การพัฒนาคุณลักษณะความเป็นครูวิชาชีพในศตวรรษที่ 21

Main Article Content

วันเพ็ญ นันทะศรี

Abstract

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) ศึกษาองค์ประกอบคุณลักษณะความเป็นครูวิชาชีพในศตวรรษที่ 21 2) สร้างและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมคุณลักษณะความเป็นครูวิชาชีพในศตวรรษที่ 21 และ3) ศึกษาผลการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นครูวิชาชีพในศตวรรษที่ 21 การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยและพัฒนา การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบองค์ประกอบคุณลักษณะความเป็นครูวิชาชีพในศตวรรษที่ 21 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาครู ชั้นปีที่ 5 สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร จำนวน 690 คน  ที่ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง 2) แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมลิสเรล 8.72 ระยะที่ 2 การสร้างและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมและระยะที่  3 การนำหลักสูตรไปใช้และประเมินหลักสูตร  กลุ่มตัวอย่างในการทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรมที่พัฒนาขึ้น  คือนักศึกษาครู ชั้นปีที่ 4 สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร  จำนวน 50 คน ที่ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) หลักสูตรฝึกอบรม 2) แบบประเมินความเหมาะสมและความสอดคล้องของหลักสูตร 3) แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจ 4) แบบสังเกตการปฏิบัติ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อหลักสูตรการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐานและสถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ คาที (t – test for One Sample)
     ผลการวิจัยพบว่า 1) ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก 21 องค์ประกอบย่อย 90 พฤติกรรมบ่งชี้ และผลการทดสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างองค์ประกอบคุณลักษณะความเป็นครูวิชาชีพในศตวรรษที่ 21 พบว่ามีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าไค-สแควร์ ( ) เท่ากับ 126.73 ค่าองศาอิสระ (df) เท่ากับ 104 ค่านัยสำคัญทางสถิติ (P-value) เท่ากับ 0.064 ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้อง (GFI) เท่ากับ 0.98 ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.96 และค่าความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) เท่ากับ 0.018 (  = 126.73 df =104 ค่า P = 0.064 ค่า GFI = 0.98 ค่า AGFI = 0.96 ค่า RMSEA = 0.018) 2) ผลการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาคุณลักษณะความเป็นครูวิชาชีพในศตวรรษที่ 21 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นประกอบด้วย (1) ความเป็นมาของหลักสูตร (2) แผนการฝึกอบรมตามหลักสูตร (3) คำอธิบายหลักสูตร (4) รายละเอียดเนื้อหา (5) วัตถุประสงค์ (6) โครงสร้างของหลักสูตร (7) กำหนดขั้นตอนการฝึกอบรมตามหลักสูตร (8) แบบทดสอบก่อน-หลังการฝึกอบรม และแบบสังเกตทักษะการปฏิบัติงาน (9) แบบสอบถามความพึงพอใจในต่อหลักสูตรฝึกอบรม 3) ผลการศึกษาจากการนำหลักสูตรไปใช้กับนักศึกษาพบว่านักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาคุณลักษณะความเป็นครูวิชาชีพในศตวรรษที่ 21 หลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01, นักศึกษามีทักษะการปฏิบัติงานอยู่ระดับมากที่สุด และมีความพึงพอใจที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research article)