การศึกษาประสบการณ์ด้านการเสพสารเสพติด และจริยธรรม คุณธรรมค่านิยมที่ได้รับการปลูกฝังมาของเยาวชนที่เสพและไม่เสพสารเสพติดในเขตพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา

Main Article Content

ปกรณ์ มณีปกรณ์

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ด้านการเสพสารเสพติด ของเยาวชนที่เสพสารเสพติดในจังหวัดฉะเชิงเทรา และเพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับจริยธรรมคุณธรรมค่านิยมของเยาวชนในเขตพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ที่ได้รับการปลูกฝังมา ของเยาวชนที่เสพสารเสพติด และเยาวชนที่ไม่เสพสารเสพติด ทำการศึกษาด้วยการวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากประชากร 2 กลุ่ม ได้แก่  กลุ่มเป้าหมายกลุ่มแรกคือเยาวชนกลุ่มที่ไม่เสพสารเสพติดที่มีความประพฤติดีอยู่ ในระบบการศึกษา ณ โรงเรียน จนวน 69 คน กลุ่มที่สองคือ เยาวชนกลุ่มที่เสพสารเสพติดและกําลังถูกบำบัดฟื้นฟูอยู่ในสถานพินิจจังหวัดฉะเชิงเทรา จนวน 79 คน รวมประชากรเป้าหมายทั้งสิ้น 148 คน ผลการศึกษาพบว่า 1. ประสบการณ์ด้านการเสพสารเสพติด  พบว่า เยาวชนที่เสพสารเสพติด นั้นไม่มีสมาชิกในครอบครัวเสพสารเสพติด  ส่วนใหญ่เสพหลายชนิดรวมกัน   สาเหตุที่เสพคือ ต้องการทดลองดูเพื่อเป็นประสบการณ์ โดยเริ่มใช้สารเสพติดครั้งแรกเมื่ออายุ 13 – 15 ปี  และ ความถี่ของการใช้สารเสพติด คือเสพทุกวัน  2.  กลุ่มเยาวชนที่เสพสารเสพติด ในภาพรวมมีการยอมรับจริยธรรม คุณธรรม และค่านิยม ในระดับไม่แน่ใจต่อการยอมรับจริยธรรม คุณธรรม และค่านิยมที่ได้รับการปลูกฝังเกี่ยวกับการเสพสารเสพติด และ 3. กลุ่มเยาวชนที่ไม่เสพสารเสพติด ในภาพรวมมีการยอมรับจริยธรรม คุณธรรม และค่านิยม ในระดับไม่เห็นด้วย ต่อการยอมรับจริยธรรม คุณธรรม และค่านิยมที่ได้รับการปลูกฝังเกี่ยวกับการเสพสารเสพติด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณะสุข. (2560). คู่มือการดำเนินงานโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด TO BE NUMBER ONE ฉบับปรับปรุงใหม่ พ.ศ.2560. วันที่ค้นข้อมูล 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563, เข้าถึงได้จาก http://www.tobefriend.in.th/dataservice/ds2-manualAndTech.php

วินิจ ผาเจริญ และทวี เลียวประโคน. (2563). คุณธรรม จริยธรรมกับ พฤติกรรมของเด็กและเยาวชนในสังคมไทย. วารสารรัตนปัญญา, ปีที่ 5, ฉบับที่ 2, หน้า 246 – 255.

ศูนย์วิชาการด้านยาเสพติด สํานักงานปราบปรามยาเสพติด. (2550). ข้อมูลเกี่ยวกับยาเสพติด. วันที่ค้นข้อมูล 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562, เข้าถึงได้จาก https://nctc.oncb.go.th/ewt_news.php?nid=440&filename=index

ศิริวรรณ กมลสุขสถิต. (2563). แนวทางในการป้องกันและแก้ไขการกระทำผิดซ้ำของเด็กและเยาวชนในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดโดยอาศัยปัจจัยที่เป็นตัวทํานายทางด้านอาชญาวิทยา. วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, ปีที่ 7, ฉบับที่ 1, หน้า 1-19.

สถานีตำรวจภูธรฉะเชิงเทรา. (2563). รายงานสถานการณ์การเสพยาเสพติดในจังหวัดฉะเชิงเทรา. ฉะเชิงเทรา : สถานีตำรวจภูธรฉะเชิงเทรา.

สถาบันการพัฒนาพื้นฐาน. (2552). ปัญหาเยาวชนติดสารระเหยในชุมชนแออัด คลองเตย. เอกสารประกอบการประชุม. กรุงเทพฯ : สถาบันการพัฒนาพื้นฐาน.

Agnew and White, (1992). Am Empirical Test of General Strain Theory, Vol.13(4) ; 475.

Hirschi, Travis. (1969). Causes of delinquency. Berkeley and Los Angeles. CA: University of California Press.