แนวทางส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสนับสนุนการจัดการความรู้ กรณีศึกษา คณะวิทยาการจัดการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยนครพนม

Main Article Content

เดชา วงศ์ปัสสะ
วิชญวัชญ์ เชาวนีรนาท
สมบูรณ์ ชาวชายโขง

Abstract

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาสภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสนับสนุนการจัดการความรู้ 2) ศึกษาความต้องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสนับสนุนการจัดการความรู้ และ 3) ศึกษาแนวทางส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสนับสนุนการจัดการความรู้ กรณีศึกษา คณะวิทยาการจัดการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยนครพนม ประชากรในการวิจัย คือ ผู้บริหาร อาจารย์ และเจ้าหน้าที่ คณะวิทยาการจัดการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยนครพนม จำานวน 51 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสนับสนุนการจัดการความรู้ มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( \mu= 2.94, \sigma= 0.53) โดยพบว่า มีการใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร ในระดับปานกลาง (\mu = 3.06, \mu= 0.63) คือ มีการใช้อีเมล เป็นเครื่องมือและช่องทางในการติดต่อสื่อสารและนำาส่งไฟล์เอกสารอิเล็กทรอนิกส์เพื่อสนับสนุนการจัดการความรู้ภายในคณะฯ   (\mu= 4.00, \sigma= 0.66) 2) ความต้องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสนับสนุนการจัดการความรู้ มีความต้องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( \mu= 3.90, \sigma= 0.42) โดยมีความต้องการใช้เทคโนโลยีจัดเก็บ มากที่สุด ( \mu= 4.03 , \sigma= 0.39) คือ มีการจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศ ความรู้ที่เกี่ยวข้องในการทำางานภายในคณะฯ โดยใช้โปรแกรมไมโครซอฟท์ออฟฟิศ เช่น Microsoft Word, Microsoft Excel ( \mu= 4.47, \sigma= 0.73) 3) แนวทางส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสนับสนุนการจัดการความรู้ พบว่า ควรส่งเสริมให้มีการใช้เทคโนโลยีสนับสนุนการจัดการความรู้ ประกอบด้วย 3.1) เทคโนโลยีการสื่อสาร ได้แก่ อีเมล (E-mail) ระบบสื่อสารแบบไร้สาย (Wireless LAN) หรือโซเชียลมีเดีย (Social Media) เช่น เฟซบุ๊ค (Facebook) เป็นต้น 3.2) เทคโนโลยีสนับสนุนการทำางานร่วมกัน ได้แก่ การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ การจัดทำาบทเรียนออนไลน์ (e-learning) มีการแชร์ทรัพยากรร่วมกัน เช่น เครื่องพิมพ์เอกสาร เครื่องถ่าย เอกสาร และการใช้ระบบสนับสนุนการทำงาน เช่น โปรแกรม Google App for Education เป็นต้น และ 3.3) เทคโนโลยีจัดเก็บ ได้แก่ การใช้อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบพกพา เช่น ฮาร์ดดิสก์/แฟลชไดร์ฟ การใช้ระบบบริการการศึกษา การจัดทำระบบฐานข้อมูล เช่น ระบบงานสารบรรณ ระบบงานบุคลากร เป็นต้น

    

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research article)