ประชาธิปไตยไซเบอร์กับการพัฒนาคุณค่าของประชาธิปไตยในประเทศไทย

Main Article Content

พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์

บทคัดย่อ

          บทความนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความหมายของประชาธิปไตยไซเบอร์ในประเทศไทยและนานาชาติ ในงานศึกษารูปแบบต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่ และสร้างนิยามความหมายที่มีประโยชน์ต่อการศึกษาประชาธิปไตยไซเบอร์ที่มีในปัจจุบันในประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาบทบาทของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตและกิจกรรมการเมืองในโลกไซเบอร์ในประเทศไทย และการพัฒนาให้เกิดความเป็นสถาบันทางการเมืองเพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณค่าของประชาธิปไตยของไทย โดยศึกษาในกิจกรรมที่เกิดขึ้นในช่วง ปี พ.ศ. 2560-2561 ซึ่งเป็นช่วงท้ายของรัฐบาลที่มาจากการทำรัฐประหารก่อนการกลับเข้าสู่การเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2562 โดยการสำรวจวรรณกรรม และกิจกรรมทางการเมืองในโลกไซเบอร์ในช่วงเวลาดังกล่าว


          ผลการศึกษาพบว่า ประชาธิปไตยไซเบอร์ (Cyber Democracy) เป็นปรากฏการณ์ของกระบวนการประชาธิปไตยที่ปรากฏขึ้นในโลกอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เรียกว่าพื้นที่ไซเบอร์ (Cyber Space) และแม้ว่าสังคมจะอยู่ในยุคเผด็จการ แต่ประชาชนมีความพยายามที่จะพัฒนาและใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อให้โลกไซเบอร์มีคุณค่าประชาธิปไตยมากขึ้น โดยอินเทอร์เน็ตได้ส่งเสริมการแสดงความคิดเห็นของประชาชน และทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนด และนำเสนอนโยบายภาครัฐมากขึ้นในการสร้างตัวชี้วัดเพื่อกำหนดแนวทางให้ประชาธิปไตยไซเบอร์ให้กลายมาเป็นสถาบันทางการเมืองใหม่ในประเทศไทยนั้น จะต้องประกอบไปด้วย 4 มิติ ได้แก่ การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับประชาสังคมโดยการเพิ่มให้ประชาชนมีส่วนร่วมกับระบอบการเมืองมากขึ้น การพัฒนาสิทธิและเสรีภาพของพลเมืองให้เพิ่มมากขึ้น การสร้างระบบความมั่นคงปลอดภัยให้ประชาชนมากขึ้น และการส่งเสริมให้เกิดสังคมแห่งความรู้ อันจะช่วยให้เกิดการพัฒนาคุณค่าของระบอบประชาธิปไตย

