แผนสิ่งแวดล้อมชุมชนเพื่อการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม เขตพื้นที่พัฒนาอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ พื้นที่เทศบาลนครแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยเชิงคุณภาพ เรื่อง แผนสิ่งแวดล้อมชุมชนเพื่อการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมเขตพื้นที่พัฒนาอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ พื้นที่เทศบาลนครแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำแผนสิ่งแวดล้อมชุมชน เทศบาลนครแหลมฉบัง กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในงานวิจัย คือ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นฝ่ายการเมือง ฝ่ายข้าราชการประจำ และเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่รับผิดชอบงานเกี่ยวกับเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการประชุมระดมความคิดจากกลุ่มเป้าหมาย 3 กลุ่ม คือ ผู้นำชุมชนและอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา
จากผลจากการวิจัย เจ้าหน้าที่และผู้นำชุมชนในพื้นที่เทศบาลแหลมฉบังมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศในระดับปานกลาง มีข้อจำกัดในด้านความรู้ความสามารถของบุคลากร และเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครแหลมฉบังได้รับการสนับสนุนจากเครือข่ายภาคประชาชนเป็นอย่างดี แต่ผู้นำชุมชนต้องรับบทบาทในการทำงานหลายหน้าที่ ทำให้ไม่สามารถจัดสรรเวลาในการเข้าร่วมครบกิจกรรมและยังไม่มีแนวทางการพัฒนาชุมชนต้นแบบด้านการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามแนวทางการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศสู่เมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืน โดยแผนสิ่งแวดล้อมที่ชุมชนจัดทำขึ้นเป็นโครงการที่มุ่งเน้นการเฝ้าระวังผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ โดยครอบคลุมทั้งมิติสิ่งแวดล้อม กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ
Article Details
References
กนกกาญจน์ น้อยนาช และคณะ. (2558). การส่งเสริมการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษานิคมอุตสาหกรรมบางชัน. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 14(2), 312-319.
กรมโรงงานอุตสาหกรรม. (2558). คู่มือความรู้เกี่ยวกับอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ. กรุงเทพฯ: สำนักส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน กรมโรงงานอุตสาหกรรม.
กรมโรงงานอุตสาหกรรม. (2562). เกณฑ์และตัวชี้วัดการเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ฉบับปรับปรุง ปี พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: กองพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ กรมโรงงานอุตสาหกรรม.
กระทรวงอุตสาหกรรม. (2559). แผนปฏิบัติการตามแผนแม่บทการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ จังหวัดชลบุรี. ชลบุรี: กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม.
กองบริหารงานวิจัยและประกันคุณภาพการศึกษา. (2559). พิมพ์เขียว Thailand 4.0 โมเดลขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความมั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืน. วันที่ค้นข้อมูล 23 สิงหาคม 2563, เข้าถึงได้จาก https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2017/20171114-draeqa-blueprint.pdf
กิตติคุณ แสงนิล และคณะ. (2561). ปัจจัยความสำเร็จในการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ: กรณีศึกษานิคมอุตสาหกรรมบางปู. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 12(3), 463-481.
เทศบาลนครแหลมฉบัง. (2559). แผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปี (พ.ศ.2561-2564) เทศบาลนครแหลมฉบัง. ชลบุรี: เทศบาลนครแหลมฉบัง.
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564). (2559, 30 ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 133 ตอนที่ 115 ก. หน้า 1-215.
พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560. (2560, 15 มกราคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135 ตอนที่ 5 ก. หน้า 1-7.
พระราชบัญญัติการสาธารณสุข (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560. (2560, 22 มิถุนายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 65 ก. หน้า 48.
ธันวดี สุขสาโรจน์ และคณะ. (2562). โครงการจัดทำแผนการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมชุมชน ในเขตพื้นที่พัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ จังหวัดราชบุรี. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.
สภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ. (2504). แผนพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่หนึ่ง พ.ศ. 2504-2509. กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ.
สมชาย มุ้ยจีน. (2557). แนวทางการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศในพื้นที่เทศบาลเมืองมาบตาพุด. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2557). วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน. ปทุมธานี: ฝ่ายวิจัยนโยบาย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.