การนำนโยบายการจัดการศึกษาสำหรับเด็กต่างด้าวไปปฏิบัติในพื้นที่จังหวัดสระแก้ว
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการนำนโยบายการจัดการศึกษาเด็กต่างด้าวไปปฏิบัติในพื้นที่จังหวัดสระแก้ว ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพในรูปพหุกรณีศึกษาที่มุ่งการเก็บข้อมูลในเชิงลึก เพื่อความเข้าใจที่ลึกซึ้งและเป็นองค์รวม โดยเก็บข้อมูลจากโรงเรียนที่เป็นกรณีศึกษา 4 โรงเรียน ผลการวิจัยพบว่า การนำนโยบายการจัดการศึกษาเด็กต่างด้าวไปปฏิบัติในพื้นที่จังหวัดสระแก้ว มีวัตถุประสงค์และแนวทางในการปฏิบัติการจัดการศึกษาให้เด็กต่างด้าวอย่างชัดเจน ตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2548, ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยหลักฐานในการรับนักเรียนเข้าเรียนในสถานศึกษา พ.ศ. 2548, คู่มือและแนวปฏิบัติสำหรับการจัดการศึกษาแก่บุคคลที่ไม่มีหลักฐานทะเบียนราษฎร หรือไม่มีสัญชาติไทย (ฉบับปรับปรุงใหม่ พ.ศ. 2560) ด้านทรัพยากรของนโยบาย พบว่า ทรัพยากรด้านบุคลากร และงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร ไม่เพียงพอในการปฏิบัติงานจริง แต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็สามารถแก้ไขปัญหา และปฏิบัติตามนโยบายได้ ด้านการสื่อสารระหว่างองค์กร ผู้บริหารมีความสามารถในการโน้มน้าวใจที่ดี ทำให้ผู้ปฏิบัติสามารถดำเนินงานตามหลักเกณฑ์และแนวทางจนบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ด้านลักษณะของหน่วยปฏิบัติ ไม่ได้มีการกำหนดผู้รับผิดชอบเฉพาะสำหรับการจัดการศึกษาเด็กต่างด้าว แต่ปฏิบัติตามแนวทางที่รัฐกำหนด ด้านเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง พบว่า ชุมชน หน่วยงานด้านความมั่นคง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เต็มใจและสนับสนุนให้ทางโรงเรียนจัดการศึกษาให้เด็กต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ด้านทัศนคติของผู้บริหาร พบว่า ผู้บริหารมีทัศนคติเชิงบวกต่อนโยบาย ส่งผลให้ทุกฝ่ายมีการรับรู้และเข้าใจ เกิดการยอมรับ และสามารถตอบสนองต่อนโยบายได้เป็นอย่างดี ทำให้การนำนโยบายมาปฏิบัติประสบความสำเร็จได้ จุดสำคัญที่ค้นพบจากงานวิจัยนี้ คือ กระบวนการนโยบายสาธารณะในขั้นการนำนโยบายไปปฏิบัติ มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จ หรือความล้มเหลวของนโยบายนั้น ซึ่งการดำเนินนโยบายการจัดการศึกษาเด็กต่างด้าวในพื้นที่จังหวัดสระแก้วที่ผ่านมา ชี้ให้เห็นว่าการนำนโยบายไปปฏิบัติบรรลุวัตถุประสงค์ของนโยบาย
Article Details
References
(ดุษฎีนิพนธ์). สาขารัฐประศาสนศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพฯ.
- พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. (2542, 19 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 116 ตอนที่ 74 ก, 1-23.
- พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. (2545, 19 ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 119 ตอนที่ 123 ก, 16-21.
- พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553. (2553, 22 กรกฎาคม). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 115 ตอนที่ 15 ก, 1-3.
- วรเดช จันทรศร. (2551). ทฤษฎีการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: พริกหวาน กราฟฟิค.
- สมพงษ์ สระแก้ว. (2560). การส่งเสริมการศึกษาเพื่อเด็กและเยาวชนที่เป็นลูกหลานของแรงงานข้ามชาติ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน.
- สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553, กันยายน). เอกสารประกอบการประชุมปฏิบัติการจัดทำแนวปฏิบัติคู่มือการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้แก่บุคคลที่ไม่มีหลักฐานทางทะเบียนราษฎร์หรือไม่มีสัญชาติไทย วันที่ 4-8 กันยายน 2553, โรงแรมเชียงใหม่ภูคำ.
- สำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559, กุมภาพันธ์). ภาวะสังคมไทยไตรมาสสี่และภาพรวมปี 2558. สำนักพัฒนาฐานข้อมูลและตัวชี้วัดภาวะสังคม, 13(1).
- Creswel, John W. (1998). Qualitative inquiry and research design: Choosing among five traditions. Thousand Oaks, California: Sage.
- Edwards, G. C. (1980). Implementing public policy. Washington, DC: Congressional Quarterly Press.
- Levin, L. S. (1981). Self-care in health potentials and pitfalls. World Health Forum, 2(2), pp.177-184.
- Sabatier, P. A. and Mazmanian, D. A. (1980). The Implementation of Public policy: A framework of Analysis. Policy Studies Journal, 8, pp.538-567.
- Thompson, J. D. and McEwen, W. J. (1958). Organizational goals and environment: goal setting as an interaction process. American Sociological Review, 23(1), pp.23-31.
- Van Meter, D. and Van Horn, C. E. (1975, February). The policy implementation process: A conceptual framework. Administration & Society, 6, pp.445-487.
- Yin, Robert K. (1994). Case Study research: Design and methods (2nd ed.) Thousand Oaks, California: Sage.