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

- MGR online. (2560 ก). “ปฏิรูปสายรถเมล์” แบบเก่ายังหลง..แบบใหม่ทำ งงอีกแล้ว!!. สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2561, จาก https://mgronline.com/live/detail/9600000080913.
- MGR online. (2560 ข). ถอยดีกว่า... ไม่อ๊าววว ดีกว่า.. จบดรามา! ตำรวจยอมให้นั่งกระบะ-แค็บ ช่วงสงกรานต์. สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2561, จาก https://mgronline.com/live/detail/ 9600000034988.
- Thawinee C. (2560). ขอคัดค้านการปิดสวนสาธารณะพระราม 3 เฉลิมพระเกียรติฯ. สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2561, จาก https://www.change.org/p/การทางพิเศษแห่งประเทศไทย-ขอคัดค้านการปิดสวนสาธารณะพระราม-3-เฉลิมพระเกียรติฯ .
- กรุงเทพธุรกิจ. (2561). เครือข่ายนิสิตฯ ออกแถลงการณ์ปกป้อง "นิสิต มมส" เปิดโปงส่อทุจริตฉาว. สืบค้นเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2561, จาก https:// www.bangkokbiznews.com/news/detail/792323.
- กานต์ ชีวสาธน. (2556). ปรากฏการณ์ล้อเลียนเสียดสีข่าวในรายการทีวีออนไลน์
“เจาะข่าวตื้น” (วิทยานิพนธ์). สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
- ข่าวสด. (2561). ‘บิ๊กตู่’ ฉะพวกทุจริตอาหารกลางวันเด็ก ลั่นต้องสำนึกเรื่องงบประมาณบ้าง. สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2561, จาก https://www.khaosod.co.th/politics/news_1174742.
- คณะกรรมาธิการทหาร วุฒิสภา. (2555). สื่อสังคมออนไลน์กับภัยคุกคามต่อความมั่นคงของชาติ. กรุงเทพฯ : คณะกรรมาธิการทหาร วุฒิสภา.
- ชาญชัย ชัยสุขโกศล. (2552). เทคโนโลยีกับการต่อสู้ทางการเมืองโดยไร้ความรุนแรง: ศึกษากรณีอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย (วิทยานิพนธ์). สาขาวิชารัฐศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
- ณัฐกานต์ กูลณรงค์. (2551). การสื่อสารทางการเมืองบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในช่วงการต่อต้านรัฐบาลทักษิณ (วิทยานิพนธ์). คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
- ไทยรัฐออนไลน์. (2558). ชาวเน็ตแห่ต้าน ‘ซิงเกิล เกตเวย์’ แชร์ภาพไอคอน Wi-Fi ถูกกะลาครอบ. สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2561, จาก https://www.thairath.co.th/content/528235.
- ไทยรัฐออนไลน์. (2559). ศาลรอลงอาญา 2 ปี ‘อานดี้ ฮอลล์’ หมิ่น ’เนเชอรัล ฟรุต’ ละเมิดก.ม.แรงงาน. สืบค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2561, จาก https://www.thairath.co.th/content/728850.
- ไทยรัฐออนไลน์. (2560). ดีเอสไอแจ้งกองปราบเอาผิด ‘พระสนิทวงศ์’ ผิด ม.116 - พ.ร.บ.คอมพ์. สืบค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2561, จาก https://www.thairath.co.th/content/873287.
- ไทยรัฐออนไลน์. (2561). ปปท.จ่อเอาผิด ผอ.ศูนย์ไร้ที่พึ่ง ‘โกง’เงินคนจนกับพวกอีก 5คน. สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2561, จาก https://www.thairath.co.th/content/1203777.
- นิวัติ เนียมพลอย. (2556). ไซเบอร์กับการรักษาความปลอดภัยและการปฏิบัติการ. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2561, จาก https:// nniwat.wordpress.com/2013/11/08.
- ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่องจำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561 (2562, 8 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 136 ตอนพิเศษ 36ง.
- ประชาไท. (2558). 'ภูเก็ตหวาน' ร้อง 'ประยุทธ์' สั่งกองทัพเรือถอนฟ้อง. สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2561, จาก https://prachatai.com/journal/2015/01/57553.
- ประชาไท. (2559). ศาลยกฟ้องนักกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม ปมโพสต์วิจารณ์เหมืองอัครา. สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2561, จาก https://prachatai.com/journal/2016/11/69053.
- ประชาไท. (2560). นริศราวัลถ์ หลานสาวพลทหารวิเชียร เผยอัยการสั่งไม่ฟ้องคดี พ.ร.บ.คอมฯ. สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2561, จาก https://prachatai.com/journal/2017/01/69766.
- พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์. (2561). ประชาธิปไตยไซเบอร์: ข้อเสนอเพื่อการพัฒนาคุณค่าของระบอบประชาธิปไตยผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.
- พิรงรอง รามสูต และนิธิมา คณานิธินันท์. (2547). การกำกับดูแลเนื้อหาอินเทอร์เน็ต. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย.
- มัทนา นันตา. (2556). เว็บไซต์ยูทูบ (ภาษาไทย) กับการสื่อสารความเกลียดชัง (วิทยานิพนธ์). สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
