องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในกระบวนการสร้างสันติสุขชายแดนใต้
Main Article Content
บทคัดย่อ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานที่มีความสำคัญต่อกระบวนการสร้างสันติสุขเพราะว่าการดำเนินนโยบายและโครงการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถนำไปสู่การสร้างสันติสุขได้ อย่างไรก็ตามยังคงมีปัจจัยหลายประการที่ส่ง
ผลกระทบต่อการดำเนินโครงการเหล่านั้น ดังนั้นวัตถุประสงค์ของงานวิจัยในครั้งนี้คือ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินโครงการที่นำไปสู่การสร้างสันติสุขขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2) เพื่อเสนอแนะแนวทางที่ช่วยส่งเสริมศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อการดำเนินโครงการที่นำไปสู่การสร้างสันติสุข บทความนี้นำเสนอบนพื้นฐานข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้จากการสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยทำการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจงจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับรางวัลด้านการเสริมสร้างสันติสุขที่อยู่ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้และมีจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยทั้งสิ้น 51 คน ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยขับเคลื่อนมีหลายประการเช่น ความตั้งใจของผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การมีเครือข่ายการทำงานและการสร้างการมีส่วนร่วมกับประชาชนในการดำเนินกิจกรรม อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยอุปสรรคที่ส่งผลต่อการขับเคลื่อนโครงการเช่น ความไม่เข้าใจกันระหว่างผู้บริหารท้องถิ่นและพนักงานส่วนท้องถิ่น ปัญหาการใช้ดุลพินิจของหน่วยตรวจสอบภายนอก การขาดองค์ความรู้ในเชิงวิชาการของบุคลากรและความหวาดระแวงของเจ้าหน้าที่รัฐส่วนกลาง สำหรับข้อเสนอแนะที่จะช่วยเพิ่มศักยภาพในการดำเนินโครงการเสริมสร้างสันติสุข ได้แก่ การนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการจัดการโครงการ การใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในองค์กร การเสริมทักษะเชิงวิชาการให้บุคลากรของท้องถิ่นและการเพิ่มความไว้วางใจต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
Article Details
References
- โกวิท พวงงาม. (2550). การทุจริตคอรัปชั่นในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: มาตรการและกลไกการป้องกัน. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 5(3) หน้า 107-130.
- ณัฐปภัสร์ วรธันย์ผาสุก และชนิตา รักษ์พลเมือง. (2557). การนำเสนอกระบวนการเสริมพลังชุมชนในการเสริมสร้างสันติสุขและความสมานฉันท์ สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 9(2), หน้า 282-296.
- ณัฐศิษย์ เดชาพิพัฒน์กุล, พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส, และพูนสุข มาศรังสรรค์ (2561). แนวทางการสร้างสันติสุขของมหาตมะ คานธี ตามหลักพุทธสันติวิธี. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 6(ฉบับพิเศษ), หน้า 105-118.
- ปิยะมาศ ทัพมงคล และเพียงกมล มานะรัตน์. (2561). ปัญหาและอุปสรรคของการสร้างเครือข่ายของการปกครองส่วนท้องถิ่นในการร่วมอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษาห้วยตองแวดอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารการบริหารปกครอง, 7(2), หน้า 502-541.
- พัชรี โพธิ์เปี้ยศรี และเชิงชาญ จงสมชัย. (2557). ปัญหาการบริหารงานของเทศบาลตำบลในเขตอำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารการเมืองการปกครอง, 4(2), หน้า 259-279.
- พิศมร เพิ่มพูน และจักรชัย สื่อประเสริฐสิทธิ์. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาสามปีขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาสามสิบอำเภอเขาฉกรรจ์จังหวัดสระแก้ว. วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง, 6(1), หน้า 168-211.
- มานิต วัฒนเสน. (2559). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบการบริหารกิจการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารการบริหารท้องถิ่น, 9(2), หน้า 90-107.
- รัฐพล เย็นใจมา และสุรพล สุยะพรหม. (2561). ความขัดแย้งในสังคม: ทฤษฎีและแนวทางแก้ไข. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 7(2), หน้า 224-238.
