การพัฒนาหลักสูตรเสริมเพื่อเสริมสร้างความรู้ ความตระหนักและพฤติกรรมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานครพนม เขต 1

Main Article Content

ศุภเดช พัฒธาญานนท์
พจมาน ชำนาญกิจ
พจมาน ชำนาญกิจ
ประยูร บุญใช้
ประยูร บุญใช้

Abstract

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรเสริมเพื่อเสริมสร้างความรู้ ความตระหนัก และพฤติกรรม     ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2) ศึกษาผลการใช้หลักสูตรเสริม และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยหลักสูตรเสริม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ t–test (Dependent Samples) ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนนาถ่อนวิทยานุกูล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนมเขต 1 จำนวน 21 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้โรงเรียนเป็นหน่วยสุ่ม

      ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักสูตรเสริมเพื่อเสริมสร้างความรู้ ความตระหนัก และพฤติกรรม ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีองค์ประกอบ 6 ด้านคือ หลักการและเหตุผลของหลักสูตรเสริม จุดมุ่งหมายของหลักสูตรเสริม โครงสร้างของหลักสูตรเสริม การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สื่อและแหล่งเรียนรู้ และ การวัดและประเมินผล หลักสูตรเสริมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุดดี ( = 4.52, S.D. = 0.55) และแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีสอน  แบบสตอรี่ไลน์มีความเหมาะสมมา ( = 4.43, S.D. = 0.55) 2) ผลการทดลองใช้หลักสูตรเสริมมีดังนี้ 2.1) ความรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนที่เรียนด้วยหลักสูตรเสริม หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 84.43 2.2) ความตระหนักเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนที่เรียนด้วยหลักสูตรเสริม หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 86.20 2.3) พฤติกรรมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนที่เรียนด้วยหลักสูตรเสริมอยู่ในระดับดี ( = 4.20, S.D. = 3.69) 2.4) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อหลักสูตรเสริมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.68, S.D. = 2.78)

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research article)