การสร้างความมั่นคงทางอาหารของเกษตรกรอินทรีย์ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการสร้างความมั่นคงทางอาหารของเกษตรกรอินทรีย์ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยคือเกษตรกรในระดับแกนนำาและเกษตรกรผู้ปฏิบัติดีที่ทำาเกษตรอินทรีย์มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี ในเขตพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ยโสธร และอำานาจเจริญ จำานวน 24 คน คัดเลือกแบบเจาะจง จากกลุ่มโรงเรียนเกษตรอินทรีย์บ้านดอนหมู ตำบลขามเปี้ย อำาเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี จำานวน 12 คน และกลุ่มข้าวคุณค่าชาวนาคุณธรรมจังหวัดยโสธร และอำนาจเจริญ จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นการสัมภาษณ์เชิงลึกควบคู่การสังเกตที่ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ โดยผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เนื้อหาและสังเคราะห์องค์ประกอบ ผลการวิจัยพบว่า กลวิธีการสร้างความมั่นคงของเกษตรกรอินทรีย์ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ให้มีความมั่นคงทั้งด้านการบริโภค ด้านการผลิตและด้านทรัพยากร เป็นกระบวนการที่เริ่มจากการนำาทรัพยากรการผลิตดินและน้ำ และปัจจัยการผลิตหมุนเวียนต่างๆ ได้แก่ เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย เงินทุน แรงงานและเครื่องจักรมาจัดการผลิตแบบอินทรีย์ที่ประกอบด้วย การจัดการทรัพยากร การจัดการปัจจัยการผลิตหมุนเวียนและการจัดการในกระบวนการผลิต โดยการใช้ความรู้และเทคโนโลยี และการส่งเสริมของกลุ่มชุมชน และเครือข่ายในด้านต่างๆ จนได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นผลผลิตอาหารที่มีความหลากหลาย ปลอดภัยและมีคุณค่าทางโภชนาการ ซึ่งผลผลิต ส่วนใหญ่มีปริมาณและคุณภาพเพิ่มขึ้น และนำผลผลิตที่ได้มาจัดการโดยการเก็บสำรอง แลกเปลี่ยน แบ่งปันและจำาหน่ายทั้งแบบพึ่งตนเอง และพึ่งพากันของกลุ่ม ชุมชนและเครือข่ายตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและวัฒนธรรมอีสาน นอกจากนี้ยังมีการอนุรักษ์ป่าไม้ดินและน้ำ ทำให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและอาหารจากธรรมชาติ