การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการคิด อย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ และผลการเรียนรู้ของ นักศึกษาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF)

Main Article Content

ปวิดา โพธิ์ทอง

Abstract

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานในรายวิชาการพยาบาล ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณและสอดคล้องกับผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF:HEd) 2) เพื่อศึกษาผลของรปูแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาดำเนินการวิจัยโดยใช้กระบวนการวิจัย และพัฒนาการวิจัยัแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1) การศึกษาและวิเคราะห์รูปแบบกิจกรรม 2) การสร้างรูปแบบกิจกรรม 3) การประเมินผลการใช้รูปแบบกิจกรรม กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย คือ นักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี จำานวน 55 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินการคิด อย่างมีวิจารณญาณ และแบบประเมินผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
(TQF) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติเปรียบเทียบ t-test
     ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่นำามาใช้กับรายวิชาการพยาบาลผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตมี 5 ขั้นตอน คือ 1. ปฐมนิเทศ 2. เปิดโจทย์ 3. ศึกษาด้วยตนเองตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ 4. ปิดโจทย์ และ 5. ประเมินผล 2) ผลการใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้นพบว่า 2.1) นักศึกษามีการคิดอย่างมีวิจารณญาณก่อนและหลังทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐานไม่แตกต่างกัน 2.2) ผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF) ค่าเฉลี่ยโดยรวมทั้ง 5 ด้านอยู่ในระดับดีมาก (μ = 4.03, = 0.52) เมื่อพิจารณารายด้านเรียงลำาดับจากมากไปน้อย ได้ดังนี้ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่าง
บุคคลและความรับผิดชอบอยู่ในระดับดีมาก (μ = 4.50, = 0.49) รองลงมา คือ ด้านคุณธรรมจริยธรรม (μ = 4.30, = 0.52) ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (μ = 4.06, = 0.70) ด้านความรู้ (μ = 3.70, = 0.54) และด้านทักษะ ทางปัญญา (μ = 3.63, = 0.54) ตามลำดับ

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research article)