การถือครองที่ดินในพื้นที่อ่าวตราด จังหวัดตราด: ปัญหาความขัดแย้งและทางเลือกการแก้ไขปัญหา

Main Article Content

ชยาภรณ์ จตุรพรประสิทธิ์
สกฤติ อิสริยานนท์

บทคัดย่อ

               บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาทบทวนสภาพปัญหาความขัดแย้งเกี่ยวกับการถือครองที่ดินในพื้นที่อ่าวตราด จังหวัดตราด  2) เพื่อนำเสนอทางเลือกให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายหรือมาตรการในการจัดการปัญหาความขัดแย้งประเด็นปัญหาที่ดิน พื้นที่อ่าวตราด จังหวัดตราดการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลอยู่ 3 วิธีการ คือ 1) การศึกษาจากเอกสาร 2) การสัมภาษณ์ และ 3) การสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม โดยผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 พบว่า สภาพปัญหาที่ดินของพื้นที่อ่าวตราด จังหวัดตราด ถือเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมา เนื่องมาจากปัญหาความขัดแย้งเกี่ยวกับการถือครองที่ดินของระบบและการจัดการเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในการถือครองที่ดินนับตั้งแต่ในอดีต รวมถึงนโยบายต่าง ๆ ของภาครัฐ โดยมีปัญหาที่สำคัญใหญ่ 2 ประการ ได้แก่ 1) สภาพปัญหาและความขัดแย้งที่เกี่ยวข้องกับการทับซ้อนของสิทธิในการถือครองที่ดิน คือ ปัญหาพื้นที่ทับซ้อนของประชาชนและการบุกรุกกับที่ดินของรัฐ ปัญหาพื้นที่ทับซ้อนของประชาชนกับที่ดินของนายทุน ปัญหาการครอบครองที่ดินโดยไม่ถูกต้อง ปัญหาไม่มีที่ดินทำกินของประชาชน ปัญหาที่ดินหลุดมือ และปัญหาพื้นที่แนวเขตการปกครองทับซ้อนกับที่ดินของประชาชน 2) สภาพปัญหาและความขัดแย้งที่เชื่อมโยงเรื่องการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ ปัญหาเรื่องการใช้ที่ดินทับซ้อนระหว่างประชาชนกับรัฐ ประชาชนกับนายทุน ปัญหาการจัดการทรัพยากรที่เกี่ยวข้องกับที่ดิน และผลการศึกษาจากวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 พบว่า ทางเลือกในการขับเคลื่อนในการแก้ไขปัญหาโดยการจัดการทรัพยากรร่วมกันภายใต้การขับเคลื่อนในลักษณะภาคีเครือข่ายสาธารณะ รวมไปถึงรัฐควรนำแนวคิดยุติธรรมชุมชนซึ่งเป็นกระบวนการยุติธรรมทางเลือกเข้ามาใช้ในการจัดการทรัพยากรบนพื้นฐานของความร่วมมือของชุมชน เป็นทางเลือกในการแก้ไขปัญหาที่ดินร่วมกับประชาชนในพื้นที่เพื่อลดความรุนแรงลง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติพงษ์ กิตยารักษ์. (2545). กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์: ทางเลือกใหม่สำหรับกระบวนการยุติธรรมไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

กองพัฒนายุติธรรมชุมชน. (2557). บทบาทหน้าที่ของส่วนราชการสังกัดกระทรวงยุติธรรมในการดำเนินงานตามแนวทางการรับและแจ้งเรื่องราวร้องทุกข์ตามนโยบายการอำนวยความยุติธรรม เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคม. ในเอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการ. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม.

คณะทำงานแก้ปัญหาที่ดินทำกินที่อยู่อาศัย ตำบลเกาะหมาก. (2559). การแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยตำบลเกาะหมาก. ตราด: คณะทำงานแก้ปัญหาที่ดินทำกินที่อยู่อาศัย ตำบลเกาะหมาก.

