ระบบการบริหารจัดการกำลังคนคุณภาพในภาคราชการไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมแนวคิดการบริหารกำลังคนคุณภาพในภาครัฐ ภายใต้แนวคิดระบบข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูง (High Performance and Potential System: HiPPs) และการนำแนวคิดระบบข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูง (High Performance and Potential System: HiPPs) มาใช้ในระบบราชการไทย บทความนี้เป็นบทความวิชาการที่มีวิธีการศึกษาจากเอกสาร (Documents) ที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดระบบข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูง (High Performance and Potential System: HiPPs) รวมถึงเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการนำแนวคิดดังกล่าวมาปฏิบัติ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการศึกษาพบว่า ในยุคปัจจุบันที่องค์กรภาครัฐต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นสาเหตุให้การจัดการทรัพยากรมนุษย์ต้องมีการปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น องค์กรใดที่ให้ความสำคัญต่อการบริหารจัดการ และสามารถดูแลรักษา Talent People ที่เป็นทุนมนุษย์ขององค์กรไว้ได้ องค์กรนั้นก็จะได้เปรียบในเชิงแข่งขันและสามารถฟันฝ่าอุปสรรคและวิกฤติต่าง ๆ ทั้งในปัจจุบัน และอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ระบบ HiPPS ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อเป็นระบบในการคัดกรองข้าราชการที่มีคุณภาพสูง โดยมีพื้นฐานหลักมาจากการมุ่งไปสู่ผลสัมฤทธิ์ที่ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง การประเมินที่เป็นระบบ มีความเป็นธรรม และมุ่งเน้นการทำงานเป็นทีม ส่งผลกระทบเชิงบวกต่อหน่วยงานหลากหลายประการทั้งเรื่อง การได้บุคลากรที่มีคุณภาพ มีมุมมองในการทำงานที่ดี เกิดแรงจูงใจในการทำงานในระบบราชการ มีแนวทางความก้าวหน้าในหน้าที่การงานมากขึ้น มีการแข่งขันการสร้างผลงาน ทั้งนี้การนำแนวคิดระบบข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูง (High Performance and Potential System: HiPPs) มาใช้ในระบบราชการไทยสามารถนำมาใช้เกิดประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม โดยมุ่งเน้นคัดเลือกบุคลากรของหน่วยงานต่าง ๆ เข้าอบรมฝึกฝนการปฏิบัติแบบเป็นทีม มีกิจกรรมสร้างการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงาน เพื่อสร้างประสบการณ์ ซึ่งมี ความโดดเด่นในเรื่องความต่อเนื่องในการพัฒนาบุคลากร และการมีผลผลิต ผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม
Article Details
References
ปกรณ์ ศิริประกอบ. (2559). 3 พาราไดม์ทางรัฐประศาสนศาสตร์: แนวคิด ทฤษฎี และการนำไปปฏิบัติจริง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศูนย์นักบริหารระดับสูง สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2563). คู่มือการบริหารจัดการกำลังคนคุณภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.
ศูนย์นักบริหารระดับสูง สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2563). รายงานประจำปีระบบข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูง ปีงบประมาณ 2562. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.
เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ. (2554). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรัฐประศาสนศาสตร์. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์ จำกัด.
วรเดช จันทรศร. (2554). ทฤษฎีการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2562). กำลังคนภาครัฐ 2561: ข้าราชการพลเรือนสามัญ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.
สำนักบริหารทรัพยากรบุคคล กรมการแพทย์. (2559). คู่มือข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูง. กรุงเทพฯ: กรมการแพทย์.
สำนักพัฒนาระบบจำแนกตำแหน่งและค่าตอบแทน สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2562). มาตรการบริหารจัดการกำหลังคนภาครัฐ (พ.ศ. 2562 – 2565). กรุงเทพฯ: สำนักงาคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.
อังศินันท์ อินทรกำแหง และคณะ. (2563). การติดตามและประเมินผลการใช้ประโยชน์กลุ่มกำลังคนคุณภาพ: กรณีศึกษาระบบราชการไทย. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, 12(1), 56-73.
อังศินันท์ อินทรกำแหง และวนริสรา พึ่งโพธิ์สภ. (2556). การปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารกำลังคนคุณภาพเพื่อความต่อเนื่องในการบริหารราชการ. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.