ปัญหาของกฎกระทรวงกำาหนดความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ.2548 ออกตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546

Main Article Content

บุญเลิศ โพธิ์ขำ

Abstract

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ปัญหาของกฎกระทรวงกำาหนดความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ.2548 ออกตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 2) วิเคราะห์รูปแบบของปัญหาการกระทำความผิดของนักเรียน นักศึกษา 3) ศึกษาข้อเสนอแนะและแนวทางในการวางมาตรการที่เหมาะสมเพื่อเป็นมาตรการลงโทษ ป้องปรามการกระทำาความผิดและแนวทางส่งเสริมให้นักเรียนนักศึกษาประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในกรอบของกฎหมาย ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาของกฎกระทรวงกำาหนดความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ.2548 ได้แก่ การออกระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2550 เมื่อเข้าสู่ขั้นปฏิบัติ นักเรียนนักศึกษาที่กระทำความผิดไม่เกรงกลัวต่อโทษที่ได้รับ 2) บทกำาหนดโทษที่ใช้ในการลงโทษผู้กระทำความผิดตามกฎกระทรวงทั้ง 9 ประเด็นยังไม่เคร่งครัดเด็ดขาดเพียงพอจึงต้องมีการเพิ่มโทษเข้าไปในระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2550 3) เพิ่มความเคร่งครัดเด็ดขาดในการลงโทษตามทฤษฎี ลงโทษเพื่อข่มขู่ ยับยั้ง และทำให้เกิดความเกรงกลัวในโทษที่ได้รับข้อเสนอแนะประกอบด้วย 1) หน่วยงานตำารวจ หน่วยงานปกครอง หน่วยงานด้านการศึกษาที่มีหน้าที่ในการกำาหนดการลงโทษในการกระทำาความผิดของนักเรียน นักศึกษาต้องมีความเคร่งครัดเพื่อยับยั้งผู้กระทำาผิดที่ถูกลงโทษไม่ให้กระทำผิดซ้ำอีก 2) หน่วยงานตำารวจ หน่วยงานปกครอง หน่วยงานด้านการศึกษา ผู้ปกครองควรหามาตรการส่งเสริมให้นักเรียน นักศึกษาประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในกรอบของกฎหมาย

    

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research article)