ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอุดมการณ์ในเรื่องเล่าของกลุ่มต่อต้าน การใช้ความรุนแรงต่อสตรีในสังคมไทย
Main Article Content
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอุดมการณ์ในเรื่องเล่าของกลุ่มต่อต้านการใช้ความรุนแรงต่อสตรีในสังคมไทย โดยศึกษาเรื่องเล่าจากสตรีผู้ถูกกระทำาความรุนแรงขององค์กรช่วยเหลือสตรี จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ มูลนิธิเพื่อนหญิง สำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ (สสส.) สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรี และศูนย์พึ่งได้จังหวัดขอนแก่น จำานวน 90 เรื่อง ตั้งแต่ พ.ศ.2542-2554 โดยใช้แนวทางการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอุดมการณ์ตามแนวทางของวันไดก์ ซึ่งได้เสนอกรอบการวิเคราะหอ์ ุดมการณ์ด้วยหลักเกณฑ์ที่เรียกว่า Ideological Square และแนวคิดการวิเคราะหก์ ลวธิ ีทางภาษาในการถ่ายทอดอุดมการณ์ด้วยการใช้คำาศัพท์ รวมทั้งการใช้อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ ตามแนวคิดของ จอร์จ เลคอฟฟ์ และ มาร์ก จอห์นสัน ผลการวิจัยพบว่า ความสัมพันธ์ ระหว่างภาษากับอุดมการณ์ในเรื่องเล่าของกลุ่มต่อต้านการใช้ความรุนแรงต่อสตรี ในสังคมไทย คือ การใช้เรื่องเล่าเพื่อถ่ายทอดอุดมการณ์การต่อต้านการใช้ความรุนแรงผ่านมุมมองของผู้เล่าเรื่อง และผู้ถูกเล่า โดยใช้วิธีทางภาษา 2 วิธี ได้แก่ การใช้คำาศัพท์ และการใช้อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ ผลของการใช้วิธีการทางภาษา พบว่า มีการนำาเสนอภาพลักษณ์ของผู้เล่าเรื่อง และผู้ถูกเล่า 3 วิธี ได้แก่ การนำาเสนอภาพลักษณ์ของกลุ่มต่อต้านการใช้ความรุนแรงต่อสตรีในสังคมไทยในเชิงบวก การนำาเสนอภาพลักษณ์ของผู้กระทำาความรุนแรงต่อสตรีในสังคมไทยในเชิงลบ และการนำเสนอภาพลักษณ์ของผู้ถูกกระทำาจากความรุนแรงด้วยความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจ