การพัฒนาตัวบ่งชี้จิตวิญญาณความเป็นครู ของครูสังกัดสานักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

อมรรัตน์ แก่นสาร
วัลนิกา ฉลากบาง
วาโร เพ็งสวัสดิ์
พรเทพ เสถียรนพเก้า

Abstract

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาตัวบ่งชี้จิตวิญญาณความเป็นครู ของครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของตัวบ่งชี้จิตวิญญาณความเป็นครู ของครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ การดำเนินการวิจัย มี 3 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 การกำหนดกรอบแนวคิดการวิจัย โดยศึกษาเอกสาร งานวิจัย และการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน  9 คน ระยะที่ 2 การพัฒนาตัวบ่งชี้จิตวิญญาณความเป็นครู โดยสอบถามผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 คน  ใช้เทคนิคเดลฟายแบบปรับปรุง 3 รอบ และระยะที่ 3 การทดสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้จิตวิญญาณความเป็นครู ของครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่าง เป็นครูที่ได้รับคัดเลือกในโครงการครูดีในดวงใจของคุรุสภา และโครงการยอดครูผู้มีอุดมการณ์และจิตวิญญาณครู ประจำปี 2555–2557 จำนวน 535 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าสถิติพื้นฐาน วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันด้วยโปรแกรมลิสเรล (LISREL)
     ผลการวิจัยพบว่า 1) จิตวิญญาณความเป็นครู ของครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบหลัก 23 องค์ประกอบย่อย และ 135 ตัวบ่งชี้ ประกอบด้วย ด้านความผูกพันระหว่างครูกับศิษย์ จำนวน 14 ตัวบ่งชี้ ด้านความรักและศรัทธาในวิชาชีพ จำนวน  19 ตัวบ่งชี้ ด้านการมีจิตวิทยาในการสอน จำนวน 24 ตัวบ่งชี้ ด้านการเป็นแบบอย่างที่ดี จำนวน 22 ตัวบ่งชี้ ด้านการมีคุณธรรม และจริยธรรม จำนวน 22 ตัวบ่งชี้ ด้านการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ จำนวน 19 ตัวบ่งชี้ และด้านการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีและมีความเป็นกัลยาณมิตร จำนวน 15 ตัวบ่งชี้ 2) โมเดลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของตัวบ่งชี้จิตวิญญาณความเป็นครู ของครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (c2= 44.53, df =45, P = 0.989, GFI = 0.99, AGFI = 0.95, RMSEA = 0.000, CN = 818.29) เมื่อพิจารณาค่าน้ำหนักขององค์ประกอบเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยเป็น ดังนี้ 1) ด้านการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ (2.32) 2) ด้านการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีและมีความเป็นกัลยาณมิตร (2.29) 3) ด้านการเป็นแบบอย่างที่ดี (2.23) 4) ด้านการมีจิตวิทยาในการสอน (2.22) 5) ด้านความรักและศรัทธาในวิชาชีพ (2.21) 6) ด้านการมีคุณธรรม และจริยธรรม (1.75) และ 7) ด้านความผูกพันระหว่างครูกับศิษย์ (1.00) ตามลำดับ

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research article)