- วัชราภรณ์ จุ้ยลําเพ็ญ. (2558). การมีส่วนร่วมของประชาชนกับการปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
- วัชราภรณ์ จุ้ยลําเพ็ญ. (2560). การปฏิรูปโครงสร้างการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
- ศิริขวัญ โสดา. (2562). การกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบทั่วไป: กรณีศึกษาการกู้ยืมเงิน. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 5(1), หน้า 12-24.
- ศิริวรรณ มนอัตระผดุง. (2559). การจัดการความขัดแย้งในองค์การอย่างสร้างสรรค์. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 6(2), หน้า 193-208.
- ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์. (2556). แนวทางบริหารท้องถิ่นเพื่อแก้ไขความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้. ใน บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ อารีฟีน ดำรงรัศมี และวิปัญจิต เกตุนุติ (บรรณาธิการ), บูรณาการความรู้ ก้าวสู่สันติภาพ (STEPs TO PEACE) (หน้า 90-92). สงขลา: สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
- สมภพ ระงับทุกข์ และปัญญา คล้ายเดช. (2561). ธรรมาภิบาลในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทย. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 18(3), หน้า 255- 265.
- สรณีย์ สายศร. (2560). ดอกบัวในเปลวเพลิง: แนวทางการสร้างสันติสุขท่ามกลางเปลวสงคราม ของ ติช นัท ฮันห์ ภิกษุเซนแห่งเวียดนาม. วารสารมนุษยศาสตร์, 24(1), หน้า 80-111.
- สะพรั่ง สุขเวชชวรกิจ. (2561). ธรรมาภิบาลในการเมืองท้องถิ่นของไทย. วารสารรัชต์ภาคย์, 12(26), หน้า 42-65.
- สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (ม.ป.ป.). การสร้างมาตรฐานความโปร่งใสของส่วนราชการ. สืบค้นจาก https://www.ocsc.go.th/ sites/default/files/document/ocsc-2017-eb05.pdf
- สุริยานนท์ พลสิม. (ม.ป.ป.). สันติศึกษาเพื่อการบริหารและพัฒนาท้องถิ่น: บริบทของท้องถิ่นไทยกับการจัดการปัญหาความขัดแย้งของสังคมในอนาคต. สืบค้นจาก https://www.cola.kku.ac.th/main2/images/ POR/RS/2557/Suriyanon/1%20Full%20Paper.pdf
- สุไรยา วานิ และมะรอนิง สาแลมิง. (2557). การอยู่ร่วมกันของชุมชนในสังคมพหุวัฒนธรรม กรณีศึกษา ตำบลทรายขาว อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี. วารสารการเมืองการปกครอง, 4(1), หน้า 204-219.
- อโณทัย วัฒนาพร และพินสุดา วงศ์อนันต์. (ม.ป.ป.). รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการปฏิรูปการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ศึกษากรณีความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายการเมืองและฝ่ายบริหาร. สืบค้นจาก https://www.kpi.ac.th/media/pdf/research/58029%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%
B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%
B8%97%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%96%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%99_39eeb
988542fd4a9958af724a461eaf4.pdf
- อุษณากร ทาวะรมย์. (2562). วัฒนธรรมองค์การขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาลนคร และเทศบาลเมืองในจังหวัดชลบุรีและจังหวัดระยอง. วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง, 8(1), หน้า 85-105.
- Bush, K. (2008). The peace-building role of local governments. In Musch, A (Eds.), City Diplomacy, The Hague: Deltahage (pp. 105-122). Retrieved from https://www.vng-international.nl/wp-content/uploads/2015/06/ CityDiplomacyRole_of_Local_GovermentsEngels.pdf
- Jackson, P. and Scott, Z. (2008). Local government in post-conflict environments: United Nations Development Programme Oslo, Norway. Retrieved from https://gsdrc.org/document-library/local-government-in-post-conflict-environments/
- Sizoo, A. and Musch, A. (2008). City diplomacy/ the role of local governments in conflict prevention, peace-building and post-conflict reconstruction. VNG International, The Hague. (pp. 7-26). Retrieved from https://www.vng-international.nl/wp-content/uploads/2015/06/ CityDiplomacyRole_of_Local_GovermentsEngels.pdf