หลักการจัดการแบบอ้างอิงหลักฐานสำหรับการจ่ายสำนวนคดีในศาลยุติธรรม

Main Article Content

มนุเชษฐ์ โรจนศิริบุตร
ธนวัฒน์ พิมลจินดา
ฤทธิกร ศิริประเสริฐโชค

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นจากหลักเกณฑ์การจ่ายสำนวนคดีให้แก่ผู้พิพากษาในศาลยุติธรรมในปัจจุบัน ความเหมาะสมในการนำหลักการจัดการแบบอ้างอิงหลักฐาน และการบริหารทรัพยากรมนุษย์ มาประยุกต์กับการจ่ายสำนวนคดีให้แก่ผู้พิพากษาในศาลยุติธรรม และรูปแบบ หรือแนวทางในการนำหลักการจัดการแบบอ้างอิงหลักฐาน และการบริหารทรัพยากรมนุษย์ มาประยุกต์กับการจ่ายสำนวนคดีให้แก่ผู้พิพากษาในศาลยุติธรรมที่สอดคล้องกับบริบทของศาลยุติธรรม โดยใช้วิธีการศึกษาทั้งในเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้บริหารศาลยุติธรรม ได้แก่ อธิบดี รองอธิบดี และหัวหน้าศาล กับผู้พิพากษาผู้ได้รับการจ่ายสำนวนคดี เครื่องมือที่ใช้เป็นบทสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง และการวิจัยเชิงปริมาณด้วยการสอบถามความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้พิพากษาศาลยุติธรรมทั่วประเทศ 400 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการศึกษาพบสรุปได้ว่า หลักเกณฑ์การจ่ายสำนวนคดีให้แก่ผู้พิพากษาในศาลยุติธรรมในปัจจุบันไม่มีความชัดเจน โดยเฉพาะการพิจารณาถึงความเชี่ยวชาญเฉพาะและปริมาณคดีที่ได้รับมอบหมายของผู้พิพากษาแต่ละคน ดังนั้น หลักการจัดการแบบอ้างอิงหลักฐานจึงมีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้กับการจ่ายสำนวนคดีให้แก่ผู้พิพากษาในศาลยุติธรรม เนื่องด้วยเป็นเครื่องมือที่เกี่ยวข้องเอื้อประโยชน์ต่อการบูรณาการ และการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่เข้ากับภารกิจด้านกระบวนการยุติธรรม โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อช่วยในการตัดสินใจ และสามารถนำมาประยุกต์กับการบริหารจัดการในด้านการจ่ายสำนวนคดีให้แก่ผู้พิพากษาในศาลยุติธรรมได้ ทั้งนี้ ตามแนวทางที่สอดคล้องกับพระธรรมนูญศาลยุติธรรม และระเบียบราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมว่าด้วการจ่ายสำนวนคดี พ.ศ.2544

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

- นุชรัตน์ สิริประภาวรรณ. (2542). ปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดในการทำงานของผู้พิพากษาในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์). สาขาวิชาศิลปศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.
- ประเวศ ประภานุกูล. (2553). ศาลยุติธรรม: ยุติอย่างเป็นธรรม หรือยุติความเป็นธรรม; ตอนที่ 5: ระบบศาลไม่สามารถมีใบสั่งจริงหรือ?. สืบค้นจาก http://prachatai.com/journal/2010/12/32278
- วีรยุทธ์ ศรีสุวรรณ. (2558). ทัศนคติของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อภาพลักษณ์ของศาลยุติธรรม (วิทยานิพนธ์). สาขาวิชาสื่อสารการเมือง วิทยาลัยสื่อสารการเมือง มหาวิทยาลัยเกริก, กรุงเทพฯ.
- อัคญาณ อารยะญาณ. (2545). ทัศนะของผู้พิพากษาต่อกระบวนการพิจารณาพิพากษาคดีภายหลังการแยกศาลออกจากกระทรวงยุติธรรมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 (วิทยานิพนธ์). สาขาวิชาการบริหารงานยุติธรรม คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.
- Brindle, Margaret C. and Steams, Peter N. (2001). Facing up to management faddism. New York: Praeger.
- Durst, A., Tracy D., and Terry B. (2009). Evidence-based management. encyclopedia of public administration and policy. New York: Marcel Dekker.
- Government Accountability Office. (2009). Results-oriented management: Strengthening key practices at FEMA and interior could promote greater use of performance information. GAO-09-676. Washington, DC: Government Accountability Office.
- Hansen, H. and Olaf R. (2009). The evidence movement. Evaluation, 15(2), pp.141-163.
- Learmonth, Mark. (2008). Speaking out: Evidence-based management: A backlash against pluralism in organizational studies? Organization, 15(2), pp.283-291.
- Meier, K., and Laurence J. O’Toole Jr. (2008). The Proverbs of New Public Management: Lessons from an Evidence-Based Research Agenda. American Review of Public Administration, 39(1), pp.4-22.
- Moss, Simon, and Francis, Ronald. (2007). The science of management: Fighting fads and fallacies with evidence-based practice. Queensland: Australia Academic Press.
- Pawson, Ray. (2002). Evidence-based policy: In search of a method. Evaluation, 8(2), pp.157-181.
- Pfeffer, Jeffrey and Sutton, Robert I. (2006). Hard facts, dangerous half truths and total nonsense: Profiting from evidence-based management. Cambridge, MA: Harvard Business School Press.
- Radin, Beryl A.. (2008). The legacy of federal management change. In
- F. Stevens Redburn, Robert J. Shea, and Terry F. Buss. (Eds.), Performance-Based Management and Budgeting: How Governments Can Learn from Experience. Armonk, NY: M.E. Sharpe.
- Rousseau, Denise M. (2006). Keeping an open mind about evidence-based management: A reply to learmonth’s commentary. The Academy of Management Review, 31(4), pp.1091-1093.
- Rousseau, Denise M., and McCarthy, Sharon. (2007). Educating managers from an evidence based perspective. Academy of Management Learning and Education, 6(1), pp.84-101.
- Van, D., Wouter, Geert B., and John H. (2010). Performance Management in the Public Sector. New York: Routlege.
- Watson, D. (2009). Bendable learnings: The wisdom of modern management. Sydney, Australia: Random House.