ความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการส่วนกลาง กรมทรัพยากรน้ำบาดาล

Main Article Content

กรกฏ แน่นหนา
ปิยากร หวังมหาพร

บทคัดย่อ

                   การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการส่วนกลาง กรมทรัพยากรน้ำบาดาล  2) เปรียบเทียบระดับความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการส่วนกลาง กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ที่มีปัจจัยด้านลักษณะส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านลักษณะงาน ลักษณะขององค์การ และปัจจัยด้านประสบการณ์ในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการส่วนกลาง กรมทรัพยากรน้ำบาดาล เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการส่วนกลาง กรมทรัพยากรน้ำบาดาล จำนวน 143 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
                   ผลการวิจัยพบว่า ความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการส่วนกลาง กรมทรัพยากรน้ำบาดาล อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.784 การศึกษาในแต่ละด้านพบว่า ด้านความเต็มใจในการปฏิบัติงาน มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.319 สำหรับด้านความต้องการที่จะรักษาความเป็นสมาชิกขององค์การ และด้านความเชื่อถือและการยอมรับเป้าหมายและค่านิยมขององค์การ มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.582 และ 3.517 ตามลำดับ ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ข้าราชการส่วนกลางที่มีสถานภาพต่างกันมีความผูกพันต่อองค์การแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้ปัจจัยด้านลักษณะงาน ปัจจัยด้านลักษณะขององค์การ และปัจจัยด้าน ประสบการณ์ในการทำงาน มีความสัมพันธ์ต่อองค์การของข้าราชการส่วนกลาง กรมทรัพยากรน้ำบาดาล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2551). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ธัญญพัทธ์ ฉัตรชัยมงคล. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรองค์การคลังสินค้า กระทรวงพาณิชย์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, คณะรัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ธันยพร ทองประเสริฐ. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์กร กรณีศึกษา พนักงานเจเนอเรชั่นวาย ธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน). ค้นคว้าอิสระเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

นิราวรณ์ พรหมกสิกร. (2560). ความผูกพันองค์การและผลการปฏิบัติงานของข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ช. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, คณะรัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ปารณีย์ ทองยอดเกรื่อง. (2559). ความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, คณะรัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พงศ์ภัค วิ่งเร็ว. (2559). คุณภาพชีวิตการทำงานและความผูกพันต่อองค์การของเจ้าหน้าที่สำนักงานคุมประพฤติจังหวัดสมุทรปราการ. งานนิพนธ์รัฐประศาสนสตรมหาบัณฑิต, สาขาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน, มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.). (2557). พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.).

สิทธิพันธ์ พุทธหุน, ชลิดา ศรมณี, เฉลิมพล ศรีหงษ์, เสาวลักษณ์ สุขวิรัช และวิโรจน์ ก่อสกุล. (2561). ความผูกพันขององค์กรของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: ศึกษาเฉพาะกรณีสำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร., 6(3), 876.

อภิญญา พึ่งฉิ่ง. (2561). ความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานสายสนับสนุน กรณีศึกษา : วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการบริหารและพัฒนาสังคม, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Buchanan, B. (1974). Building Organizational Commitment: The Socialization of Manager in Work Organization. Administrative Science Quarterly, 19(4), 533-546.

Dickman, S. (1996). Tourism: An Introductory Text. Sydney: Hodder Education.

Porter, L. W., & other. (1974). Organizational Commitment, Job Satisfaction, and Turnover Among Psychiatric Technicians. Journal of Applied Psychology, 59(5), 603-609.

Steers, R. M. (1977). Organizational Effectiveness: A Behavioral View. California: Goodyear Publishing Company.