวงษ์
พิมุข สุศีลสัมพันธ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 รวมถึงกฎหมายฉบับอื่นที่เกี่ยวข้องกับการให้คุ้มครองแรงงานจากการใช้ความรุนแรงและคุกคามสิทธิ 2) เพื่อศึกษาอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศฉบับที่ 190 ว่าด้วยการขจัดความรุนแรงและการคุกคามในโลกแห่งการทำงาน ค.ศ.2019 3) เพื่อวิเคราะห์พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 รวมถึงกฎหมายฉบับอื่นที่เกี่ยวข้องกับการให้คุ้มครองแรงงานจากการใช้ความรุนแรงและการคุกคามสิทธิ เปรียบเทียบกับอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศฉบับที่ 190 ว่าด้วยการขจัดความรุนแรงและการคุกคามในโลกแห่งการทำงาน ค.ศ.2019 และ 4) เพื่อหาข้อเสนอแนะในการพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองแรงงานจากการใช้ความรุนแรงและคุกคามสิทธิให้มีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ โดยใช้วิธีดำเนินการวิจัยจากหนังสือ บทความ วิทยานิพนธ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้อง


ผลการวิจัยพบว่าประเทศไทยไม่มีกฎหมายเฉพาะที่ตราขึ้นเพื่อกำหนดมาตรการในการขจัดความรุนแรงและการคุกคามในการทำงานไว้โดยตรง แต่ก็มีหลักการบางประการของอนุสัญญาฉบับที่ 190 ว่าด้วยการขจัดความรุนแรงและการคุกคามในโลกแห่งการทำงาน ค.ศ.2019  ปรากฏอยู่ในกฎหมายภายในของประเทศไทยหลายฉบับ ซึ่งมีความมุ่งหมายเพื่อใช้บังคับตามเจตนารมณ์ของกฎหมายแต่ละฉบับแตกต่างกันไป โดยมิได้ใช้คุ้มครองแรงงานจากการใช้ความรุนแรงและการคุกคามโดยเฉพาะ และยังมีหลายประเด็นที่ไม่มีการบัญญัติไว้ตามหลักการของอนุสัญญาฉบับที่ 190 ว่าด้วยการขจัดความรุนแรงและการคุกคามในโลกแห่งการทำงาน ค.ศ.2019


ข้อเสนอแนะจากการวิจัยพบว่า ควรมีการบัญญัติกฎหมายที่กำหนดมาตรการเพื่อให้ความคุ้มครองแรงงานจากการใช้ความรุนแรงและการคุกคามในการทำงานไว้เป็นการเฉพาะ โดยมีหลักการที่ครอบคลุมตามที่อนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศฉบับที่ 190 กำหนด เพื่อให้การคุ้มครองแรงงานเป็นไปอย่างเหมาะสม เพียงพอ และสอดคล้องกับหลักการสากล อย่างไรก็ตาม ในระหว่างที่ยังไม่มีการบัญญัติกฎหมายเฉพาะขึ้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการสร้างความตระหนัก ให้ความรู้ หรือวางแนวปฏิบัติที่ดีแก่นายจ้าง ลูกจ้าง หรือสถานประกอบกิจการต่าง ๆ เกี่ยวกับหลักการคุ้มครองแรงงานให้ปราศจากการใช้ความรุนแรงและการคุกคามในการทำงาน เพื่อป้องกันยับยั้งมิให้เกิดเรื่องดังกล่าวขึ้น ตลอดจนควรมีกลไกควบคุมตรวจสอบผ่านพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการควบคุมตรวจสอบสถานประกอบการ นายจ้างหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง มิให้กระทำการด้วยความรุนแรงหรือคุกคามต่อแรงงาน


 


 

Article Details

บท
บทความวิจัย