คณะทำงานแก้ปัญหาที่ดินทำกินที่อยู่อาศัย ตำบลคลองใหญ่. (2559). แนวทางการพัฒนา ที่ดินทำกิน ที่อยู่ อาศัย ตำบลคลองใหญ่ อ.แหลมงอบ จ.ตราด. ตราด: คณะทำงานแก้ปัญหาที่ดินทำกินที่อยู่อาศัย ตำบลคลองใหญ่.

คณะทำงานแก้ปัญหาที่ดินทำกินที่อยู่อาศัย ตำบลชำราก. (2559). การแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยตำบลชำราก. ตราด: คณะทำงานแก้ปัญหาที่ดินทำกินที่อยู่อาศัย ตำบลชำราก.

คณะทำงานแก้ปัญหาที่ดินทำกินที่อยู่อาศัย ตำบลหนองคันทรง. (2559). แนวทางการพัฒนาที่อยู่อาศัยตำบล หนองคันทรง. ตราด: คณะทำงานแก้ปัญหาที่ดินทำกินที่อยู่อาศัย ตำบลหนองคันทรง.

เครือข่ายภูมินิเวศน์อ่าวตราด. (2559). พื้นที่ “อ่าวตราด” จ.ตราด. ตราด: เครือข่ายภูมินิเวศน์อ่าวตราด.

เครือข่ายวิชาการเพื่อการปฏิรูป. (2556). รายงาน: ภาพรวมปัญหาที่ดิน และแนวทางแก้ไข. วันที่ค้นข้อมูล 18 มกราคม 2559, เข้าถึงได้จาก http://v-reform.org/v-report/ภาพรวมปัญหาที่ดิน-และแน/

จุฑารัตน์ เอื้ออำนวย และคณะ. (2548). กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์: การคืนอำนาจ แก่เหยื่อ อาชญากรรมและชุมชน. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวินัย (สกว.).

ชล บุนนาค. (2555). แนวคิดว่าด้วยการจัดการทรัพยากรร่วม: ประสบการณ์จากต่างประเทศและแนวคิดใน ประเทศไทย. กรุงเทพฯ: คณะทำงานเครือข่ายวิชาการเพื่อการปฏิรูป คณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป.

ดวงกมล เลาวกุล. (2557). การกระจุกตัวของความมั่งคั่งในสังคมไทย. ในสู่สังคมไทยเสมอหน้า. (หน้า 37-59). กรุงเทพฯ: มติชน.

นิตยา โพธิ์นอก และณัฎฐกาญจน์ ศุกลรัตนเมธี. (2560). ระบบยุติธรรมชุมชนในประเทศประชาคมอาเซียน: กรณีศึกษาสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

ปัทมาวดี โพชนุกูล. (ม.ป.ป.). เอกสารประกอบคำบรรยายเศรษฐศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เบื้องต้น. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ผู้นำชุมชนในพื้นที่อ่าวตราด. (2561, 25 พฤษภาคม). สัมภาษณ์.

สิทธิโชค ลางคุลานนท์ และคณะ. (2563). การจัดการความขัดแย้งเชิงสมานฉันท์ภายใต้แนวคิดยุติธรรม ชุมชน:กรณีศึกษาเครือข่ายยุติธรรมชุมชน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสาร การเมืองการปกครอง, 10(1), 52-73.

สำนักงานจังหวัดตราด. (2560). แผนพัฒนาจังหวัดตราด (พ.ศ. 2557 - 2560) ฉบับทบทวนใหม่ (รอบปี พ.ศ. 2560). ตราด: กลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด สำนักงานจังหวัดตราด.

อภิรดี พลีน้อย และคณะ. (2555). การพัฒนาการจัดการความขัดแย้งในชุมชน โดยใช้กระบวนการไกล่เกลี่ย ข้อพิพาทชุมชนโดยอาสาสมัครไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชุมชน. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม), 39-48.

Braithwaite, J. (1998). Restorative Justice. In M. Tonry (ed). The Handbook of Crime and Punishment. New York. Oxford University Press.

Ostrom, E. (1990). Governing the Commons: The Evolution of Institutions for Collective Action. New York: Cambridge University Press.