ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุพฤติกรรมใฝ่รู้ของผู้ปฏิบัติงานด้านซ่อมและบำรุงรักษาโรงไฟฟ้า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

Main Article Content

จรูญลักษณ์ รัตนมงคลศักดิ์
มานพ ชูนิล
ปิ่นกนก วงศ์ปิ่นเพ็ชร์

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความตรงของแบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมใฝ่รู้ (Knowledge Seeking Behavior) กับข้อมูลเชิงประจักษ์ของประชากร คือ ผู้ปฏิบัติงานด้านซ่อมและบำรุงรักษาโรงไฟฟ้า กลุ่มตัวอย่างคือผู้ปฏิบัติงานด้านซ่อมและบำรุงรักษาโรงไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จำนวน 579 คน จากโรงไฟฟ้าทั่วประเทศจำนวน 15 แห่ง ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multistage Random Sampling) เครื่องมือคือ แบบสอบถาม ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล 5 ตัวแปรได้แก่ การเรียนรู้แบบชี้นำตนเอง (Self-Directed Learning) บุคคลต้นแบบ (Role Model) ทัศนคติที่มีต่อความรู้ (Knowledge Attitude) ความตั้งใจแสวงหาความรู้ (Knowledge Seeking Intension) และพฤติกรรมใฝ่รู้ (Knowledge Seeking Behavior) โดยใช้การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ผลการศึกษาพบว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมใฝ่รู้ของผู้ปฏิบัติงานด้านซ่อมและบำรุงรักษาโรงไฟฟ้ามีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ทั้งนี้ตัวแปรในโมเดลทั้ง 4 ตัว อธิบายความแปรปรวนในตัวแปรพฤติกรรมใฝ่รู้ได้ร้อยละ 56 โดยการเรียนรู้แบบชี้นำตนเอง มีอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรมใฝ่รู้มากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

- ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2553). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่12). กรุงเทพฯ: ฐานบัณฑิต.
- ดารณี พานทอง. (2542). ทฤษฎีการจูงใจ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
- ทิศนา แขมมณี และคณะ. (2541). ทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.
- ธาราริน อร่ามเจริญ. (2543). การวัดสมรรถนะระบบการจัดการซ่อมบำรุงรักษา (วิทยานิพนธ์). สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
- ธีระพร อุวรรณโณ. (2535). ทฤษฎีและการวัดเจตคติ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
- ปิยะ ศักดิ์เจริญ. (2558). ทฤษฎีการเรียนรู้ผู้ใหญ่และแนวคิดการเรียนรู้ด้วยการชี้นำตนเอง : กระบวนการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต.วารสารพยาบาลทหารบก, 16(1), หน้า 8-13.
- สิทธิโชค วรานุสันติกุล. (2546). จิตวิทยาสังคม: ทฤษฎีและการประยุกต์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
- สิริศา จักรบุญมา. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการทำงานของพนักงานฝ่ายบำรุงรักษาในรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง (วิทยานิพนธ์). สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
- สิริอร วิชชาวุธ. (2554). จิตวิทยาการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.
- อโนทัย ตรีวานิช. (2552). สถิติธุรกิจ (พิมพ์ครั้งที่ 4). ขอนแก่น: ขอนแก่นการพิมพ์.
- Ajzen, I. (2002) Constructing a TPB questionnaire: Conceptual and methodological considerations. Retrieved from
https://www.people.umass.edu/aizen/pdf/tpb.measurement. pdf
- Ajzen, I. and Fishbein, M. (1980). Understanding attitude and predicting social behavior. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.
- Bratman, M. (1987). Intention, plans, and practical reason. Cambridge, MA: Havard University Press.
- Bratman, M. (1999). Intention, plans, and practical reason. Cambridge, MA: Havard University Press.
- Bratman, M. (2006). Dynamic of sociality. Midwest Studies in Philosophy, 30(1), pp. 1-15.
- Bratman, M. (2009). Intention, practical rationality, and self governance, Ethics, 119, pp. 411–443.
- Fishbein, M., and Ajzen, I. (1975). Belief, attitude, intention and behavior: An introduction to theory and research. Reading, MA: Addison-Wesley.
- Garrison, D. (1997). Self-directed learning: Toward a comprehensive model. Adult Education Quarterly, 48, pp. 18-33.
- Hair, Jr., Anderson, R. E.,Tatham, R. L., and Black, W. C. (1998). Multivariate data analysis (5th ed.). New Jersey: Prentice Hall.
- Madden, T., Ellen, P., and Ajzen, I. (1992). A Comparison of the theory of planned behavior and the theory of reasoned Action. Personality and Social Psychology Bulletin, 18, pp. 3-9.
- Niebel, B. W. (1994). Engineering maintenance management. Retrieved from https://www.taylorfrancis.com/books/9780429081170.
- Park, N. K., Mezias, J. M., Lee, J., and Han, J. H. (2014). Reverse knowledge diffusuion: Competitive dynamics and the knowledge seeking behavior of Korean high-tech firms. Asia Pacific Journal of Management, 31(2), pp.355-375.
- Ryu, S., Ho, S. H., and Han, I. (2003). Knowledge sharing behavior of physicians in hospital. Expert Systems with Applications, 25(1), pp.113-122.
- Saemundsson, R. J. (2004). Technical knowledge-seeking in a young and growing technology-based firm: Incentives and direction. International Journal of Innovation Management, 8(4), pp.399-429.
- Schermerhorn Jr., J. R., Hunt, J. G., and Osborn, R. N. (2000). Organization behavior (7th ed.). New York: Wiley.
- Shama, S. and Bock, G. W. (2005). Factor Influencing Individual’s Knowledge Seeking Behavior in Electronics). Knowledge Repository. ECIS2005 Proceeding Paper 49. (https://aisle.aisnet.org/ecis2005/49
- Song, L. and Hill, J. R. (2007). A conceptual model for understanding self-directed learning in online environments. Journal of Interactive Online Learning, 6(1), pp. 27-41.