พัทยา 4.0: การค้นหานวัตกรรมเชิงยุทธศาสตร์ และการบริหารการพัฒนา เพื่อผลักดันให้เป็นเมืองชั้นนำระดับโลก

Main Article Content

จักรกฤษณ์ นรนิติผดุงการ
วิภาวี พิจิตบันดาล
เอกลักษณ์ ณัถฤทธิ์
สุภรัติ สุขวิสุทธิ์
อิทธิพล เนธิยคุปต์ สิงขรแก้ว
เกริกเกียรติ แก้วมณี

บทคัดย่อ

           การวิจัยเรื่องนี้กำหนดวัตถุประสงค์ไว้ 3 ประการคือ (1) ศึกษาศักยภาพของการบริหารเมืองพัทยา และสิ่งที่เป็นปัญหาอุปสรรคจากการดำเนินการในปัจจุบัน (2) ศึกษาแนวคิดของผู้มีความรู้และประสบการณ์ และนักอนาคตนิยมในการนำเมืองพัทยาไปสู่เมืองชั้นนำระดับโลกตามนโยบายประเทศไทย 4.0 (3) ศึกษาแนวทางในการนำเมืองพัทยาไปสู่เมืองชั้นนำระดับโลกตามนโยบายประเทศไทย 4.0
            การวิจัยนี้ใช้การศึกษาแบบคาดการณ์อนาคต (Futuristic Forecast) โดยศึกษาจากแหล่งข้อมูลรวม 7 แหล่ง มีทั้งการสังเกตการณ์ การศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ และบุคคลสำคัญในพื้นที่ และการสอบถามผู้ทรงคุณวุฒิระดับชาติ ระดับพื้นที่ และนักวิชาการ
            ผลการศึกษาพบว่า (1) เมืองพัทยามีความเจริญก้าวหน้ามาได้อย่างมากส่วนหนึ่งเกิดจากการบริหารของภาครัฐ และอีกส่วนหนึ่งเพราะภาคเอกชนมีส่วนสนับสนุนและดำเนินการอย่างมีคุณภาพ ส่งผลให้เมืองพัทยามีความพร้อมมากมายหลายด้าน แต่ยังคงมีจุดอ่อนที่สำคัญ ได้แก่ การบริหารงานยังใช้รูปแบบเดิม กล่าวคือทำตามกำลังที่มี ทำตามแบบแผนที่เมืองอื่น ๆ หรือทางส่วนกลางแนะนำให้ทำ การพัฒนาเมืองจึงทำได้ล่าช้าไม่ทันการณ์สำหรับโลกสมัยใหม่ที่มีการแข่งขันสูง (2) การคาดการณ์อนาคตตามความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิระดับชาติและระดับพื้นที่รวมทั้งฝ่ายวิชาการ เห็นว่าเมืองพัทยายังคงเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สอดคล้องกับรสนิยมของชาวต่างชาติและชาวไทย แต่เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอกมีความรวดเร็ว ดังนั้น การปรับให้เมืองพัทยาเป็นเมือง 4.0 ตามที่นักคิดและนักวิชาการกลุ่มนี้ได้นำเสนอจึงมีความสำคัญต่อการพัฒนาเมืองพัทยาอย่างยิ่ง (3) เมืองพัทยาจำเป็นต้องปรับปรุงวิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ให้ครอบคลุม รวมทั้งใช้กรอบความคิดใหม่ ๆ ในการพัฒนาเมือง โดยมีโครงการนำ (The Flagship Projects) ที่จะมีส่วนผลักดันให้เมืองพัทยาเป็นเมือง 4.0 จำนวน 9 โครงการ

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

- กีรติ บุญเจือ. (2547). ตรรกวิทยา และตรรกวิทยาสัญลักษณ์ เบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
- กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. (ม.ป.ป.). คู่มือการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา แผนพัฒนา แผนปฏิบัติการ และการติดตามประเมินผล. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น.
- กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. (2548). คู่มือการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นเทคนิคการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น แนวทางการสนับสนุนการจัดทำแผนแม่บทชุมชนเพื่อตนเองสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น.
- สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. (2560). นโยบาย Thailand 4.0 คืออะไร. วารสารไทยคู่ฟ้า. เล่มที่ 33 (มกราคม-มีนาคม), หน้า 4-5. สืบค้นจาก https://spm.thaigov.go.th/FILEROOM/spm-thaigov/DRAWER004/
GENERAL/DATA0000/00000368.PDF
- Bass, B. M. and Arolio, B. J. (1993). Transformational leadership: A response to critiques. In M. M. Chemers and R. Ayman (Eds.), Leadership Theory and Research Perspectives and Direction (pp.49-50). Sandiago, CA: Academic Press.
- Burns, J. M. and Arolio, B. J. (1994). Improving organizational electiveness through transformation leadership. Newberg Park, CA: Sage Publication.
- Eigen, Jochen. (1996, February). Sustainable cities and local governance: Briefing for the international workshop on approaches to participatory local governance, 1-2 February 1996. New York: United Nations.
- Gilbert, Richard, Stevenson, Don, Girardet, Herbert and Stren, Richard. (1996). Making cities work: The role of local authorities in the urban environment. London: Earth Scan Publications, Ltd.
- Hill, Charles W. L. and Jones, Gareth R. (2009). Theory of strategic management with cases (8th ed.). Mason, Ohio: South-Western.
- Osborne, Stephen P. (Ed.). (2010). The new public governance: Emerging perspectives on the theory and practice of public governance. New York: Rutledge.
- Pattanaik, B. K. (2016). Introduction to development studies. New Delhi: Sagel Texts.
- Wills, Kenneth G., Turner, R. Kerry, and Bateman, Ian J. (2001). Urban planning and management. Cheltenham: Edward Elgar.