นักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่นกับความตื่นตัวทางการเมือง

Main Article Content

กฤษชพลณ์ บุญครอง
ศิวัช ศรีโภคางกุล

บทคัดย่อ

            การตื่นตัวทางการเมืองเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับเยาวชน ซึ่งถือเป็นอนาคตของชาติ ดังนั้น บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความตื่นตัวทางการเมืองของนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่นที่มีต่อการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่จะมีขึ้นในวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ.2562 และ 2) เพื่อศึกษาทัศนคติทางการเมืองของนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่นที่มีต่อการเลือกตั้ง โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 600 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม โดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


            ผลการศึกษาพบว่า สถาบันกล่อมเกลาทางการเมืองมีบทบาทต่อความตื่นตัวทางการเมือง อยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 2.12, SD = 0.28) วัฒนธรรมทางการเมือง อยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 2.31, SD = 0.31) นักศึกษาร้อยละ 97.77 มีความเข้าใจทางการเมืองเป็นอย่างดี แต่มีรู้ความสนใจทางการเมืองค่อนข้างน้อย การมีส่วนร่วมทางการเมือง อยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 1.55, SD = 0.42) และนักศึกษารับรู้ข้อมูลข่าวสารทางการเมืองผ่านสื่อสังคมออนไลน์ คือ เฟซบุ๊ก มากที่สุด สรุปโดยภาพรวมนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น มีความตื่นตัวทางการเมืองในระดับปานกลาง ซึ่งเป็นผลมาจากการถูกปิดกันการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองในช่วงที่ผ่านมา


            ทัศนคติที่มีต่อการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นักศึกษาคิดว่าจะออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งร้อยละ 97.33 เหตุผลหลักในการตัดสินใจเลือก คือ นโยบาย ในอนาคตประเทศไทยน่าจะมีการรัฐประหารขึ้นอีก และนักศึกษาส่วนใหญ่คิดว่าจะเลือกพรรค
อนาคตใหม่ มากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

- ชัยอนันต์ สมุทวณิช และเชาวนะ ไตรมาศ. (2556). ข้อมูลพื้นฐาน 80 ปี ประชาธิปไตยไทย 2475-2555. กรุงเทพฯ: บริษัท พี.เพรส จำกัด.
- ทีมข่าวการเมือง Voice TV. (2562, 24 เมษายน). รอเลือกตั้งครั้งแรก! คนรุ่นใหม่ 5.6 ล้านเสียง เท่ากับ 71 ส.ส. Voice online. สืบค้นเมื่อ มิถุนายน 18, 2562, จาก https://www.voicetv.co.th/read/BJ3KjKn3f
- บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุรีวิยาสาส์น.
- ภูสิทธิ์ ขันติกุล. (2553). รายงานการวิจัย เรื่อง รูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน เขตดุสิต กรุงเทมหานคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
- ลิขิต ธีรเวคิน. (2529). วัฒนธรรมทางการเมืองและการกล่อมเกลาเรียนรู้ทางการเมือง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
- วรา วัฒนาจตุรพร. (2545). ความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทของอินเตอร์เน็ตในการสร้างความตื่นตัวทางการเมืองและพฤติกรรมการเปิดรับเนื้อหาข่าวสารการเมือง และการมีส่วนร่วมทางการเมืองบนอินเตอร์เน็ต: ศึกษาเฉพาะกรณีเลือกตั้งทั่วไป วันที่ 6 มกราคม 2544 (วิทยานิพนธ์). สาขาสื่อสารมวลชน คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.
- วัฒนา เซ่งไพเราะ. (2555). ความตื่นตัวทางการเมืองของเยาวชนในเขตกรุงเทพมหานครกับการพัฒนาวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตย ช่วงปี พ.ศ.2549-2554 (ดุษฎีนิพนธ์). สาขาสื่อสารการเมือง วิทยาลัยสื่อสารการเมือง มหาวิทยาลัยเกริก, กรุงเทพฯ.
- วิทยากร เชียงกูล. (2556, 7 ตุลาคม). บทบาทนิสิตนักศึกษาไทยในรอบ 40 ปี. หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ พฤศจิกายน 25, 2561, จาก https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/534554
- สมปอง รักษาธรรม. (2552). ความตื่นตัวทางการเมืองของเยาวชนในพื้นที่ภาคใต้กับการพัฒนาวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยในประเทศไทยช่วงปี พ.ศ.2549-2552: ศึกษากรณีเปรียบเทียบนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา 5 จังหวัดภาคใต้ (ดุษฎีนิพนธ์). สาขาสื่อสารการเมือง วิทยาลัยสื่อสารการเมือง มหาวิทยาลัยเกริก, กรุงเทพฯ.
- สรรค์ชัย กำจาย. (2549). เหตุผลการไม่ไปเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรปี 2548 ของนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น (วิทยานิพนธ์). สาขาวิชาสังคมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
- สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งจังหวัดขอนแก่น. (2562). สรุปผลรวมคะแนนการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดขอนแก่น วันที่ 24 มีนาคม 2562. สืบค้นเมื่อ มิถุนายน 19, 2562, จากhttps://www.ect.go.th/khonkaen/ ewt_dl_link.php?nid=205&filename=index
- สืบวงษ์ สุขะมงคล. (2557). การบริหารจัดการความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ.2544–2555 [ฉบับอิเล็กทรอนิกส์]. วารสารเกษมบัณฑิต, 15(1), หน้า 39-55. จาก https://www.tci-thaijo.org/index.php/jkbu/article/ view/25259
- Bloom, B. S. (1967). Evaluation of learning in secorndary school. New York: McGraw-Hill.