การพัฒนาหลักสูตรเสริมเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลสกลนคร
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรเสริมเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 6 2) ศึกษาผลการทดลองใช้หลักสูตรเสริม 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยหลักสูตรเสริม ดำเนินการวิจัยโดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลสกลนคร จำนวน 3 ห้องเรียนได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่มเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบทดสอบทักษะการคิดวิเคราะห์ และแบบสอบถามความพึงพอใจสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที
ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักสูตรเสริมที่พัฒนาขึ้น มีองค์ประกอบ 7 ประการ คือ (1) หลักการ หลักสูตรเสริมสร้างขึ้นด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมและการออกแบบย้อนกลับ ให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติด้วยตนเองเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ (2) จุดมุ่งหมาย เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ 5 ประการคือ การสังเกตและการจำแนก การจัดกลุ่ม การวิเคราะห์เหตุผล การนำไปใช้ และการทำนาย (3)ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังมี 14 ประการ (4) โครงสร้างเนื้อหา มี 5 หน่วยการเรียนรู้ ได้แก่ เปิดประตูสู่อาเซียน เพียรอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม พร้อมพรักคุณธรรมจริยธรรม น้อมนำใส่ใจชีวี มีวิถีอยู่อย่างสันติ จำนวน 28 ชั่วโมง (5) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ได้แก่ จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยใช้วิธีการและเทคนิคที่หลากหลายเพื่อเสริมสร้างและพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์แก่ผู้เรียน (6) สื่อการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้ เป็นสื่อประเภทวัสดุ เอกสารเครื่องมือและแหล่งเรียนรู้ต่างๆ และ (7) การวัดและประเมินผล มีการวัดก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียน ผลการตรวจสอบร่างหลักสูตรเสริมตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญพบว่า มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด (=4.65, S.D.=0.56) 2) ผลการทดลองใช้หลักสูตรเสริมพบว่า 2.1) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยหลักสูตรเสริมมีทักษะการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .012.2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยหลักสูตรเสริมอยู่ในระดับมากที่สุด (=4.83, S.D.= 0.41)