- ยุทธพร อิสรชัย. (2544). อินเตอร์เน็ตกับการเมืองไทย (วิทยานิพนธ์). สาขาวิชาการปกครอง ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
- รัชนีกร ทองทิพย์. (2548). การใช้สื่ออินเตอร์เน็ตเพื่อสร้างพันธมิตรของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมแนวใหม่ (วิทยานิพนธ์). คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
- สาวตรี สุขศรี. (2555). ผลกระทบจากพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และนโยบายของรัฐกับสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น. กรุงเทพฯ: โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) ในมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม.
- สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. (ม.ป.ป.). ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2562, จาก https://webstats.nbtc.go.th/netnbtc/INTERNETUSERS.php.
- สุธาสินี พลอยขาว. (2551). วัจนกรรมการแสดงความไม่พอใจในกระดานสนทนาทางอินเทอร์เน็ต (วิทยานิพนธ์). คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
- สุวิชาภา อ่อนพึ่ง. (2554). ปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550: ศึกษาความผิดเกี่ยวกับการเผยแพร่ข้อมูลอันกระทบต่อความมั่นคงแห่่งราชอาณาจักร (วิทยานิพนธ์). คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
- Barth, Thorsten D., and Schlegelmilch, Willi. (2014). Cyber democracy: The future of democracy?. In Elias G. Carayannis, David F. J. Campbell, and Marios Panagiotis Efthymiopoulos (Eds.), Cyber-development, Cyber-democracy and Cyber-defense: Challenges, opportunities and implications for theory, policy and practice (pp.195-206). New York: Springer.
- Bimber, Bruce. (1998). The internet and political mobilization: Research note on the 1996 election season. Social Science Computer Review, 16(4), pp. 394-404.
- Campbell, David F.J., and Carayannis, Elias G. (2014). Explaining and comparing quality of democracy in quadruple helix structures: The quality of democracy in the United States and in Australia, challenges and opportunities for development. In Elias G. Carayannis, David F. J. Campbell, and Marios Panagiotis Efthymiopoulos (Eds.), Cyber-development, Cyber-democracy and Cyber-defense: Challenges, opportunities and Implications for theory, policy and practice (pp.117-146). New York: Springer.
- Côté, François. (2004). Parliamentary institutions and cyber-democracy. Canadian Parliamentary Review, 27(3), pp.23-26.
- Dalton, Russell J. (2004). Democratic challenges, democratic choices: The Erosion of Political Support in Advanced Industrial Democracies. Oxford: Oxford University Press.
- Fajemisin, Joan Tirwyn. (2012). Cyber-democracy and its impact on politics. Humanities and Social Sciences Review, 1(3), pp.435-446.
- Filzmaier, Peter. (2002). Cyberdemocracy - an issue for civic education. Retrieved November 8, 2015, from https://www.demokratiezentrum.org/fileadmin/media/ pdf/filzmaier_cyberdemocracy.pdf.
- Hauben, Ronda, and Hauben, Michael. (1997). Netizens: On the history and impact of Usenet and the internet. Los Alamitos: Wiley-IEEE Computer Society Press.
- Lynch, Marc. (2013). Twitter Devolutions: How social media is hurting the Arab Spring. Retrieved November 8, 2015, from https://foreignpolicy.com/2013/02/07/twitter-devolutions/.
- Margolis, Michael. (2007). E-Government and democracy. In Russell J. Dalton, and Han-Dieter Klingemann (Eds.), The Oxford handbook of political behavior (pp.765-782). Oxford: Oxford University Press.
- Rheingold, H. (1993). The virtual community: Homesteading on the electronic frontier. Massachusetts: Addison-Wesley.
- Shapiro, Andrew L. (1999). The control revolution: How the internet is putting Individuals in charge and changing the world we know. New York: Public Affairs.
- The Economist. (2016). The post-truth world - yes, i’d lie to you. Retrieved December 20, 2019, from https://www.economist.com/ briefing/2016/09/10/yes-id-lie-to-you.
- Wilkinson, Francis. (2018). Democracy will die, maybe in Its sleep: A Q&A with political scientist David Runciman. Retrieved May 22, 2018, from https://www.bloomberg. com/view/articles/2018-05-22/democracy-s-death-narrated-by-david-runciman.
- World Wide Web Foundation. (2018). World wide web foundation. Retrieved February 11, 2018, from https://webfoundation.org/.